เฮย์กรุ๊ปเปิดโพลการจ่ายเงินช่วยเหลือพนักงานในช่วงภาวะน้ำท่วม

ข่าวทั่วไป Thursday November 24, 2011 17:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--เฮย์ กรุ๊ป เฮย์กรุ๊ปได้เปิดเผยผลสำรวจการบริหารจัดการองค์กรในภาวะวิกฤติที่องค์กรส่วนใหญ่ประสบภาวะน้ำท่วม ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเจ้าของธุรกิจและพนักงาน โดย บริษัทเฮย์กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด (Hay Group Company Limited) ได้ทำการสำรวจบริษัทมากกว่า 60 บริษัทชั้นนำ ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิเช่น กลุ่มโภคภัณฑ์, วัสดุภัณฑ์, อสังหาริมทรัพย์, ประกันภัย และอิเล็กโทรนิกส์ พบว่าร้อยละ 34 % ของบริษัท ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาวะน้ำท่วม มีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่ได้กำหนดแผนรองรับในช่วงของการเกิดวิกฤติ (BCP Business Continuing Plan) ที่จะทำให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ เช่น การย้ายสถานที่ทำงานในกรุงเทพฯ ไปยังต่างจังหวัด การอนุญาติให้ทำงานจากที่บ้าน บางบริษัทได้พัฒนาแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลแนวใหม่ โดยดำเนินการโอนย้ายพนักงานที่ได้รับผลกระทบไปยังส่วนงานอื่นๆ ที่ต้องการอัตรากำลังเป็นพิเศษ หรือว่ามีการจัดทำ Training ให้กับพนักงาน ในส่วนเรื่องของนโยบายช่วยเหลือพนักงานนั้น บริษัทจะแบ่งความช่วยเหลือออกเป็นระยะสั้น และระยะยาว โดยในช่วงระยะสั้น บริษัทส่วนใหญ่จะให้พนักงานที่ประสบอุทกภัยมีสิทธิลาได้โดยไม่มีการหักเงินเดือน หรือไม่ถือเป็นวันลา เพื่อไม่ให้มีผลกระทบเรื่องการจ่ายเงินล่วงเวลา และอนุญาตให้ทำงานที่บ้าน อีกทั้งร้อยละ 80 ของบริษัททั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ มีการให้เงินช่วยเหลือพนักงานในเบื้องต้นด้วย อาทิเช่นการจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย ตั้งแต่ 5,000 บาท จนถึง 100,000 บาท และมีการให้เป็นสิ่งของช่วยเหลือแก่พนักงานที่ประสบอุทกภัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอุปโภคบริโภค หรือ กระสอบทราย นอกจากนี้บางบริษัทได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือพนักงานที่ประสบภัย โดยเป็นศูนย์กลางรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารให้แก่พนักงานในบริษัท การดำเนินการจัดหาสิ่งของ อาหาร และที่พักให้พนักงานผู้ประสบภัยน้ำท่วม, จัดส่งทีมช่วยเหลือ เข้าไปช่วยพนักงานที่ประสบภัย ประสานงานขนย้ายสิ่งของไปยังที่ปลอดภัย รวมถึงจัดหาที่จอดรถให้กับพนักงานที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ในขณะที่ร้อยละ 60 ของบริษัททั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ ได้มอบเงินช่วยเหลือแก่พนักงานเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเช่าบ้านพักชั่วคราวหรือหาที่พักชั่วคราวให้กับพนักงาน โดยกำหนดวงเงินช่วยเหลือในอัตราเบื้องต้นเฉลี่ย 800 — 2,500 บาทต่อคืน และ 5,000 — 6,000 บาท ต่อ 1-3เดือน การช่วยเหลือในระยะยาวนั้น บริษัทมีนโยบายการช่วยเหลือพนักงานหลังน้ำลด โดยให้เงินกู้ สำหรับ ซ่อมแซมบ้านทั้งของตัวพนักงานเอง, ครอบครัว (บ้านบิดามารดา คู่สมรส) ซ่อมแซมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยไม่คิดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีตั้งแต่ 100,000 — 500,000 บาท ระยะคืน 2-5 ปี นอกจากนี้บางบริษัทดำเนินการให้เงินเดือนก่อนกำหนดหรือมีการจ่ายโบนัสล่วงหน้าให้กับพนักงานผู้ประสบภัยครั้งนี้ อย่างไรก็ดีผลจากการสำรวจพบว่า บางบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการที่ลูกค้า หรือ คู่ค้า ของตน ต้องปิดทำการจากสภาวะน้ำท่วม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทในกลุ่มของประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, และธนาคาร บริษัทเหล่านี้ได้ดำเนินการช่วยเหลือลูกค้าของตนเอง ดังนี้ กลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ได้มีการจัดการทำคันกั้นน้ำ จัดหากระสอบทราย จัดหาเครื่องสูบน้ำ จัดส่งถุงยังชีพ ประสานงานช่วยเหลือในการอพยพ ในส่วนของบริษัทประเภทธนาคาร ได้มีการทบทวนเงื่อนไขชำระหนี้ การขยายเวลาผ่อนชำระหนี้, การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ, และยังมีการสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ สำหรับกลุ่มบริษัทประกันภัย ได้ก็มีการขยายระยะเวลาผ่อนผันชำระเบี้ยประกัน, การยกเว้นดอกเบี้ยต่ออายุ, และ การยกเว้นค่าธรรมเนียมในการออกกรมธรรม์ใหม่ให้กับลูกค้า นายธันวา จุลชาต Country Manager Productized Services Unit บริษัทเฮย์กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด (Hay Group Company Limited) ได้เสนอแนวทางในภาวะวิกฤตินั้นในหลายประเด็นดังนี้ 1. พนักงานต้องมีสติในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ ไม่ด่วนตัดสินใจอะไรที่เร็วจนเกินไป 2. องค์กรควรสื่อสารทิศทางในการบริหารจัดการสถานการณ์ต่างๆขององค์กรแก่พนักงาน ยกตัวอย่างเช่น หลายบริษัทใช้การส่ง SMS , Email รวมถึงการใช้ Social Media Network และ Application ในการสื่อสารกับพนักงานในช่วงวิกฤติ 3. ผู้นำองค์กรจะต้องมีบทบาทอย่างชัดเจน ในการผสมผสานความเป็นผู้นำจากสถานการณ์ที่หลากหลาย ไม่ควรใช้ความเด็ดขาด (Directive) เพียงอย่างเดียว แต่ควรจะมีรูปแบบอย่างอื่นด้วย ในช่วงของภาวะวิกฤติ ควรมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจ (Empathy) ในพนักงาน รวมทั้งผู้นำองค์กรจะต้องถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Visionary) และแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆขององค์กรให้กับพนักงานได้อย่างชัดเจน เพื่อสร้างความประทับใจ และทำให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร (Engagement) ที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีของพนักงานในอนาคต (Employee effectiveness) นอกจากนี้การแสดงความเป็นผู้นำนั้นไม่ควรเกิดขึ้นเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเพียงฝ่ายเดียว แต่ควรรวมถึง ระดับผู้บริหารระดับกลาง จนถึงระดับห้วหน้างานด้วย การแสดงซึ่งความเอาใจใส่หรือการแสดงความรับผิดชอบของหัวหน้างานจะสร้างขวัญและกำลังใจ (Moral) แก่พนักงาน โดยจะเห็นได้จากตัวอย่างผู้บริหารในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้บริหารมาทำงานในเวลาปกติและยังคงแสดงพฤติกรรมที่สงบ แม้บ้านตนเองนั้นจะเป็นผู้ประสบภัย การแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบในฐานะผู้นำ ในสถาณการณ์ที่ไม่ปกติ นอกจากจะได้ใจพนักงานแล้ว ยังสามารถแสดงออกซึ่งความมั่นคงของบริษัทในการบริหารจัดการอีกด้วย 4. ควรเปลี่ยนจากวิกฤติให้เป็นโอกาส (Competitive Advantage) ในหลายๆองค์กรถือโอกาสสร้างความได้เปรียบในช่วงวิกฤตในการนำเสนอการให้บริการ (Service lines) หลายรูปแบบ โดยเฉพาะในรูปแบบสินค้าที่ตัวเองผลิตแล้วบริจาคให้กับผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึง อีกทั้งใช้โอกาสดังกล่าว ในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรในรูปแบบการช่วยเหลือสังคม (Social responsibility campaign) ซึ่งถือเป็นการสร้างคุณค่าให้กับสังคมและเป็นประโยชน์ให้แก่องค์กรอย่างยั่งยืน เกี่ยวกับบริษัท เฮย์กรุ๊ป (Hay Group) บริษัท เฮย์ กรุ๊ป เป็นบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกที่ทำงานร่วมกับผู้นำองค์กรในการผลักดันกลยุทธ์มาสู่การปฏิบัติ เราพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจูงใจพวกเขาเหล่านั้นให้ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ด้วยสาขา 84 สาขาใน 48 ประเทศ เราทำงานร่วมกับลูกค้ากว่า 8,000 รายทั่วโลก ลูกค้าของเราประกอบด้วยองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนในหลากหลายอุตสาหกรรม และแน่นอนว่ามีความท้าทายทางธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป เรามุ่งเน้นการสร้างความเปลี่ยนแปลงและผลักดันให้องค์กรเหล่านั้นตระหนักถึงศักยภาพที่มีอยู่ของตนเอง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท เฮย์ กรุ๊ป โปรดเยี่ยมชมเว็ปไซต์ของเราที่ www.haygroup.com/th สอบถามรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ ศิรินทิพย์ ขัติยะกาญจน์ ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์บริษัทเฮย์กรุ๊ป Email : Sirintip_Kudtiyakarn@haygroup.com T| +662 677 7515

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ