ฮวงจุ้ยเด่นรับปีแพะ ทำเลทองใจกลางเมืองใกล้วัด

ข่าวบันเทิง Wednesday February 18, 2015 14:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ก.พ.--สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ อ.มาศ เคหาสน์ธรรม ซินแสฮวงจุ้ยชื่อดัง ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ ฮวงจุ้ยของสถานที่ตั้งอาคารบ้านเรือน ที่อยู่ใกล้เคียงหรือรอบๆวัด ที่มักมีความเชื่อกันในอดีตว่าไม่ดีเสียใหม่ว่า ความเป็นจริงแล้วหลักการดังกล่าว อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เนื่องจากหากนำศาสตร์ของฮวงจุ้ยมาพิจารณาจะพบว่าวัดสามารถตั้งอยู่ในจุดที่ดี และส่งเสริมผู้พักอาศัยใกล้เคียงให้เจริญรุ่งเรื่องในด้านต่าง ๆ ได้เช่นกัน หากลองพิเคราะห์ดูจะพบว่า วัดหลายแห่งก็ตั้งอยู่ในย่านเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร “ ผมขอยกตัวอย่าง วัดหัวลำโพง ถนนพระรามสี่ ซึ่งเป็นวัดที่ถูกโอบ ล้อมรอบด้วยอาคารสูงมากมายอย่างเช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม โครงการคอนโดมิเนียม อาคารจัตุรัสจามจุรี และตึกแถวต่างๆ ทำให้ทำเลพื้นที่มองดูเป็นแอ่งเหมือน “บ่อทองคำ” อีกทั้งตัววัดเองนั้นก็มีพลังหยาง ไม่ใช่พลังหยิน จึงทำให้มีประชาชนผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส หลั่งไหลเข้ามาสักการบูชาเป็นจำนวนมาก อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ” ตามประวัติของวัดหัวลำโพงนั้น สร้างขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ชื่อว่าวัดวัวลำพอง ตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ในฤดูกาลทอดกฐิน จากหลักฐานและคำบอกเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐิน ที่วัดวัวลำพอง และได้โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ โดยพระราชทานนามว่า “วัดหัวลำโพง” ต่อมาวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ วัดหัวลำโพงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี อ.มาศ กล่าวเสริมว่า “ จากการที่วัดหัวลำโพงถูกจัดเป็นพระอารามหลวง มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน รวมถึงได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงส่งผลให้วัดมีความรุ่งเรือง มีชื่อเสียง และมีแต่สิ่งที่ดีเกิดขึ้นมากมาย อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆโดยรอบก็พลอยได้รับพลังที่ดีจากวัดไปด้วย ” จากฮวงจุ้ยที่ดินเด่นดังกล่าว ทำให้ผู้ต้องการที่พักอาศัย นักลงทุน และผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายราย มองเห็นศักยภาพโดยรอบวัดหัวลำโพง บวกกับแรงเสริมจากโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ย่อมจะทำให้ที่ดินบริเวณแห่งนี้กลายเป็นย่านธุรกิจ ทำเลทอง หรือ CBD: Central Business District ของกรุงเทพฯ ในอนาคต เหมือนบริเวณ สยามสแควร์ ราชประสงค์ สีลม ได้อย่างแน่นอน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ