คปภ. แนะการประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถลดหย่อนภาษีเงินได้ จากเดิม 100,000 บาท เป็น 300,000 บาท

ข่าวทั่วไป Monday November 1, 2010 10:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 พ.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมในรูปแบบการประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งอนุมัติวงเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มจากวงเงินเดิมสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิต 10 0,000 บาท เป็น 300,000 บาท นั้น ในส่วนที่เพิ่มขึ้น 200,000 บาท ต้องเป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ และต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 2553 ที่ต้องยื่นรายการในปี 2554 เป็นต้นไป นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า รูปแบบกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มี ข้อความระบุว่า “บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้” ต่อท้าย ชื่อกรมธรรม์ และมีลักษณะของระยะเวลาเอาประกันภัย 10 ปีขึ้นไป โดยจ่ายผลประโยชน์บำนาญตั้งแต่อายุ 55 ปี ขึ้นไป จนถึงอายุไม่ต่ำกว่า 85 ปี และมีการจ่ายเงินผลประโยชน์บำนาญอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ต้องไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใดก่อนรับเงินบำนาญ ยกเว้นกรณีเสียชีวิต ทั้งนี้ การหักลดหย่อนภาษีเงินได้ ส่วนที่เพิ่มดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากสิทธิการหักลดหย่อนภาษีเงินได้เดิม 100,000 บาท โดยผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ใช้สิทธิยังไม่เต็มจำนวน 100,000 บาทแรก ให้นำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปใช้สิทธิให้เต็ม 100,000 บาทแรกก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำมาใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้แบบบำนาญ ตามมาตรการภาษีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังกล่าว ตัวอย่าง กรณีผู้เอาประกันภัยมีเงินได้พึงประเมิน 1,500,000 บาท ได้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแล้ว 50,000 บาท กรณีนี้สามารถซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ด้อีก 250,000 บาท โดยใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิมได้ 50,000 บาท และใช้สิทธิตามเกณฑ์ใหม่ได้อีกไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากับกองทุนอื่น เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ โรงเรียนเอกชน สามารถ ำมาหักภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาท นางจันทรา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้เอาประกันภัย ที่ต้องการเน้นการออมเพื่อมีรายได้ไว้ใช้จ่ายเมื่อเกษียณอายุ อย่างไรก็ตาม หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนรับเงินบำน าญจะได้รับผลประโยชน์ไม่น้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่ได้ชำระไป และหากเสียชีวิตช่วงรับเงินบำนาญจะได้รับผลประโยชน์ไม่น้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่ได้ชำระแล้ว หักด้วยผลประโยชน์เงินบำนาญที่ได้รับทั้งหมด ทั้งนี้ ประชาชนผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.oic.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ