ภัยเงียบมะเร็งร้ายในสตรี ป้องกันได้ด้วยตัวเอง

ข่าวทั่วไป Wednesday July 23, 2014 11:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ก.ค.--โรงพยาบาลปิยะเวท ภัยเงียบมะเร็งร้ายในสตรี ป้องกันได้ด้วยตัวเอง โดย นพ.ภานุพงศ์ พันธ์เมธาฤทธิ์ สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลปิยะเวท ผู้หญิงไทยยุคปัจจุบันมีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไปจากเมื่อก่อน เนื่องจากบทบาทของผู้หญิงเริ่มมีมากขึ้นในสังคม ไลท์สไตล์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันทั้งการทำงาน สังคม หรือแม้กระทั่งเรื่องครอบครัวก็เปลี่ยนไป อาทิ การมีเพศสัมพันธ์กับคนรัก การเปลี่ยนคู่นอน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ผู้หญิงบางคนอาจมองเป็นเรื่องธรรมดา แต่หารู้ไม่ว่ามีภัยเงียบนั้นแอบแฝงมาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะเริ่มแรก แต่จะค่อยๆ แสดงอาการเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง นับว่าเป็นเรื่องน่ากลัวที่ควรระวังเอาไว้ให้ดี นพ.ภานุพงศ์ พันธ์เมธาฤทธิ์ สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า ในยุคที่การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ผู้หญิงไทยมีการตื่นตัวและรับมือกับปัญหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมกันมากขึ้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ThinPrep เป็นวิธีการใหม่ล่าสุดที่นำมาใช้ตรวจหาเซลล์ผิดปกติจากปากมดลูกและในช่องคลอด โดยแพทย์จะใช้อุปกรณ์เฉพาะเก็บตัวอย่างผ่านทางช่องคลอด จากนั้นจะใส่ลงในขวดน้ำยาและนำส่งตรวจห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติที่อาจก่อเป็นมะเร็งได้ ซึ่งเป็นการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ผู้หญิงที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปี จะช่วยทำให้การค้นหาร่องรอยโรคได้ก่อน และสามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่มีการดำเนินเวลานาน 5-10 ปี กว่าจะกลายเป็นมะเร็ง ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งการป้องกันที่มีมามากกว่า 10 ปี นั่นคือ การรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แม้ว่าจะป้องกันได้ประมาณ 70% ก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าเป็นวัคซีนที่ป้องกันมะเร็งได้ นอกเหนือจากวัคซีนป้องกันมะเร็งตับที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่เพียงมะเร็งปากมดลูกเท่านั้นที่เป็นภัยเงียบใกล้ตัวคุณผู้หญิง ยังมีมะเร็งเต้านมที่ตรวจพบบ่อยเช่นกัน โดยพบสูสีแย่งที่ 1 ที่ 2 กันกับมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านมมีหลายอย่าง อาจเกิดจากพันธุกรรม ปัจจัยเกี่ยวกับฮอร์โมน ไม่เคยมีบุตร ไม่เคยมีน้ำนม ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง หรืออายุที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้หญิงทุกคนล้วนมีโอกาสเสี่ยง ดังนั้นเราจึงควรหมั่นตรวจเต้านมตนเองด้วยวิธีการคลำเป็นวงกลมวนเป็นก้นหอย ร่วมกับการตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม ที่จะปรากฏภาพถ่ายเอกซเรย์เต้านมแบบดิจิตอลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ทำให้ง่ายแก่การวินิจฉัย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะทำให้คุณค้นหาความเสี่ยงของโรคได้ดียิ่งขึ้น ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปี บางรายที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าผู้อื่น เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็น ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้ก่อน เป็นต้น คุณหมอภานุพงศ์ กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ยังมีมะเร็งรังไข่ที่อาจจะไม่ได้พบบ่อยนักแต่ส่วนใหญ่มักจะตรวจเจอเมื่อก้อนเนื้อมีขนาดโตมากแล้ว หรือในระยะท้ายๆ แม้ว่าการตรวจภายในจะเป็นสิ่งที่ช่วยค้นหาความผิดปกติแล้ว แต่อย่าลืมว่าในกรณีที่ก้อนมีขนาดเล็กหรือในระยะเริ่มแรก อาจจะยังคลำได้ไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้นการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่างจะเป็นอีกวิธีที่ทำให้เห็นก้อนเนื้อบริเวณมดลูก และรังไข่ ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถตรวจดูขนาดก้อนเนื้อได้อีกด้วย ส่วนช่องทางการตรวจผู้หญิงหลายคนอาจเป็นกังวล หรือเกิดการกลัวไม่อยากตรวจทางช่องคลอดจึงมักจะเลี่ยงไปตรวจทางหน้าท้องแทนนั้น ความแตกต่างอยู่ที่ความชัดเจนในผลการตรวจ ซึ่งทางช่องคลอดนั้นจะให้ภาพที่มองเห็นได้ง่ายกว่า ภัยเงียบทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น เราสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่เบื้องต้น โดยสามารถตรวจได้ไปพร้อมกับการตรวจร่างกายประจำปีของทุกท่านอยู่แล้ว เพียงแค่เพิ่มสิ่งที่สงสัยสักนิด หมั่นตรวจเช็คความผิดปกติของร่างกายตัวเอง ความปลอดภัยในร่างกายก็จะเพิ่มมากขึ้น ทุกโรคเมื่อตรวจพบได้ก่อน โอกาสในการรักษาหายขาดก็จะสูงขึ้น เพื่อเป็นการต้อนรับเทศกาลวันแม่ที่กำลังจะมาถึง โรงพยาบาลปิยะเวท เอาใจคุณผู้หญิงที่รักสุขภาพจัดโปรแกรมตรวจสุขภาพ ราคา 2,000 และ 5,000 บาท คุ้มค่ากับรายการตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับคุณผู้หญิง จับคู่มาให้เลือกตรวจในราคาสบายกระเป๋า เสริมสร้างความสัมพันธ์จูงมือมาเป็นคู่คุ้มยิ่งกว่ากับโปรแกรมตรวจสุขภาพตา ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ มอบสุขภาพดีเป็นของขวัญแทนใจให้กับคนที่คุณรักและห่วงใยด้วย Gift Voucher สุขภาพก็น่ารักไปอีกแบบ เริ่ม 1-31 ส.ค. 57 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.piyavate.com หรือ Call Center โทร 02-625-6555

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ