หอการค้าไทยคาดเศรษฐกิจฟื้นตัวไตรมาส 2 ปีหน้า ชี้ราคาน้ำมันลดส่งผลดีต่อภาคธุรกิจ

ข่าวทั่วไป Friday December 19, 2014 11:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--หอการค้าไทย นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าจากการสอบถามผู้ประกอบการสมาชิกหอการค้าไทย ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี 2557 พบว่าในไตรมาสที่ 4 ยังคงมีทิศทางที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำเช่น ราคาข้าว หรือราคายางพารา เป็นต้น ส่งผลให้การบริโภคยังคงมีสัญญาณของการชะลอตัวลงเช่นเดียวกับการลงทุนของภาคเอกชน มีเพียงการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐเท่านั้น ที่ยังคงเป็นปัจจัยที่ยังสนับสนุนเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ดังนั้น ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะยังคงชะลอตัว และ คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะมีโอกาสขยายตัวได้ร้อยละ 0 - 1% สำหรับ สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของไทยปี 2558 คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากสมาชิกหอการค้าไทย เชื่อว่าการลงทุนของภาครัฐบาลจะมีเม็ดเงินลงทุนในพื้นที่ จำนวนมากประกอบกับนักท่องเที่ยวน่าจะมีแนวโน้มของการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นรวมทั้งสถานการณ์ การบริโภคของ ภาคเอกชนที่มีโอกาสขยายตัวจากการฟื้นตัวขึ้นของภาวะเศรษฐกิจปัญหาสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปี 2558 คือ ภาคเกษตร ที่ระดับราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่ยังคงมีระดับราคาทรงตัวอยู่ในระดับที่ต่ำ จากแนวโน้มสถานการณ์ความต้องการของโลกที่ชะลอตัวลง ประกอบกับผลผลิตของประเทศไทยที่มีจำนวนมากกว่าความต้องการ นอกจากนั้นแล้วทางสมาชิกหอการค้าไทยเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยน่าจะมีการฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปี 2558 มีโอกาสขยายตัวได้ 4 -5% โดยเฉลี่ยประมาณ 4.5%การส่งออกอาจมีอัตราการขยายตัวได้ 4 - 5% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการขยายตัวของการส่งออกในภูมิภาคอาเซียนเป็นสำคัญ นายอิสระ กล่าวถึงผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ว่าโครงสร้างการใช้น้ำมันของประเทศไทยโดยเฉลี่ย ประเทศไทยมีการใช้น้ำมันเบนซิน (รวมกับโซฮอลต่างๆ) ประมาณ 22 ล้านลิตรต่อวัน และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยประมาณ 55 ล้านลิตรต่อเดือน เมื่อพิจารณาระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง จะพบว่า ราคาน้ำมันสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยราคาแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 อยู่ที่ 41.53 และ 38.08 บาทต่อลิตร และในปัจจุบัน ณ เดือนธันวาคมราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 30.30 และ 28.29 บาทต่อลิตร ซึ่งหากพิจารณาแล้วจะเห็นว่าระดับราคาน้ำมันปรับตัวลดลงถึง 11 และ 9 บาท ส่วนทางด้านน้ำมันดีเซลนั้นพบว่า ปรับตัวลดลงจากระดับราคา 29.99 บาทต่อลิตร อยู่ที่ 26 บาทต่อลิตร โดยเป็นการปรับตัวลดลง 2 -3 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงในแต่ละช่วงจนถึงปัจจุบันนั้น ทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจประหยัดเงินได้ ประมาณเดือนละ 12,210 ล้านบาท (หรือปีละ 146,500 ล้านบาท) ซึ่งเชื่อว่าเมื่อประชาชนมีการประหยัดจากระดับราคาที่ปรับตัวลดลงย่อมที่จะส่งผลให้การบริโภคของประชาชนน่าจะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ และหากระดับราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับนี้ในปีหน้า จะช่วยกระตุ้นให้ GDP เพิ่มสูงขึ้นได้ประมาณ0.7 - 1%ประเมินเทียบกับช่วงที่มีระดับราคาน้ำมันสูงสุดในเดือนพฤษภาคม น้ำมัน จำนวนการใช้น้ำมันต่อวัน มูลค่าที่ลดลงทุก1 บาทจะประหยัดเงินได้ ราคาลดลง มูลค่ารวม (ตั้งแต่ พ.ค.57-ปัจจุบัน) จากราคาน้ำมันที่ลดลง แก๊สโซฮอล์ 22 ล้านลิตร 22 ล้านบาท 11 บาท 7,260 ล้านบาท ดีเซล 55 ล้านลิตร 55 ล้านบาท 3 บาท 4,950 ล้านบาท รวมมูลค่าเงินที่ประหยัดได้จากการลดราคาน้ำมัน 12,210 ล้านบาท ระดับราคาน้ำมันยังคงปรับตัวลดลง จะมีผลให้ต้นทุนของการผลิตและการขนส่งนั้นมีการปรับตัวลดลงได้ ซึ่งจะช่วยชะลอการปรับตัวของราคาสินค้าได้ โดยเบื้องต้นคาดว่าต้นทุนของภาคธุรกิจจะปรับตัวลดลงได้โดยเฉพาะต้นทุนโลจิสติกส์ที่ปัจจุบัน ปี 2556 มีมูลค่ารวม 1,764 พันล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 14.4 ของGDP โดยเป็นต้นทุนการขนส่งประมาณ 51.5% ดังนั้น หากสมมติว่าระดับราคาน้ำมันยังคงทรงตัวอยู่ในระดับนี้1 ปี จะทำให้ ต้นทุนโลจิสติกส์ ซึ่งคิดเฉพาะส่วนของน้ำมันดีเซลที่ลดลงเดือนละประมาณ 4,950 ล้านบาท หรือ59,600 ล้านบาทต่อปี ลดลงได้ประมาณ 3%-3.5%ของต้นทุนโลจิสติกส์ และจะส่งผลให้ GDP เพิ่มสูงขึ้นได้ประมาณ 0.5-0.8% การที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่ มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ในทางกลับกันจะส่งผลทำให้กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันมีรายได้ลดลง โดยประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอื่นๆที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมันในสัดส่วนที่สูง มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจ หรือเกิดผลกระทบกับสถาบันการเงินในประเทศนั้น ๆ และกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศอื่น ๆ ได้ อีกทั้งราคาน้ำมันที่ลดลงจะส่งผลกระทบต่อการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็น เอทานอล หรือไบโอดีเซล ซึ่งมีต้นทุนแพงเมื่อเทียบกับน้ำมัน ซึ่งจะทำให้แข่งขันยากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นโยบายการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีส่วนในการช่วยพยุงราคาสินค้าเกษตรได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง อ้อย หรือปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล และไบโอดีเซล รวมถึงเพื่อที่จะให้อุตสาหกรรมผลิตพลังงานทดแทนยังคงอยู่ได้ จนกว่าราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอีก ซึ่งระดับราคาน้ำมันที่ลดลงโดยสรุปแล้ว ราคาน้ำมันที่ลดลงน่าจะส่งผลดีกับเศรษฐกิจของประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ