แพทย์เตือนระวังภัย...ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ข่าวทั่วไป Monday December 22, 2014 13:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น แพทย์เตือนระวังภัย...ไข้หวัดใหญ่ระบาด โดย นพ.ไพศาล เตชะวลีกุล อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ ช่วงนี้เมืองไทยกำลังต้อนรับฤดูหนาวอย่างเต็มตัว อากาศที่แปรปรวนอาจเป็นสาเหตุทำให้หลายคนมีความเสี่ยงต้องเผชิญกับ “โรคไข้หวัดใหญ่”ระบาด ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลนั้นไม่สามารถคาดการณ์ได้ถึงการระบาดของเชื้อ เนื่องจากมีการระบาดเป็นประจำอยู่แล้วทุกปี ซึ่งช่วงเวลาของการระบาด ความรุนแรง และระยะเวลาในการระบาดของเชื้อ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละปี โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือวัยรุ่นตอนปลายถึงวัยผู้ใหญ่ เพื่อรณรงค์ให้คนหันมาตื่นตัวในการดูแลสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพ มีวิธีรับมือและป้องกันตัวเองและคนที่เรารักให้พ้นจากโรคไข้หวัดใหญ่มาฝากกัน นพ.ไพศาล เตชะวลีกุล อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า “ไวรัสไข้หวัดใหญ่” นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอมาตลอดดังนั้นมันจึงไม่ปกติสำหรับที่จะมีไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ปรากฎขึ้นในแต่ละปี โดยจะมีช่วงเวลาของการระบาดนั้นสามารถคาดการณ์ได้ยากและมีความแตกต่างกันในแต่ละฤดู ซึ่งในประเทศไทยจะมีการระบาดอยู่ 2 ช่วงเวลาคือช่วงฤดูฝน (มิถุนายนถึงตุลาคม) และฤดูหนาว ( มกราคมถึงมีนาคม) ซึ่งช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่สามารถเกิดก่อนเดือนดังกล่าวได้และสามารถพบได้ทั้งปี อาการทั่วไปของผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ไอแห้ง เจ็บคอ และมีน้ำมูก ไอมีเสมหะ หายใจเหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย และมีไข้สูงตลอดเวลา อาการเหล่านี้เป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่าไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา ทั้งหมดนี้เป็นอาการนำของโรคไข้หวัดใหญ่ บางรายอาจพบอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ วิธีการรักษาไข้หวัดใหญ่ที่ได้ผล คนไข้ควรได้รับยาต้านไวรัส ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากมีอาการไข้ ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรค นอกเหนือจากนั้นจะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ทานยาแก้ไข้ ยาแก้ไอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น โดยระดับความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน ซึ่งคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนคนที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต เบาหวาน และมะเร็ง กลุ่มนี้หากพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ influenza จะมีความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดพบอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ และอาการติดเชื้อในหูชั้นในตามมาได้ สำหรับการเตรียมตัวรับมือไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลนี้ สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา ( Center of Diseases Control and Prevention; CDC) ได้ให้คำแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปีสำหรับคนที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นสิ่งแรกและขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ อย่างไรก็ตามมีไวรัสไข้หวัดใหญ่มากมายหลายสายพันธุ์ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ถูกสร้างมากเพื่อป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์หลักที่ได้วิจัยว่าจะเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในฤดูกาลนั้นๆ ดังนั้นการได้รับวัคซีนสม่ำเสมอในแต่ละปีก็จะเป็นแนวทางที่ดีที่จะป้องกันเราจากการติดโรคและทำให้เราสามารถผ่านการระบาดของไข้หวัดใหญ่ไปได้ “โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เพราะในแต่ละปีเชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลง และพบการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดเชื้อตัวใหม่ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในแต่ละปีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเชื้อที่ระบาดในช่วงเวลานั้น โดยหลักแล้วจะครอบคลุมสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ที่พบ” โดยสามารถรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยเราสามารถรับวัคซีนได้ใน สถานพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาล และคลินิกเอกชนได้ สำหรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฤดูกาล 2014-2015 ชนิดไวรัส 3 ชนิดประกอบด้วย 1) A/California/7/2009(H1N1)pdm09-like virus 2) A(H3N2) virus antigenically like the cell-propagated prototype virus A/Victoria/361/2012 3) B/Massachusatts/2/2012-like virus สำหรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฤดูกาล 2014-2015 ชนิดไวรัส 4 ชนิดจะประกอบด้วยไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามข้างต้นและชนิด B อีก1 สายพันธุ์ ซึ่งอีกสายพันธุ์ได้แก่ B/Brisbane/60/2008-like virus ซึ่งประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 อย่างก็คือ สุขภาพและอายุของผู้ที่ได้รับวัคซีน ตลอดจนความเหมาะสมกันระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันโรคที่ระบาดอยู่ในชุมชน ถ้าสายพันธุ์ของไวรัสที่ระบาดอยู่กับสายพันธุ์ที่วัคซีนนั้นออกแบบมาตรงกันก็จะส่งผลให้การป้องกันมีประสิทธิภาพสูง ในขณะที่ถ้าไม่ตรงกันพอดีก็จะทำให้วัคซีนนั้นไม่มีประสิทธิภาพที่ดี โดยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลได้รับการออกแบบให้ป้องกันการติดเชื้อและการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ที่ได้รับการวิจัยว่าน่าจะเป็นพบบ่อยของฤดูกาลนี้ และวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันไวรัสชนิดอื่นได้ และไม่สามารถป้องกันไวรัสที่ทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ได้ มีการศึกษาวิจัยหลายฉบับพบว่ามีความแตกต่างระหว่างฤดูกาลและการได้รับชนิดของวัคซีนและชนิดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการลดลงตลอดเวลา ซึ่งการลดลงของระดับภูมิคุ้มกันเป็นผลมาการหลายเหตุปัจจัยเช่น ชนิดของแอนติเจนที่ใช้ในวัคซีน อายุของผู้ได้รับวัคซีน และสุขภาพอนามัยของผู้ที่ได้รับวัคซีน ดังนั้นในคนที่สุขภาพดีส่วนใหญ่ที่มีระบบภูมคุ้มกันปกติเมื่อได้รับวัคซีนร่างกายก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันและปกป้องร่างกายต่อการระบาดของไวรัสในฤดูนั้นได้แม้ว่าระดับของภูมิคุ้มกันจะลดลงตลอดเวลาก็ตาม ซึ่งในผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีก็อาจจะสร้างระดับภูมิคุ้มกันได้ไม่มากเท่า หรือระดับภูมิคุ้มกันอาจจะลดลงไวกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันปกติหลังได้รับวัคซีน สำหรับทุกคน การได้รับวัคซีนประจำทุกปีก็จะทำให้มีการป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ดีและผ่านพ้นฤดูระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ไปได้ เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่สม่ำเสมอ ( drift) ซึ่งไวรัสนั้นสามารถมีการเปลี่ยนแปลงภายในฤดูกาลนี้หรือในฤดูกาลหน้าได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญก็จะคัดเลือกเชื้อที่มีการสุ่มตรวจตามที่ต่างๆ ในโลกเพื่อที่จะนำมาสร้างวัคซีนและส่งออกมาให้ตรงกับฤดูกาล ในฤดูระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้มีการสุ่มตรวจตัวอย่างไวรัสที่มีการหมุนเวียนอยู่ระหว่างฤดูกาล เพื่อนำมาดูความเหมาะสมกันระหว่างไวรัสในวัคซีนกับไวรัสที่หมุนเวียนอยู่เพื่อนำมาผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ตามโรคไข้หวัดใหญ่นั้นสามารถรักษาได้ ระหว่างที่ป่วยแพทย์จะมีการให้ยาต้านไวรัสที่จะช่วยลดอาการให้น้อยลงและทำให้หายจากการป่วยได้ไวขึ้น และยังสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบได้ แม้วัคซีนจะไม่สามารถป้องกันโรคหวัดได้ 100% ในกรณีที่ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใกล้เคียง แต่จะช่วยบรรเทาอาการของโรคไม่ให้เป็นอันตรายถึงชีวิต หรือช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นตามมาได้ แต่วิธีการง่ายๆ ในการดูแลตัวเองให้พ้นภัยจากโรคไข้หวัดใหญ่ คือ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเช่น ผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอ ซี อี และสมุนไพรต่างๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ และไม่ควรตากฝน หากเปียกฝนก็ควรรีบอาบน้ำสระผมพร้อมกับเช็ดตัวให้แห้ง ดื่มน้ำอุ่นเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมงขึ้นไป ควรหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยเป็นไข้หวัดหรือเริ่มมีอาการไข้หวัด โดยเฉพาะห้องที่อากาศไม่ถ่ายเท หรือใครอยู่ในห้องแอร์สวมเสื้อผ้าที่ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นเพื่อให้ร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรค ควรล้างมือสม่ำเสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้อีกทางหนึ่ง ปานฤทัย คงยิ้มละมัย (ปิงปอง) /พัชรินทร์ อร่ามวารีกุล (ใหม่) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลกรุงเทพ โดย บริษัท แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 02-732-6069-70

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ