ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Friday June 26, 2009 13:29 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ค่อนข้างซบเซา ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ประกอบกับอยู่ในช่วงฤดูฝนผู้บริโภคหันไปบริโภคสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกร อ่อนตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลง

สถานการณ์ต่างประเทศ

รัฐมิโซรัม ในประเทศอินเดียได้ระงับการนำเข้าเนื้อสุกรจากพม่าและประเทศข้างเคียง เนื่องจากผลกระทบของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1) และกำลังเฝ้าระวังกับไข้หวัดชนิดนี้ โดยได้ให้ทีมงานตรวจสอบชายแดนที่ติดกับพม่าและบังกลาเทศอย่างเข้มงวดจากการรายงานของหนังสือพิมพ์อินเดีย The Times of India ระบุว่า ประชาชนชาวอินเดียหันมาบริโภคเนื้อวัวและเนื้อไก่แทนการบริโภคเนื้อสุกร ซึ่งทำให้ยอดขายเนื้อสุกรลดลง

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 59.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.70บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.34 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 63.83 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 60 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 59.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.68 และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.44

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ประกอบการควบคุมปริมาณการผลิตให้สมดุลย์กับความต้องการ ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนเนื้อสุกรที่ยังคงมีราคาสูง แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น

หน่วยงานด้านการควบคุมสุขอนามัยของสัตว์และพืช ของประเทศรัสเซีย ประกาศขยายการระงับนำเข้าเนื้อสุกรและเนื้อสัตว์อื่นๆ จากสหรัฐฯ เนื่องจากการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดหมู (Swine Flu) ทั้งนี้รัสเซียได้เพิ่มเขตการระงับนำเข้าเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อสุกร เนื้อไก่ และเนื้อวัวจากสหรัฐฯ อีก 3 รัฐ ได้แก่ รัฐวิสคอนซิน รัฐวอชิงตัน และรัฐอิลลินอยส์ ทำให้ขณะนี้รัสเซียระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์จากสหรัฐฯ รวมทั้งสิ้น 7 รัฐ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 41.05 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 37.65 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 39.18 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงานในสัปดาห์นี้ ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณการผลิต โดยได้ขอความร่วมมือจากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ในการปลดแม่ไก่ไข่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 245 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 240 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 247 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 236 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 264 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ตัวละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 267 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 281 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 282 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 247 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 299 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 268 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 335 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 43.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 43.32 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 36.31 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 41.14 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 53.60 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.45 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 49.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 31.34 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 15 - 21 มิถุนายน 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ