กลยุทธ์การออกแบบ "คำบรรยายลักษณะงานกับมาตรฐานการปฏิบัติงาน" เพื่อแก้ปัญหา "ลูกจ้างรับเหมาแรงงาน" จากคำพิพากษาฎีกามาตรา 11/1, 16-17 ตุลาคม 2557

ข่าวทั่วไป Friday August 29, 2014 11:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ก.ย.--Omegaworldclass สถาบันวิจัยโอเมก้าเวิลด์คลาสจะจัดการประชุมสัมมนาผู้บริหารเรื่อง กลยุทธ์การออกแบบ "คำบรรยายลักษณะงานกับมาตรฐานการปฏิบัติงาน" เพื่อแก้ปัญหา "ลูกจ้างรับเหมาแรงงาน" จากคำพิพากษาฎีกามาตรา11/1 วันที่ 16-17 ตุลาคม 2557 HR OUTSOURCING & THE NEW LEGAL RISKSตามที่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326 – 22404 วินิจฉัยว่า "ให้ผู้ประกอบกิจการ มีหน้าที่ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการในค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่ารถ เงินโบนัสให้ถูกต้องตามที่ผู้ประกอบกิจการจัดให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง โดยต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ในส่วนที่ผู้เป็นนายจ้างโดยตรง ไม่จัดให้หรือจัดให้น้อยกว่าลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของผู้ประกอบการ โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่ผู้ประกอบการจัดให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ซึ่งหากผู้ประกอบการมีหลักเกณฑ์การจ่ายค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่ารถ เงินโบนัสให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงโดยกำหนดจากทักษะ ประสบการณ์ ตำแหน่งงาน จำนวนผลิตผลของงานอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการเช่นเดียวกัน" จากคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้เป็นการยืนยันในสิทธิของลูกจ้างรับเหมาแรงงานตามกฎหมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านการพนักงานเป็นจำนวนมากมายมหาศาล และก่อให้เกิดผลผูกพันสถานประกอบการย้อนหลังไปตั้งแต่ 2 ถึง 10 ปี ซึ่งเป็นความเสี่ยงใหม่ที่คุกคามผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตและบริการ KEY STRATEGY TO MINIMIZE RISKS OF HR OUTSOURCING กลยุทธ์สำคัญในการแก้ปัญหา'ลูกจ้างรับเหมาแรงงาน'ตาม มาตรา 11/1 คือ "ลักษณะงานของลูกจ้างโดยตรงกับลูกจ้างรับเหมาแรงงาน ต้องมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ" ซึ่งเครื่องมือที่ชี้ชัดให้ เห็นความแตกต่างของงาน คือ คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard of Procedure) องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจ้างลูกจ้างรับเหมาค่าแรงจึงต้องมีการออกแบบ "คำบรรยายลักษณะงานกับมาตรฐานการปฏิบัติงานใหม่ เพื่อการป้องกันและแก้ปัญหาลูกจ้างรับเหมาแรงงานตามมาตรา 11/1 อย่างแท้จริง หลักสูตรนี้เน้นการฝึกปฏิบัติจริง (workshop) ผู้ปฏิบัติสามารถวิเคราะห์งาน แล้วลงมือชื่อเขียนคำบรรยายลักษณะงานกับมาตรฐานการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เห็นถึงงานและกิจกรรมของแต่ละตำแหน่งตลอดจนความแตกต่างของงานอย่างมีนัยสำคัญ MEET 2 TOP-NOTCH SPEAKERS - LAGAL EXPERT > Mr. Kreangkri Jiamboonsri Consultant, Baker & McKenzie - HR EXPERT > Mr. Tayat SriplangManaging Partner, The Nile Management Consulting KEY LEARNING OBJECTIVES - เพื่อทราบถึงผลกระทบของมาตรา 11/1 พรบ คุ้มครองแรงงานที่มีต่อการจ้างลูกจ้างรับเหมาค่าแรง - เพื่อเข้าใจและแยกแยะได้ว่าวิธีการบริหารจัดการลูกจ้างรับเหมาค่าแรงแบบใด ที่จะได้รับหรือไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรา 11/1 - เพื่อเข้าใจและสามารถใช้เครื่องมือและวิธีการด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเป็นระบบในการจัดการเกี่ยวกับการจ้าง - ลูกจ้างเหมาค่าแรงเพื่อให้องค์กรไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรา 11/1 WHO WILL BENEFIT MOST ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจ้างลูกจ้างรับเหมาค่าแรง KEY AGENDA HIGHLIGHTS - หลักการแนวคิดของมาตรา 11/1 พรบ คุ้มครองแรงงาน - ผลกระทบของคำพิพากษาฎีกาที่ 22326 - 22404/2555 ที่มีต่ออุตสาหกรรมไทย - ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลกับมาตรา 11/1 ที่มีผลโดยตรงต่อการลดความเสี่ยงทางกฏหมาย - การเขียนคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ให้แตกต่างและถูกต้อง - ฝึกหัดเขียนคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้แตกต่างจากตำแหน่งลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง - การเขียนมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ให้แตกต่างและถูกต้อง - ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินค่างาน (Job Evaluation) - ค่าจ้างและสวัสดิการ (Compensation & Benefit) - การบริหารผลการปฏิบัติงานและองค์ประกอบด้าน HR ส่วนอื่น (Performance Management & Others HR Elements) ร่วมกัน 'เรียนรู้แบบเป็นทีมตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป' เพื่อให้สามารถร่วมกันนำกลับมาถ่ายทอดในองค์กรได้อย่างทรงพลัง สมัครพร้อมกันตั้งแต่ 4 ท่านขึ้นไป ได้รับส่วนลดพิเศษค่าลงทะเบียนท่านละ 4000 บาท ชำระค่าลงทะเบียนก่อน 5 กันยายน 2557 ได้รับส่วนลดพิเศษค่าลงทะเบียนอีกท่านละ 2000 บาท ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 200% รับสมัครจำนวนจำกัด สนใจกรุณาติดต่อ คุณศตพร สถาบันวิจัยโอเมก้าเวิลด์คลาส 252/119 อาคารเมืองไทย-ภัทร คอมเพล็กซ์ 2 ชั้น 24 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทร: 022754511, 026931474, 0896929900 Email:conference@omegaworldclass.org
แท็ก ศาลฎีกา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ