“6 เดือน คสช. กับการคืนความสุขให้คนในชาติ”

ข่าวทั่วไป Monday November 24, 2014 10:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “6 เดือน คสช. กับการคืนความสุขให้คนในชาติ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤศจิกายน 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และระดับการศึกษา รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ การบริหารราชการแผ่นดิน และความสุขของคนในชาติ หลังจากครบรอบ 6 เดือนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงระดับความสุขของประชาชนในโอกาสครบรอบ 6 เดือนของ คสช. ในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.28 ระบุว่า มีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะ รู้สึกปลอดภัยที่มีเจ้าหน้าที่ออกมาดูแลความปลอดภัยในบางพื้นที่ ทำให้บ้านเมืองมีความสงบเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น คณะ คสช. มีมาตรการที่สามารถคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การช่วยเหลือเกษตรกร และความวุ่นวายทางการเมือง เป็นต้น รองลงมา ร้อยละ 41.69 ระบุว่า มีความสุขเท่าเดิม เพราะ ยังมีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ เช่น ปัญหาการก่ออาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาวะเศรษฐกิจยังเหมือนเดิม การแก้ไขปัญหายังไม่มีความคืบหน้เท่าที่ควร ขณะที่ ร้อยละ 8.79 ระบุว่า มีความสุขลดลง เพราะ การใช้อำนาจในการบริหารบ้านเมืองทำให้ประชาชนขาดสิทธิและเสรีภาพในบางเรื่อง ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ ไม่มีการแก้ไขปัญหาทางสังคมที่เด็ดขาด ราคายางพาราและราคาข้าวตกต่ำ เศรษฐกิจไม่ดี และค่าครองชีพแพง และร้อยละ 0.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานราชการแผ่นดินครบรอบ 6 เดือน ของ คสช. ในประเด็นที่ทำให้มีความสุขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.11 ระบุว่า บ้านเมืองสงบเรียบร้อยไม่มีความวุ่นวายทางการเมือง รองลงมา ร้อยละ 14.86 ระบุว่า ไม่มีประเด็นใดที่ทำให้มีความสุข ร้อยละ 7.19 ระบุว่า เป็นการจัดระเบียบสังคม เช่น การจัดระเบียบทางเท้า การจัดระเบียบชายหาด ร้อยละ 5.51 ระบุว่า เป็นการมุ่งแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ร้อยละ 4.87 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาปากท้องเกษตรกร ร้อยละ 3.99 ระบุว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ร้อยละ 2.64 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวม ร้อยละ 2.24 ระบุว่า การมีเสรีภาพมากขึ้น ร้อยละ 2.00 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชน ร้อยละ 0.88 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาการศึกษา การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน ปัญหาพื้นที่ดิน ทำกินทับซ้อนพื้นที่ป่าสงวน ปัญหาแหล่งพลังงาน และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายสุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานราชการแผ่นดินครบรอบ 6 เดือน ของ คสช. ในประเด็นที่ยังไม่สามารถทำให้มีความสุข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.43 ระบุว่า ไม่มีประเด็นใดที่ไม่มีความสุข รองลงมา ร้อยละ 17.17 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวม ร้อยละ 15.34 ระบุว่า เป็น การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชน ร้อยละ 13.90 ระบุว่า เป็น การแก้ไขปัญหาปากท้องเกษตรกร ร้อยละ 7.27 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ร้อยละ 6.95 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ร้อยละ 5.27 ระบุว่า เป็นเรื่องของการที่ยังไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 1.36 ระบุว่า เป็นการจัดระเบียบสังคม เช่น การจัดระเบียบทางเท้า การจัดระเบียบชายหาด ร้อยละ 1.04 ระบุว่า เป็นเรื่องของเสรีภาพที่ยังไม่เต็มที่ของสื่อมวลชน ร้อยละ 0.32 ระบุว่าเป็นการแก้ไขปัญหาในทุก ๆ เรื่อง ร้อยละ 1.68 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ การบุกรุกพื้นที่ป่า ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การจราจร ราคาพลังงานและแหล่งพลังงาน การเข้าถึงการรักษาพยาบาล สาธารณสุข ความขัดแย้งทางการเมือง และสิทธิเสรีภาพในด้านความคิดเห็น และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.13 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 19.97 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.97 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 19.97 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 19.97 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 51.36 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.48 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 6.27 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 30.20 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 51.49 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 12.0 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 92.76 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 5.79 นับถือศาสนาอิสลาม และตัวอย่างร้อยละ 1.45 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 24.14 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 73.37 สมรสแล้ว และตัวอย่างร้อยละ 2.49 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 28.89 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 32.77 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.67 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 25.67 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 5.00 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 14.14 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 12.60 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 24.64 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 14.30 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 11.87 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 3.39 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 11.58 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 24.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 32.75 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 11.74 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 5.51 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 6.31 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และ ร้อยละ 7.67 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ