กสอ. นำร่องดัน SMEs อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ประเดิมตลาดอาเซียน พร้อมตั้งเป้าปี 58 ชิงส่วนแบ่งตลาดฮาลาลโลก

ข่าวทั่วไป Wednesday November 5, 2014 12:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 พ.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าขยายฐานอุตสาหกรรมอาหารไทย ตั้งเป้านำร่องพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล 150 ราย บุกตลาดอาเซียน ผ่าน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.เร่งให้ความรู้มาตรฐานอาหารฮาลาล 2. ขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ 3. สร้างโอกาสและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านกิจกรรม Business Networking และ 4.สร้างฐานข้อมูลอุตสาหกรรมอาหารในตลาดอาเซียนและตลาดมุสลิมอื่นๆ ทั้งนี้กลุ่มอาหารฮาลาลของไทยที่มีโอกาสเติบโต อาทิ ข้าวและน้ำตาลทราย ผักและผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง อาหารพร้อมปรุงหรือสำเร็จรูป รวมถึงอาหารฮาลาลอินทรีย์ ฯลฯ โดยปัจจุบัน ตลาดมุสลิมเป็นตลาดใหญ่ด้วยประชากรชาวมุสลิมกว่า 1,600 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะในอาเซียนมีถึง 300 ล้านคน รัฐบาลจึงเน้นพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออก โดยมุ่งพัฒนาด้านการผลิต การตลาด ตลอดจนการขอรับมาตรฐานเพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ กรมฯ ร่วมกับ My Outlets PTE Ltd., ผู้ผลิต จัดจำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลจากประเทศสิงคโปร์และจีน จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมฮาลาล ในหัวข้อ “พัฒนาศักยภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล” พร้อมเจรจาจับคู่ธุรกิจ เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของกลุ่มประเทศอาเซียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP โดยภายในงานจะมีการบรรยายประเด็นต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน อาทิ ความสำคัญของมาตรฐานอาหารฮาลาล และวิธีบริหารจัดการอาหารฮาลาล ตลอดจนแนวทางการส่งออกอาหารฮาลาลไทยสู่อาเซียนและตลาดโลก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงสินค้า เพื่อโชว์ศักยภาพพร้อมสร้างเครือข่ายและเจรจาเชื่อมโยงธุรกิจอุตสาหกรรม (Business Matching) ในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ได้ที่ ส่วนพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร กองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 2 อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร กล้วยน้ำไท กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2367-8127 นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารและการแปรรูปอาหารของไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมาก สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศมหาศาล แต่จากสภาวะปัจจุบันที่อุตสาหกรรมอาหารในตลาดโลกมีการแข่งขันสูงขึ้น ประเทศไทย จึงจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาประเทศ อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมอาหารไทยที่สำคัญ มีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศกลุ่มมุสลิม (Organization of Islamic Cooperation : OIC) กว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี (ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.72 ต่อปี ซึ่งยังเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรชาวมุสลิมที่มีกว่า 1,600 ล้านคน ทั้งนี้ประเทศที่มีการส่งออกอาหารฮาลาลไปยังกลุ่มประเทศมุสลิมและมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด ได้แก่ บราซิล (สัดส่วนร้อยละ 12.39) รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 7.92) อินเดีย (ร้อยละ 6.63) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 5.58) จีน (ร้อยละ 5.58) โดยประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นลำดับที่ 6 (ร้อยละ 4.37) (ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์) แต่อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของไทยยังมีโอกาสดีในตลาดโลกเนื่องจากไทยมีความได้เปรียบคู่แข่งหลายประเทศ โดยได้รับการยอมรับในตลาดโลกทั้งด้านคุณภาพและรสชาติ ซึ่งสามารถต่อยอดพัฒนาเป็นอาหารฮาลาลได้ ซึ่งในขณะนี้ขนาดของตลาดอาหารฮาลาลโลกมีมูลค่า 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.4 ต่อปี โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 (ม.ค. –มิ.ย.) ประเทศไทย มีมูลค่าการส่งออกอาหารฮาลาลอยู่ที่ 2,980.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.15 แต่คาดว่าภายในปี 2558 ไทยจะสามารถกระตุ้นยอดการส่งออกอาหารฮาลาลเพิ่มขึ้นได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ต่อปี ทั้งนี้ สินค้าอาหารฮาลาลส่งออกที่สำคัญของไทย และแนวโน้มเติบโตได้ดีในตลาดมุสลิม มีดังนี้ - ข้าวและน้ำตาลทราย อาทิ ผลิตภัณฑ์ข้าวและข้าวลาลี น้ำตาลทรายขาว เนื่องจากประเทศในกลุ่มมุสลิมส่วนใหญ่มีสภาพภูมิประเทศที่ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรจึงมักนำเข้า ข้าว และน้ำตาลจากประเทศไทย - ผักและผลไม้สดแช่เย็น - แช่แข็ง โดยเฉพาะผลไม้ไทยเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพและรสชาติดีมากในตลาดมุสลิม เช่น มะม่วง และทุเรียน เป็นต้น - อาหารพร้อมปรุงและพร้อมรับประทานทั้งแบบแช่แข็ง แปรรูป และบรรจุกระป๋อง อาทิ อาหารทะเลแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว รวมทั้งอาหาร พร้อมรับประทานแบบตะวันตก เช่น ขนมปัง พาสต้า และสปาเกตตี - อาหารฮาลาลอินทรีย์ (Organic Halal Food) นับเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามกระแสการรักสุขภาพ โดยเน้นเจาะกลุ่มตลาดมุสลิมที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง-รายได้สูง ? นายอาทิตย์ กล่าวต่อว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญในการพัฒนาภาคการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ทั้งในด้านการพัฒนาผู้ประกอบการ การแสวงหาโอกาสทางการตลาด โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการจับคู่เจรจาธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ โดยมีแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ตามยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้ - เร่งให้ความรู้ : เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของมาตรฐานอาหารฮาลาลวิธีบริหารจัดการอาหารฮาลาล มาตรฐานฮาลาล ยุทธศาสตร์การส่งออกอาหารฮาลาลไทยสู่อาเซียนและตลาดโลก รวมถึงการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย - ขยายตลาด : ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้มีความพร้อมสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ - สร้างโอกาส (Business Networking) : ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสามารถเพิ่มช่องทางการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนและตลาดโลกได้ - สร้างฐานข้อมูล : ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงและขยายความร่วมมือของผู้ประกอบการที่สนใจตลาดอาเซียน ซึ่งจะเป็นการสร้างฐานข้อมูลเพื่อการขยายตลาดมุสลิมในอาเซียนและภูมิภาคอื่นๆ ในอนาคตกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 2 ร่วมมือกับ บริษัท มาย เอาท์เล็ต พีทีอี จำกัด (My Outlets PTE Ltd.,) ผู้ผลิต จัดจำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลจากประเทศสิงคโปร์และจีน จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมฮาลาล ในหัวข้อ “พัฒนาศักยภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล” พร้อมจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและฮาลาล โดยเล็งเห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมีประชากรมุสลิมกว่า 300 ล้านคน โดยนำร่องพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในธุรกิจอุตสาหกรรมฮาลาลเบื้องต้น จำนวน 150 ราย โครงการดังกล่าวเป็นการช่วยส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุนของไทย โดยให้ความรู้ในด้านการส่งออกสินค้า และมาตรฐานทางการค้าอื่นๆ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสิงคโปร์ มาเลเซียและจีน ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสร้างโอกาสในการขยายตลาดฮาลาลในภูมิภาคอื่นต่อไป โดยภายในกิจกรรมจะมีการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในประเด็นต่างๆ อาทิ ความสำคัญของมาตรฐานอาหารฮาลาล และวิธีบริหารจัดการอาหารฮาลาล ยุทธศาสตร์การส่งออกอาหารฮาลาลไทยสู่อาเซียนและตลาดโลก ไปจนถึงการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย และประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมนำสินค้ามาร่วมจัดแสดงเพื่อโชว์ศักยภาพ พร้อมสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงธุรกิจอุตสาหกรรม (Business Matching) ในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวจะสามารถทำให้วิสาหกิจที่เข้าร่วมมีความพร้อมสู่ตลาดฮาลาลในต่างประเทศเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 80 และคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าการซื้อขายไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาท ต่อปี นายอาทิตย์ กล่าวสรุป สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ได้ที่ ส่วนพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร กองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 2 อาคารพัฒนาสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร กล้วยน้ำไท กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2367-8127 กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร 0 2202 4414 – 18

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ