บทความพิเศษ : สร้างกองทัพจุลินทรีย์ชนิดดี สู่ผืนดิน

ข่าวทั่วไป Sunday September 21, 2014 15:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ก.ย.--ซูม พีอาร์ การเพาะปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลต่างๆ มักจะประสบความสำเร็จและได้ผลดีในรอบการผลิตแรกๆ หลังจากนั้นก็จะเริ่มประสบปัญหาต่างๆ ให้พี่น้องเกษตรกรได้เกิดความท้าทาย ทั้งด้านปริมาณผลผลิต การเจริญเติบโตที่ค่อยๆ ลดลง เพราะแร่ธาตุและสารอาหารในดินถูกใช้หมดไปในรอบการผลิตแรกแล้ว ดินที่มีสภาพความสมบูรณ์น้อย ก็จะเกิดผลกระทบด้านลบเร็วยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว จะยิ่งทำให้คุณภาพดิน แน่นแข็ง สะสมความเป็นกรด จับตรึงยึดปุ๋ยไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดกินหรือตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยได้ ทำให้ง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงต่างๆ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ การสะสมอมเชื้อโรคต่างๆ ไว้ในพื้นที่ยิ่งนาน เชื้อโรคก็ยิ่งมาก เนื่องจากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ล้วนมีสัญชาตญาณในการที่จะดำรงชีวิตให้อยู่รอด พื้นที่ใดมีแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ เชื้อโรคก็มักจะเข้ามาอาศัยหลบซ่อน รอวันเวลาออกมาทำลาย ทำให้พืชได้รับผลกระทบ สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซ้ำที่ โดยเฉพาะการปลูกหอม และผักชี จะสังเกตได้ง่ายมาก เพราะจะเกิดการเน่ายุบ ล้มตาย อย่างง่ายดาย ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกหอม กระเทียม ผักชี ซ้ำที่กันบ่อยนัก ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากจำนวนของจุลินทรีย์ชนิดเลว มีการสะสมบ่มเพาะอยู่ในแปลงอย่างหนาแน่นมากเกินไป ทั้งในรูปแบบเซลล์และแบบสปอร์ที่รอวันเจริญเติบโตงอกงามเมื่อได้รับน้ำและอาหารที่เหมาะสม และสปอร์ของเชื้อโรคจะทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่โหดร้ายได้ค่อนข้างดี จึงทำให้เมื่อยังไม่ปลูกพืช ก็จะพักตัวไม่แสดงอาการ แต่เมื่อใดก็ตามที่เริ่มเพาะปลูก สปอร์ของเชื้อราโรคพืชต่างๆ เหล่านี้ก็จะค่อยเจริญเติบโตออกมาสร้างปัญหา ทำให้เกิดโรคกล้าเน่ายุบ (บางพื้นที่เรียกโรคหมานอน) โรครากเน่าโคนเน่า โรคเน่าคอดิน ฯลฯ ดังนั้น ก่อนที่จะมีการเพาะปลูก ไม่ว่าจะปลูกอะไรก็ตาม ควรจะสร้างความสมดุลให้กับดิน เพื่อเป็นเกราะป้องกัน โรคต่างๆ ที่จะมาหลังจากการเพาะปลูก โดยการเติมจุลินทรีย์ชนิดดีที่ไม่ทำร้ายพืชอย่าง จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma spp.) ให้อยู่อาศัยร่วมกันในแปลงในปริมาณที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกเชิงเดียวเป็นจำนวนมาก ก็จะช่วยทำมีจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดี อยู่ทั่วไปในแปลงเพาะปลูก จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราด้วยกัน ไม่ทำร้ายพืช แต่จะทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค ให้อ่อนแอและล้มตาย เมื่อเชื้อโรคเจริญเติบโตหรือถูกกระแสลมพัดพามา ก็จะถูกแย่งอาหาร และที่อยู่อาศัย สุดท้ายจะถูกไตรโคเดอร์ม่าทำลาย ทำให้แปลงเพาะปลูกปลอดเชื้อโรค ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ และสิ่งแวดล้อมแบบปลอดภัยไร้สารพิษ ถือเป็นการสร้างกองทัพจุลินทรีย์ชนิดดี สู่ผืนดิน สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ 02 986 1680-2 สนับสนุนบทความโดย นายมนตรี บุญจรัส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด สอบถามข้อมูลข่าวได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2000 8499 , 081 732 7889
แท็ก เกษตรกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ