ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตธนาคารขนาดกลาง และปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารธนชาต เป็น‘แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ’

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday February 4, 2015 12:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ก.พ.--ฟิทช์ เรทติ้งส์ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง ได้แก่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TBANK นอกจากนี้ฟิทช์ยังประกาศคงอันดับเครดิตของ บริษัททุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ TBANK และปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign Currency Issuer Default Rating) และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของ TBANK เป็น ‘แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ’จาก ‘แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ’ พร้อมกันฟิทช์นี้ได้ประกาศยกเลิกอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating) อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (Support Rating Floor) และอันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) ของ TBANK และยกเลิกอันดับเครดิตสนับสนุน และอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ TCAP เนื่องจากอันดับเครดิตดังกล่าวไม่ได้มีนัยเพียงพอในการติดตามทำการวิเคราะห์อีกต่อไป สำหรับรายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดแสดงไว้ในส่วนท้าย ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต - อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน อันดับความเข็งแกร่งทางการเงินของ BAY TBANK และ TMB สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจในประเทศที่เหมาะสมในฐานะที่เป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางในประเทศไทย โดยธนาคารเหล่านี้ถือเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 6 และ 7 ตามลำดับ และต่างมีส่วนแบ่งทางการตลาดของเงินฝากที่สูงกว่า 5% สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่ยังคงอ่อนแอเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่ออันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน ในขณะที่ยังมิได้มีสัญญาณที่ชัดเจนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งและสินเชื่อภาคเอกชนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ปัจจัยภายนอกเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารทั้ง 3 แห่ง การควบรวมกิจการกันระหว่าง BAY และ Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ, Ltd. (BTMU, อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ ‘A’ / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) สาขากรุงเทพฯ ในเดือนมกราคม 2558 น่าจะส่งผลให้สินเชื่อของ BAY มีการกระจายตัวที่ดีขึ้นและน่าจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจของธนาคารสำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ ฟิทช์เชื่อว่าระดับเงินกองทุนของ BAY น่าจะอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการเติบโตของธุรกิจ ความแข็งแกร่งทางการเงินโดยรวมของ TBANK ยังคงอยู่ในระดับที่น่าพอใจและสอดคล้องกับธนาคารอื่นในภูมิภาคที่มีอันดับเครดิตคล้ายกัน แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของธนาคารได้ปรับตัวอ่อนแอลง นอกจากนี้ TBANK ยังได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนในการดำเนินงานปกติ (ordinary support) จาก Bank of Nova Scotia (BNS: AA- / Stable) ซึ่งถือหุ้นในธนาคารที่ 49% โดยการให้การสนับสนุนในการดำเนินงานตามปกตินั้นรวมถึงการสนับสนุนในด้านการบริหารและการดำเนินงาน รวมทั้งวงเงินสินเชื่อ (ชนิดที่ผู้ให้กู้สามารถยกเลิกได้ (uncommitted credit facility)) ที่ให้กับ TBANK อันดับเครดิตของ TMB ได้รับการสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของผลการดำเนินงานของธนาคาร กำไรสุทธิของ TMB ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2557 ในขณะที่สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวลดลงและอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวขึ้นไปอยู่ในกลุ่มที่สูงสุดในอุตสาหกรรม ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน อันดับความเข็งแกร่งทางการเงินของ BAY อาจถูกปรับลดอันดับจากการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของระดับเงินกองทุนหรือระดับเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญ (loan loss reserve) ในขณะเดียวกันอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากการควบรวมกิจการกับ BTMU ส่งผลให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นในด้านอัตรากำไรและอัตราส่วนเงินกองทุน อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าการควบรวมกิจการจะต้องเผชิญกับมีความท้าทายอย่างมากในด้านการปฏิบัติการและการดำเนินงานของแผน ผลประกอบการที่อยู่ในเกณฑ์ดีของ TBANK ในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการปรับตัวดีขึ้นของฐานะเงินกองทุนและคุณภาพของสินทรัพย์ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการถูกปรับลดอันดับเครดิตของธนาคารลงและส่งผลให้มีการปรับแนวโน้มอันดับเครดิต แต่อย่างไรก็ตาม อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารอาจต้องเผชิญกับแรงกดดันหากคุณภาพสินทรัพย์ อัตราส่วนหนี้สิน และสภาพคล่องที่ปรับตัวดีขึ้นบ้างแล้ว กลับมาปรับตัวแย่ลงอีกครั้ง สัญญาณที่บ่งชี้ว่าการสนับสนุนในการดำเนินงานตามปรกติที่ BNS มีให้กับ TBANK ได้มีการปรับตัวลดลงอาจจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออันดับเครดิต อันดับความเข็งแกร่งทางการเงินของ TMB อาจถูกปรับลดอันดับหากผลประกอบการของธนาคารปรับตัวแย่ลงอย่างมากเนื่องจากผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอหรือจากการที่ธนาคารเพิ่มระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ในขณะเดียวกันหากธนาคารสามารถรักษาผลการดำเนินงานให้อยู่ในระดับนี้ได้อย่างต่อเนื่องหรือดีขึ้น ประกอบกับการปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นอย่างชัดเจนของเครือข่ายทางธุรกิจในประเทศ ปัจจัยดังกล่าวน่าจะส่งผลดีต่ออันดับเครดิต ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต- อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ของ BAY สะท้อนถึงความเป็นไปได้อย่างสูงที่ BAY จะได้รับการสนับสนุนจาก BTMU ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นใน BAY ที่ 76.9% ฟิทช์มองว่า BAY มีบทบาทที่สำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อ BTMU และเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินกลยุทธ์ของกลุ่มในภูมิภาค อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ TBANK และ TMB พิจารณาจากอันดับความเข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารเอง การปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของ TBANK เป็น ‘แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ’ จาก ‘แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ’ สะท้อนความคาดหมายของฟิทช์ที่คาดว่า TBANK จะสามารถผ่านพ้นสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอไปได้ ซึ่งเห็นได้จากผลประกอบการที่ผ่านมาในปี 2557 ฟิทช์ยังเชื่อว่าอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และอัตราเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารที่ได้ปรับตัวดีขึ้น น่าจะสามารถช่วยรองรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง อันดับเครดิตภายในประเทศของ TCAP ถูกปรับลดลงมาจากอันดับเครดิตของ TBANK ซึ่งเป็นบริษัทลูกหลักในเครือ เพื่อสะท้อนถึงการที่กลุ่ม TCAP ต้องพึ่งพารายได้จากเงินปันผลจาก TBANK และการที่ TBANK มีสัดส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (minority interest) ในระดับสูง ในขณะเดียวกันแนวโน้มอันดับเครดิตของ TCAP นั้นสอดคล้องกับแนวโน้มอันดับเครดิตของ TBANK ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต - อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ BAY อยู่ในระดับเดียวกับเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย (Country Ceiling) ในขณะที่อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ BAY ก็อยู่ในระดับที่สูงสุดแล้วสำหรับอันดับเครดิตภายในประเทศ อันดับเครดิตของ BAY อาจได้รับผลกระทบในเชิงลบหากแนวโน้มที่ BTMU จะให้การสนับสนุนแก่ BAY มีการปรับตัวลดลง ซึ่งอาจแสดงได้จากการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้นใน BAY อย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้นี้ นอกจากนี้การปรับลดอันดับเครดิตของ BTMU น่าจะส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออันดับเครดิตของ BAY สำหรับ TBANK และ TMB อันดับเครดิตสากลและอันดับเครดิตภายในประเทศ อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร การเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตภายในประเทศของ TBANK น่าจะส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออันดับเครดิตของ TCAP ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต - อันดับเครดิตสนับสนุน และอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ TBANK และ TMB สะท้อนถึงความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินในประเทศของธนาคาร โดยมีความเป็นไปได้ในระดับหนึ่งที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยหากมีความจำเป็น แม้ว่าความเป็นไปได้ที่จะได้รับการสนับสนุนนั้นอาจน้อยกว่า ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งในประเทศไทย อันดับเครดิตสนับสนุนของ BAY พิจารณาจากการสนับสนุนของผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบัน ซึ่งสะท้อนมุมมองของฟิทช์ว่า BAY มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อ BTMU ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต - อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของส่วนแบ่งทางการตลาดของ TBANK และ TMB อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของธนาคาร อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นถึงระยะปานกลาง การลดระดับความสำคัญของ BAY ต่อกลุ่ม BTMU อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอันดับเครดิตสนับสนุนแม้ว่ากลุ่ม BTMU ได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน BAY เมื่อไม่นานมานี้ แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต - อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (ตามเกณฑ์บาเซล 2) ของ BAY ที่ ‘AA+(tha)’ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AAA(tha)’ อยู่หนึ่งอันดับซึ่งสะท้อนถึงความด้อยสิทธิในโครงสร้างเงินทุน อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (ตามเกณฑ์บาเซล 3) ของ TMB ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารอยู่หนึ่งอันดับเพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss severity risk) ที่มากกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิเนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวมีสถานะด้อยสิทธิ ข้อกำหนดสิทธิที่สำคัญของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวคือเรื่องการรองรับผลขาดทุนในลักษณะการตัดเป็นหนี้สูญบางส่วนได้ (partial write-down) โดยไม่ได้มีการบังคับตัดหนี้สูญทั้งจำนวน (mandatory full write-down) และไม่มีคุณสมบัติที่สามารถรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินงาน (going-concern) ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต - อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ BAY จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตในภายในประเทศซึ่งเป็นอันดับเครดิตที่สะท้อนถึงการสนับสนุนจากธนาคารแม่ อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ TMB จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสถานะทางการเงินโดยรวมของธนาคาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศ รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมด มีดังนี้ BAY - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับเครดิตที่ ‘A-’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับเครดิตที่ ‘F2’ - อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับเครดิตที่ ‘bbb’ - อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับเครดิตที่ ‘1’ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับเครดิตที่ ‘AAA(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับเครดิตที่ ‘F1+(tha)’ - อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน คงอันดับเครดิตที่ ‘AAA(tha)’ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน คงอันดับเครดิตที่ ‘F1+(tha)’ - อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน (ตามเกณฑ์บาเซล 2) คงอันดับเครดิตที่ ‘AA+(tha)’ TMB - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘BBB-’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F3’ - อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ของโครงการหุ้นกู้ EMTN มูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คงอันดับที่ ‘BBB-’ - อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb-’ - อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘3’ - อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ คงอันดับที่ ‘BB+’ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘A+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1(tha)’ - อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘A(tha)’ TBANK - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับเครดิตที่ ‘BBB-’ / ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นมีเสถียรภาพ จาก แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ และยกเลิกอันดับเครดิต - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับเครดิตที่ ‘F3’ และยกเลิกอันดับเครดิต - อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับเครดิตที่ ‘bbb-’ และยกเลิกอันดับเครดิต - อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับเครดิตที่ ‘3’ และยกเลิกอันดับเครดิต - อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ คงอันดับเครดิตที่ ‘BB+’ และยกเลิกอันดับเครดิต - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับเครดิตที่ ‘A+(tha)’ / ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นมีเสถียรภาพจากแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับเครดิตที่ ‘F1+(tha)’ TCAP - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับเครดิตที่ ‘A(tha)’ / ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นมีเสถียรภาพจากแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับเครดิตที่ ‘F1(tha)’ - อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับเครดิตที่ ‘5’ และยกเลิกอันดับเครดิต - อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ คงอันดับเครดิตที่ ‘No Floor’ และยกเลิกอันดับเครดิต ติดต่อ Primary Analysts Ambreesh Srivastava (อันดับเครดิตสากลของ BAY, TMB และ TBANK) Senior Director +65 6796 7218 Fitch Ratings Singapore PTE Ltd 6 Temasek Boulevard #35-05 Suntec Tower Four Singapore 038986 พาสันติ์ สิงหะ, CFA (อันดับเครดิตภายในประเทศของ BAY) Senior Director +662 108 0151 บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารปาร์คเวนเชอร์ ชั้น 17 57 ถนน วิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 จินดารัตน์ เล้าทวีรุ่งสวัสดิ์ (อันดับเครดิตภายในประเทศของ TBANK และ TCAP) Associate Director +662 108 0153 บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารปาร์คเวนเชอร์ ชั้น 17 57 ถนน วิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ตฤณ ศิริวุฒิเศรษฐ (อันดับเครดิตภายในประเทศของ TMB) Associate Director +662 108 0154 บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารปาร์คเวนเชอร์ ชั้น 17 57 ถนน วิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 Secondary Analysts: พาสันติ์ สิงหะ, CFA (อันดับเครดิตสากลของ BAY และอันดับเครดิตภายในประเทศของ TMB) Senior Director +662 108 0151 ตฤณ ศิริวุฒิเศรษฐ (อันดับเครดิตสากลของ TMB) Associate Director +662 108 0154 จินดารัตน์ เล้าทวีรุ่งสวัสดิ์ (อันดับเครดิตสากลของ TBANK และอันดับเครดิตภายในประเทศของ BAY) Associate Director +662 108 0153 พชร ศรายุทธ (อันดับเครดิตภายในประเทศของ TBANK และ TCAP) Director +662 108 0152 Committee Chairperson Mark Young Managing Director +65 6796 7229 หมายเหตุ : การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) เป็นการวัดระดับความน่าเชื่อถือในเชิงเปรียบเทียบกันระหว่างองค์กรในประเทศนั้นๆ โดยจะใช้ในประเทศที่อันดับเครดิตแบบสากลของรัฐบาลในประเทศนั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำและเมื่อมีความต้องการใช้อันดับเครดิตภายในประเทศ อันดับเครดิตขององค์กรที่ดีที่สุดของประเทศได้จัดไว้ที่ระดับ ‘AAA’ และการจัดอันดับเครดิตอื่นในประเทศ จะเป็นการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับองค์กรที่ดีที่สุดนี้เท่านั้น อันดับเครดิตภายในประเทศได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในตลาดในประเทศเป็นหลักและจะมีสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ต่อท้ายจากอันดับเครดิตสำหรับประเทศนั้นๆ เช่น ‘AAA(tha)’ ในกรณีของประเทศไทย ดังนั้นอันดับเครดิตภายในประเทศจึงไม่สามารถใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศได้ ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com ในการจัดอันดับเครดิตของบริษัทฯ นี้ ฟิทช์ได้ใช้หลักเกณฑ์ตาม “Global Financial Institution Criteria” ลงวันที่ 31 มกราคม 2557, Assessing and Rating Bank Subordinated and Hybrid Securities Criteria ลงวันที่ 31 มกราคม 2557, Rating FI Subsidiaries and Holding Companies ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2555 และ “National Scale Ratings Criteria” ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2556 หลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตหาได้ที่ www.fitchratings.com ข้อมูลเปิดเผยเพิ่มเติม Solicitation Status การใช้อันดับเครดิตที่จัดทำโดยฟิทช์เรทติ้งส์มีข้อจำกัดและขอบเขตการใช้ ซึ่งข้อจำกัดและขอบเขตของการใช้อันดับเครดิตดังกล่าวสามารถหาได้จาก HTTP://FITCHRATINGS.COM/UNDERSTANDINGCREDITRATINGS นอกจากนี้คำจำกัดความของอันดับเครดิตและการใช้อันดับเครดิตของ ฟิทช์ เรทติ้งส์ สามารถหาได้จาก www.fitchratings.com อันดับเครดิตที่ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดอันดับเครดิต ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวตลอดเวลา หลักจรรยาบรรณ การรักษาข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือ กฎข้อบังคับรวมทั้งนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆของฟิทช์ ได้แสดงไว้ในส่วน ‘หลักจรรยาบรรณ’ ในเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกัน ฟิทช์อาจจะมีการให้บริการจัดอันดับอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้แก่บริษัทที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตอยู่หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตอยู่ ซึ่งรายละเอียดสำหรับการให้บริการจัดอันดับอื่น ๆ ดังกล่าวโดยนักวิเคราะห์หลัก (Lead Analyst) ที่อยู่ในหน่วยงานของฟิทช์ที่จดทะเบียนในสหภาพยุโรป ได้แสดงไว้ที่หน้าแรกของบริษัทนั้น ๆ ในเว็ปไซต์ของฟิทช์ เรทติ้งส์ www.fitchratings.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ