นย์อุบัติเหตุกรุงเทพ เตรียมพร้อมรับมืออุบัติเหตุฉุกเฉินทุกรูปแบบในทุกเทศกาล พร้อมกับเผยความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวิกฤตบาดเจ็บที่ศีรษะ

ข่าวทั่วไป Tuesday November 25, 2014 16:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--โรงพยาบาลกรุงเทพ อุบัติเหตุนำมาซึ่งการบาดเจ็บ การสูญเสียชีวิต หรือความพิการ แน่นอนว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวเอง และคนในครอบครัว หรือแม้แต่คนรู้จัก สถิติที่ผ่านมาพบว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เมื่อเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น แต่ละวินาทีที่ผ่านไปอาจหมายถึงชีวิต หรือความพิการของผู้บาดเจ็บ โรงพยาบาลกรุงเทพ ตอกย้ำความเชื่อมั่นในความพร้อมของทีมแพทย์-พยาบาลสหสาขา และเทคโนโลยีในการตรวจรักษาผู้ป่วยที่ทันสมัย เพื่อรับมือกับอุบัติเหตุฉุกเฉินทุกรูปแบบในช่วง 7 วันอันตรายของเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้ พร้อมกับเปิดเผยความสำเร็จในการดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และสมอง นพ.เอกกิตติ์ สุรการ ผู้อำนวยการศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ กล่าวว่าปัญหาที่น่าเป็นห่วง คือ มีอุบัติเหตุจราจรเพิ่มมากขึ้นในทุกช่วงเทศกาล ทำให้องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 3 ของกลุ่มประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุด และเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน ข้อมูลล่าสุดจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.)ได้เปิดเผยสถิติความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 10,000 คนต่อปี ขณะเดียวกันยังพบสถิติผู้พิการรายใหม่จำนวนไม่ต่ำกว่าปีละ 5,000 คน โดยในปีพ.ศ.2556 มีผู้เสียชีวิตสูงถึง10,000 คน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการนำส่งโรงพยาบาลไม่ทันเวลา หรือได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นที่ช้าเกินไป เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ประสบอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 7 วันอันตรายที่ใกล้จะมาถึงนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพ ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนที่มีความพร้อมด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินได้กำหนดให้ศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ (Bangkok Trauma Center) เตรียมพร้อมในการให้คำแนะนำ และให้การช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บาดเจ็บได้ทันเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด โดยมุ่งหวังให้ผู้ประสบอุบัติเหตุปลอดภัยที่สุด “ศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ” พร้อมรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ รวมทั้งการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยทั้งทางบก และทางอากาศ มีทีมแพทย์เฉพาะทาง และทีมสหสาขาวิชาชีพพร้อมให้การดูแล ได้แก่ • ศัลยแพทย์อุบัติเหตุ • ศัลยแพทย์ทั่วไป • ศัลยแพทย์ประสาท และสมอง • ศัลยแพทย์กระดูก และข้อ • ศัลยแพทย์หัวใจ และทรวงอก • ศัลยแพทย์ตกแต่ง-กระดูกใบหน้า • จุลศัลยกรรม (การต่ออวัยวะที่ขาด) • ศัลยกรรมผู้ป่วยไฟไหม้-น้ำร้อนลวก • วิสัญญีแพทย์ และเวชบำบัดวิกฤติ • กุมารศัลยแพทย์ • สูติ-นรีแพทย์ • รังสีแพทย์ ด้วยความร่วมมือกันของบุคลากรการแพทย์ที่มีประสบการณ์ และเชี่ยวชาญ ทำให้มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บที่ซับซ้อน รุนแรง หรือบาดเจ็บพร้อมกันหลายอวัยวะ เช่น สมอง กระดูก และอวัยวะภายในต่างๆ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากสาเหตุอื่นๆ สิ่งสำคัญในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บคือ ความปลอดภัย รถพยาบาลฉุกเฉินทุกคันจึงมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน พร้อมด้วยอุปกรณ์ตามมาตรฐานการช่วยชีวิตขั้นสูง อาทิ เครื่องติดตามสัญญาณชีพ และเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ, เครื่องช่วยหายใจ, เครื่องควบคุมการให้ยา และสารน้ำ, เครื่องดูดเสมหะสำหรับดูแลผู้ป่วย เป็นต้น ความเพียบพร้อมของอุปกรณ์ทางการแพทย์ และทีมแพทย์ทำให้รถพยาบาลเป็นเหมือน ICU เคลื่อนที่ รถทุกคันติดตั้งระบบ GPS ช่วยระบุพิกัด สามารถติดตามตำแหน่งของรถพยาบาลขณะอยู่บนท้องถนน และมีระบบช่วยนำทางไปยังจุดหมาย ทำให้สามารถเลือกเส้นทางที่สะดวกที่สุดเพื่อนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว โรงพยาบาลกรุงเทพจัดบริการรับส่งผู้ป่วยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างสมบูรณ์แบบโดยมีรถพยาบาลฉุกเฉิน(Ambulance), หออภิบาลผู้ป่วยเคลื่อนที่ (Mobile ICU), เฮลิคอปเตอร์การแพทย์ฉุกเฉิน(Sky ICU) และอากาศยานการแพทย์ (Air ambulance) รวมทั้ง เรือฉุกเฉิน (Hydrolance) และรถมอเตอร์ไซค์ฉุกเฉิน (Motorlance) ที่พร้อมบริการให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และความรุนแรงเร่งด่วนของการบาดเจ็บ ในวันที่ 18-19 พ.ย.นี้ ศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพได้จัดการประชุมวิชาการ Bangkok Trauma Day เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์จากทั่วประเทศได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการรับมือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งจัดการฝึกอบรมการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤตทั้งโดยรถพยาบาลระดับสูง และอากาศยานในวันที่ 19 พ.ย.นี้ด้วย เป็นการเตรียมความพร้อมสู่การรับรองมาตรฐานระบบการส่งต่อผู้ป่วย CAMTS (Commission on Accreditation of Medical Transport Systems) ด้าน นายแพทย์นันทศักดิ์ ทิศาวิภาต ผู้อำนวยการแผนกศัลยกรรมระบบประสาทและประธานคณะกรรมการอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.กรุงเทพ กล่าวว่าในช่วง 7 วันระวังอันตรายของทุกปีหรือในการใช้ชีวิตประจำวัน มีผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุจากการจราจร การพลัดตกหกล้ม ได้รับบาดเจ็บทางสมอง และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ป่วยบางคนต้องกลายเป็นผู้พิการ ซึ่งนอกจากบาดแผลภายนอกแล้ว การบาดเจ็บทางสมองจากการกระทบกระเทือนช้ำ อาจทำให้มีเลือดคั่งในกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว อาการสำคัญที่ตามมาได้แก่ อาการแขนขาอ่อนแรง ตาพร่ามัว ปัญหาที่เกี่ยวกับความจำ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บที่ศีรษะที่ไม่รุนแรงในบางครั้งอาจมีเลือดออกในสมองตามมาในภายหลังได้ ในกรณีที่จำเป็นอาจต้องวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน (CT Scan) การวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาได้ อย่างเหมาะสม ทันเวลา จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต ลดความพิการ เช่น การผ่าตัดสมองเพื่อลดการกดทับเนื้อสมองจากเลือดคั่งในกระโหลกศีรษะ และการให้ยาควบคุมภาวะสมองบวม ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยวิกฤติใน ICU เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของอาการทางสมอง สัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดภายใต้การดูแลของทีมแพทย์สหสาขา และประสาทศัลยแพทย์ กรณีที่เกิดการบาดเจ็บหลายระบบ จำเป็นต้องวินิจฉัยการบาดเจ็บของอวัยวะสำคัญที่อาจเกิดร่วมกัน เช่น ตรวจการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกคอด้วยภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เอ็มอาร์ไอ (MRI) ที่มีความแม่นยำชัดเจน ช่วยให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง การทำกายภาพบำบัดช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกาย รวมทั้งต้องให้การดูแลการเปลี่ยนแปลงทางจิต ความคิด และอารมณ์ที่เกิดตามมา ทีมแพทย์จะวางแผนการดูแลผู้ป่วยแต่ละรายด้วยความเข้าใจ เพื่อปรับสภาพร่างกายและจิตใจผู้ป่วย พร้อมคืนความแข็งแรง กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ การรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว ตลอดจนความพร้อม มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการลดอัตราการเสียชีวิต ศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ ได้รับรองมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง จาก JCI สหรัฐอเมริกา (Traumatic Brain Injury Clinical Care Pathway) คือ การเข้าถึงการรักษาภาวะฉุกเฉินที่เป็นอันตรายถึงชีวิต การวินิจฉัยการบาดเจ็บอย่างรวดเร็วด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง การผ่าตัดโดยประสาทศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดสมองกรณีเร่งด่วนตลอด 24 ชั่วโมง มีการดูแลการติดตามอาการระบบประสาทในหออภิบาลผู้ป่วยสมอง และฟื้นฟูสภาพร่างกายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ นอกจากนี้เรายังเพิ่มช่องทางการดาวน์โหลดระบบแจ้งขอความช่วยเหลือฉุกเฉินในรูปแบบแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ “ BES i lert u” เป็นนวัตกรรมซอฟต์แวร์สำหรับแจ้งขอความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ คลิกปั๊บรับความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ทันที แต่อย่างไรก็ตาม การป้องกันอุบัติเหตุเริ่มที่ตัวผู้ใช้รถใช้ถนนเองเป็นสิ่งจำเป็นมาก ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับหรือนั่งรถยนต์ ควรสวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่หรือซ้อนรถจักรยานยนต์ ไม่ขับขี่รถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เมาไม่ขับ ง่วงไม่ขับ และตั้งสติทุกครั้งก่อนสตาร์ท นางสาวคณิดา เทียนเพ็ง อายุ 22 ปี ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เคยได้รับการผ่าตัดสมองจากอุบัติเหตุตกมอเตอร์ไซค์ แล้วศีรษะกระแทกพื้น ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าสมองบวม มีเลือดคั่งในสมอง ซึ่งตัดสินใจย้ายมรักาพยาบาลที่รพ. กรุงเทพ เพราะคำนึงถึงความพร้อมและทำอย่างไรให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด พอมาถึงแพทย์ได้เตรียมความพร้อมให้การรักษาทันที ใช้เวลาผ่าตัด 7 ชั่วโมง พักรักาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 1 เดือน ก็กลับไปกายภาพ ออกกำลังกาย และพยายามปฏิบัติตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด จนตอนนี้ผ่านไป 2 ปี สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ พูดได้ชัดเจน หลังจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ขอฝากข้อเตือนใจว่าทุกการขับขี่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ ดังนั้น เราควรู้จักป้องกันตนเอง อาทิ สวมหมวกกันน็อค เพื่อความความเสี่ยงและความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว และควรมีสติพร้อมรับมือในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในช่วง 7 วันระวังอันตรายนี้อาจเกิดอุบัติเหตุที่คุณเองคาดไม่ถึง ศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพพร้อมให้การดูแลอย่างเต็มที่ เพื่อความไว้วางใจ และความปลอดภัยของทุกชีวิต โรงพยาบาลกรุงเทพ Contact Center โทร 1719 หรือสายด่วน Bangkok Emergency Services โทร. 1724
แท็ก ครอบครัว  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ