บทความพิเศษ เรื่อง หลากวิธีเตรียมการแก้วิกฤติภัยแล้ง

ข่าวทั่วไป Thursday April 17, 2014 16:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--ซูม พีอาร์ ถ้าพูดถึงเรื่องภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมหรือภัยแล้ง สองคำนี้เป็นวิกฤติการณ์ที่คนไทยน่าจะได้ยินได้ฟังบ่อยที่สุด รวมถึงพัฒนาการทางด้านสื่อที่เกาะกระแสเฝ้าติดตามสถานการณ์อยู่เป็นประจำจนต้องเติมคำว่า “ซ้ำซาก” ต่อท้ายเข้าไปด้วย กลายเป็น “ท่วมซ้ำซาก” “แล้งซ้ำซาก” ฟังดูเผินๆ สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในอาชีพเกษตรกรรมก็อาจจะไม่คิดอะไรมาก แต่สำหรับชาวไร่ชาวนาที่จำเป็นต้องพึ่งพิงอิงอาศัยปัจจัยจากสถานการณ์ทั้งสองอย่างแล้ว ถือเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะน้ำมากผลผลิตภาคการเกษตรก็เสียหาย หรือน้ำน้อยขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร ผลผลิตและพืชที่ปลูกก็เสียหายเช่นเดียวกัน โลกของเรามีพื้นดินร้อยละ 30 หรือ 148 ล้านตารางกิโลเมตร แต่มีพื้นน้ำร้อยละ 70 มีปริมาณน้ำทั้งหมดในรูปของเหลว ของแข็งและก๊าซประมาณ 1,385 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นน้ำเค็มอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ร้อยละ 97.3 หรือเท่ากับ 1,348 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนที่เหลือเป็นน้ำจืด ซึ่งหมายรวมถึงไอน้ำที่อยู่ในบรรยากาศด้วยมีประมาณร้อยละ 2.7 หรือ 37 ล้านลูกบาศก์เมตร จะเห็นว่าปริมาณน้ำจืดนั้นช่างน้อยนิดนัก ดังนั้นจึงควรที่จะหาวิธีแนวทางกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด ปัจจุบันการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่และกลาง 650 แห่ง ขนาดเล็ก 60,000 แห่ง สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้เพียง 70,800 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งปี อีกทั้งผลกระทบจากภาวะฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล น้ำในเขื่อนจึงไม่พอใช้ จึงเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง แต่ถ้าปีใดปริมาณน้ำฝนตกตามฤดูกาลมากกว่าปรกติ ก็จะก่อให้เกิดการระบายถ่ายเทน้ำลงทะเลไม่ทัน ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเป็นอย่างนี้เกือบทุกปี อดีตในปี 2536 เป็นปีที่มีน้ำท่วมใหญ่พอสมควรในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา แต่ก็ยังไม่เข้ากรุงเทพฯ และล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2554 น้ำได้เข้ามายังตัวเมืองชั้นในของกรุงเทพฯ และได้ท่วมนานเป็นเดือนๆ สร้างความเสียหายให้แก่ภาคเศรษฐกิจโดยรวมอย่างมหาศาล และถือว่าเป็นปรากฏการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย ภัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับน้ำน้อยหรือน้ำมากไปนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารจัดการน้ำที่อาจจะยังไม่ดีพอของหลายๆภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ประเทศไทยมีพื้นที่โดยรวม 512,000 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่อปี 1,700 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำจากฝนที่ตกลงมาปีละประมาณ 8 แสนล้านลูกบาศก์เมตร แต่เรากักเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้เพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น บางส่วนซึมลงใต้ดินบ้าง ระเหยกลับสู่ชั้นบรรยากาศบ้าง หรือปล่อยระบายถ่ายเทลงทะเลไป เหลือเพียง 2 แสนล้านลูกบาศก์เมตร ที่อยู่ตามแม่น้ำ และห้วย หนอง คลอง บึง วันนี้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จึงแนะนำวิธีแก้ปัญหาแก้ภัยแล้ง ด้วยการขุดสระน้ำประจำไร่นา ซึ่งน่าจะเหมาะสมกับชาวไร่ชาวนาทุกพื้นที่ในช่วงเวลานี้ วิธีการก็คือหาพื้นที่ซึ่งเป็นจุดรวมน้ำ หรือ จุดของพื้นที่ลุ่ม และต่ำที่สุด แล้วจึงขุดให้ลึกลงตามความต้องการ โดยปรกติถ้าเป็นพื้นที่ดินเหนียวจะขุดให้ประมาณ 4 เมตร ส่วนพื้นที่ดินทรายก็ให้ลึกสักหน่อยประมาณ 6 เมตร และพื้นที่เป็นทางผ่านน้ำที่จะมีสายน้ำไหลผ่าน ควรจะทำบ่อพัก หรือ บ่อดักตะกอนเอาไว้ก่อน เพื่อให้เศษกิ่งไม้ใบหญ้า หรือ ขยะมูลฝอยตกลงในบ่อพัก ปล่อยเพียงแต่น้ำไหลผ่านลงไปในสระ เพื่อป้องกันการตื้นเขินที่อาจจะเร็วเกินไป ส่วนขนาดของสระที่เหมาะสมหรือให้เพียงพอต่อความต้องการนั้น ก็ใช้ตามแนวทางพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พ่อหลวงของเรา คือใช้พื้นที่ 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมดนั่นเอง แต่จะให้กักเก็บน้ำในบ่อได้ดีจริง จำเป็นต้องใช้สารอุดบ่อ (โพลิเอคริลามายด์) เข้ามาช่วย โดยใช้สารอุดบ่อเพียง 2 กิโลกรัม คลุกผสมกับแร่ดินเหนียว (เบนโธไนท์,สเม็คไทต์) ประมาณ 100 กิโลกรัม นำไปหว่านกระจายให้ทั่วพื้นบ่อ หรือ ผนังด้านข้างทั้งสี่ด้าน และอาจจะเสริมด้วยทรายหยาบ หรือ ทรายละเอียดโรยทับลงไป แล้วทำการบดอัด หลังจากนั้นค่อยๆปล่อยน้ำเข้าไปทีละน้อย เมื่อสารอุดบ่อสัมผัสกับน้ำก็จะค่อยๆพองขยายตัว อุดรูรั่วรอยโหว่ของพื้นบ่อ จนสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้นานเป็นปี หรือ ฝนชนฝนทีเดียว สำหรับวันนี้ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนนะครับ โอกาสหน้า จะนำวิธีแก้ปัญหาภัยแล้งในรูปแบบต่างมานำเสนอท่านผู้อ่านอีกครั้ง เพื่อจะมีส่วนช่วยให้พืชหรือต้นไม้ของท่าน อยู่รอดปลอดภัย ผ่านพ้นปัญหาวิกฤตภัยแล้งไปได้ สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ 02 986 1680-2 สนับสนุนบทความโดย นายมนตรี บุญจรัส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด สอบถามข้อมูลข่าวได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2989 7844 , 081 732 7889

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ