บทความพิเศษ เรื่อง สู้ปัญหาภัยแล้ง ด้วยสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์

ข่าวทั่วไป Tuesday March 18, 2014 17:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 มี.ค.--ซูม พีอาร์ จากสภาพอากาศที่แปรปรวนไปทั่วโลก ส่งผลให้เมื่อเข้าสู่หน้าหนาวก็หนาวจัดและหนาวนาน พอเข้าหน้าร้อนก็จะยิ่งร้อน และแล้งเร็วกว่าปีที่ผ่านมา สร้างความเดือดร้อนอย่างหนักในตอนนี้ โดยเฉพาะชาวนาทางภาคเหนือตอนล่าง อย่างจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ เริ่มมีปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากข้าวที่ปลูกไว้เริ่มยืนต้นตาย ส่วนข้าวที่ปลูกใหม่ก็เริ่มมีปัญหาขาดแคลนน้ำ รวมถึงข้าวที่นำไปจำนำไว้กับรัฐบาลก็ยังไม่ได้เงินมา ทำให้ชาวนาได้รับความเดือดร้อน เพราะเงินทุนหมุนเวียนเริ่มร่อยหรอ และขาดสภาพคล่อง อย่างไรก็ตามพี่น้องเกษตรกรต้องมีการเตรียมตัววางแผน และรับฟังข้อมูลข่าวสารให้มากๆ โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารจัดการน้ำให้มีความสัมพันธ์กับภาครัฐ ที่ในขณะนี้กรมชลประทานได้แจ้งเรื่องของปริมาณน้ำในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ปริมาณการกักเก็บน้ำที่ได้ประมาณ 200,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนกักเก็บได้ประมาณ 50,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะต้องสำรองไว้ก้นเขื่อนประมาณ 20,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจริงการวางแผนของกรมชลประทานนั้นเพียงพอต่อข้าวที่ปลูกไปแล้ว แต่เกรงว่าจะไม่เพียงพอสำหรับข้าวที่ชาวนาแอบปลูกในรอบใหม่ เพราะรอบการปล่อยน้ำที่ทางการชลประทานปล่อยออกมานั้น ถูกดูดกักเก็บนำไปใช้ตั้งแต่ระยะทางต้นน้ำ ทำให้น้ำไปไม่ถึงปลายน้ำ จึงเกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างชาวบ้านด้วยกันเอง รวมถึงกับภาครัฐด้วย ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จึงขอน้อมนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาใช้ ด้วยการทำสระน้ำประจำไร่นา เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยแนะนำให้ใช้สารอุดบ่อร่วมกับหินแร่ภูเขาไฟ เบนโธไนท์ สเม็คไทต์ ในอัตรา 2 กิโลกรัมต่อ หินแร่ภูเขาไฟ 100 กิโลกรัม หว่านกระจายให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้นนำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหว่านกระจายให้ทั่วพื้นบ่อก่อนปล่อยน้ำลงไป เพื่อสร้างเมือกธรรมชาติให้อุดรอยรั่วของบ่อ ก็จะมีน้ำไว้ใช้สำรองตลอดทั้งปี ส่วนปัญหาของต้นข้าวที่ปลูกไปแล้วสามารถแก้ไขได้ด้วยการนำสารอุ้มน้ำ โพลิเมอร์ 1 กิโลกรัม แช่น้ำในถัง 200 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง หรือ 1 คืน โพลิเมอร์จะดูดน้ำเข้าไปเก็บไว้ในตัวเอง ซึ่งสามารถดูดและกักเก็บไว้ได้มากถึง 200 – 400 เท่า ทำให้พองขยายตัวเต็มหรือล้นออกมาจากปากถัง และนำไปหว่านกระจายให้ทั่วแปลงนา เม็ดวุ้น หรือเจลโพลิเมอร์ ที่พองตัวแล้วจะไปสัมผัสใกล้กับต้นและรากข้าว ทำให้สามารถดูดกินรับน้ำ ประทังปัญหาภัยแล้งแบบเฉพาะหน้าได้ดีในระดับหนึ่ง อีกทั้งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหากับพืชอื่นๆได้ทุกชนิด เช่น ปาล์ม ยางพารา อ้อย ลองกอง ลำไย มังคุด ทุเรียน ฯลฯ สำหรับต้นไม้ที่ปลูกไปแล้ว และอาจจะอยู่ในช่วงที่กำลังขาดแคลนน้ำพอดี ก็สามารถใช้โดยการขุดหลุมขนาดความลึกเท่ากับขนาดของปี๊บไว้ด้านข้างทั้งสองด้าน (หลุมจะใหญ่หรือลึก ให้พิจารณาจากขนาดของลำต้นและทรงพุ่ม) หลังจากนั้นนำโพลิเมอร์ที่แช่น้ำจนพองตัวดีแล้วมาเทใส่ และกลบฝัง จะช่วยให้พืชมีน้ำไว้ใช้ได้ตลอด 3-6 เดือน สุดท้ายนี้ขอฝากเรื่องการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ 02 986 1680-2 สนับสนุนบทความโดย นายมนตรี บุญจรัส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด สอบถามข้อมูลข่าวได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2989 7844 , 081 732 7889

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ