ศศินทร์ย้ำหลังเปิด AEC สถาบันการศึกษาต้องสนับสนุนให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

ข่าวทั่วไป Monday December 22, 2014 10:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ ศศินทร์เผยการเตรียมพร้อมรับการเปิด AEC ย้ำสถาบันการศึกษาต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งเรื่องสังคม วัฒนธรรม และความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุน เพื่อให้รวมตัวกันได้อย่างยั่งยืนและปลอดภัย และเมื่อเร็วๆนี้ได้เปิดตัวหลักสูตรสองปริญญาใหม่ Sasin Chula Engineering Dual Master’s Degree Program โดยร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับนิสิต นักศึกษา เรียนต่อโท MBA ควบ วิศวะ เพิ่มความรู้รอบด้านรองรับความต้องการตลาด พร้อมให้ทุนการศึกษา ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin) เปิดเผยถึงโครงการเปิดหลักสูตรสองปริญญาใหม่ที่ร่วมกัน ระหว่างศศินทร์กับบางคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า หลังจากนี้จะมีแนวโน้มการเปิดตัวหลักสูตรสองปริญญาใหม่ ในสาขาอื่นๆอีก ทั้งนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นของการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ในฐานะสถาบันการศึกษาจะต้องให้ความสำคัญกับ 3A คือ 1. ASEAN Political-Security Community (APSC) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นเป้าหมายในการวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียนสู่สังคมที่ประเทศสมาชิกมีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน มีเสถียรภาพ มีสันติภาพ และมีความปลอดภัยมากขึ้นในชีวิตและทรัพย์สิน อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยนำความร่วมมือและความตกลงของอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคงที่ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็นรูปธรรมและมีแบบแผนมากยิ่งขึ้น ด้วยกลไกและเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาและข้อขัดแย้งที่เกี่ยวกับความมั่นคงในภูมิภาค ทั้งระหว่างรัฐสมาชิกกับรัฐสมาชิกด้วยกันเอง จะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี และปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศหนึ่งๆไม่อาจแก้ไขได้โดยลำพังอย่างมีประสิทธิภาพ 2.ASEAN Economic Community (AEC)ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียนเป็นเป้าหมายในการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยมุ่งเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก และบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์ 3. ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC)ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน มีเป้าหมายหลักในการอำนวยให้ประชาคมอาเซียน มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีสังคมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เอื้ออาอร แบ่งปัน มีความเป็นอยู่ที่ดี มีพัฒนาการในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ วัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญมากในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านอาหาร จุฬาฯ จะมีงานวิจัยและพัฒนาในเรื่องอาหารฮาลาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม 4 จังหวัดภาคใต้ของไทย รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านทั้ง มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซีย จึงต้องศึกษาเรื่องที่มีความสอดคล้องกันระหว่างการตลาด วัฒนธรรม รวมทั้งเรื่องสุขภาพ เพราะการตลาดยุดใหม่ต้องเน้นเรื่อง Culture Touch ต้องนำวัฒนธรรมของท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนประกอบด้วย ไม่ควรมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องกำไรและขาดทุนแต่อย่างเดียว การรวมตัวกันจะต้องอยู่ภายใต้ความปลอดภัย และความยั่งยืนด้านต่าง ๆ คือเสาหลักของ ASEAN Community เนื่องจากทั้ง 3A เป็นโครงสร้างที่สำคัญการอยู่ร่วมกันในสังคมอาเซียน ศศินทร์จะเน้นการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในภูมิภาค ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ศศินทร์ยังเน้นการทำวิจัยร่วมกับจุฬาฯ เช่น การเชื่อมโยงงานวิจัยด้านบริหารธุรกิจกับงานวิจัยด้านประชากรศาสตร์ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านแรงงาน ด้านผู้สูงอายุ ที่หลายหน่วยงานของจุฬาฯ ดำเนินการอยู่ เนื่องจากประชากรในอาเซียนกว่า 600 ล้านคน อยู่ในวัยแรงงานประมาณ 60% ในขณะที่ยุโรปเริ่มเป็นสังคมผู้สูงอายุ เพราะมีประชากรกลุ่มนี้เกือบ 30% หากนักลงทุนในประเทศดังกล่าวเข้ามาเปิดตลาดในอาเซียน ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ที่สำคัญจะต้องจ้างแรงงานที่จบการศึกษาในภูมิภาคนี้ ศศินทร์จึงให้ความสำคัญกับงานวิจัยด้านทรัพยากรมนุษย์เพิ่มเติมขึ้น โดยจะนำความรู้ด้านการบริหารจัดการ การตลาด และด้านการเงินเข้าไปร่วมในการวิจัย ซึ่งจะทำให้งานวิจัยมีแง่มุม ต่าง ๆ และเกิดประโยชน์มากขึ้น ทั้งนี้ได้จัดเพิ่มการสอนวิชาประชากรศาสาตร์เชิงธุรกิจเป็นวิชาเลือกเพิ่มเติมอีกหนึ่งวิชา สำหรับความร่วมมือการวิจัยด้านอื่นๆกับจุฬาฯ ก็จะเป็นความร่วมมือกับศูนย์บริการวิชาการของจุฬาฯ ที่น่าสนใจมากคืองานวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุ งานวิจัยด้านอาหารและน้ำ ด้านการแพทย์ ด้านพลังงานทางเลือก ด้านวัสดุศาสตร์ เป็นต้น งานวิจัยเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ ในขณะเดียวกันศศินทร์ได้นำศาสตร์ทางด้านการตลาดและการเงินเข้าไปเชื่อมโยงกับงานวิจัยเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่นำงานวิจัยไปใช้ต่อยอดการทำธุรกิจได้ทันที
แท็ก engineer   SAS  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ