สมศ. สะท้อนเสียงครูไทย ชี้การประเมินแบบสมัครใจการศึกษาไทยอาจลงคลอง

ข่าวทั่วไป Thursday February 26, 2015 11:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.พ.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เผยข้อมูลแนวทางการประเมินรอบ 4 จากมุมมองมองอาจารย์ โดยพบว่า สถานการณ์ที่แท้จริงของการศึกษานั้น ครู โรงเรียน มีอยู่ทั่วประเทศ แต่ละคนแต่ละโรงเรียนมีบริบทและปัญหาที่ต่างกัน ทุกโรงเรียนควรได้รับการตรวจสอบและได้รับการชี้แนะอย่างใกล้ชิด และสะท้อนสถานการณ์จริงของโรงเรียนนั้นๆ เพื่อที่จะได้รับการแก้อย่างตรงจุด เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำในการพัฒนาจัดการศึกษาตามบริบทของโรงเรียนนั้นๆ ทั้งนี้มุมมองดังกล่าวได้มาจาก กิจกรรมการประชุมระดมความคิด “ประเมินแบบอาสาสมัคร ทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด” ที่จัดไปเมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ โดยมีคณาจารย์ทุกประเภทการศึกษาเข้าร่วมจำนวนมาก สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th อาจารย์วิชิต สิทธิแต้สกุล ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านบะไห จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า สถานการณ์ที่แท้จริงของการศึกษานั้น ครู โรงเรียน มีอยู่ทั่วประเทศ แต่ละคนแต่ละโรงเรียนมีบริบทและปัญหาที่ต่างกัน ทั้งนี้การประเมินการศึกษาของประเทศนั้นมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ทุกโรงเรียนควรได้รับการตรวจสอบและได้รับการชี้แนะอย่างใกล้ชิด และสะท้อนสถานการณ์จริงของโรงเรียนนั้นๆ เพื่อที่จะได้รับการแก้อย่างตรงจุด อย่างไรก็ตาม รูปแบบการประเมินแบบอาสาสมัครหรือการประเมินแบบสุ่ม อาจยังไม่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย โดยสำหรับโรงเรียนตนเองมีการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องจากการพิจารณาข้อผิดพลาด และข้อชี้แนะที่ได้จากหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานประเมินการศึกษาของประเทศ โดยที่ผ่านมาผลการประเมินรอบที่ 1 ได้รับข้อชี้แนะจึงนำมาพัฒนาในรอบที่ 2 และ 3 อย่างไรก็ตามการประเมินและการพัฒนาดังกล่าว เป็นการกระตุ้นบุคลากรครู ผู้บริหารให้มีภาวะตื่นตัวในการจัดการเรียนการสอนตลอดเวลาซึ่งจะส่งผลต่อเยาวชนไทยในอนาคต นางภรณ์ชภัสร์ โสตถยาคม ครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กล่าวว่า ระบบการศึกษาของประเทศไทยที่ผ่านมา โรงเรียนต่างๆ ได้รับการประเมินทั้งจากหน่วยภายในและหน่วยงานภายนอกโดยสำหรับการประเมินจากภายนอกแต่ละโรงเรียน จะได้รับคำแนะนำในการพัฒนาจัดการศึกษาตามบริบทของโรงเรียนนั้น ทั้งนี้สถานศึกษาผ่านการประเมินมา 3 รอบแล้ว พบว่าบางโรงเรียนมีการนำผลกระประเมินไปใช้จริง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้สะท้อนได้จากผลการเรียนของนักเรียน ระบบการสอนของอาจารย์ ระบบการบริหารของโรงเรียน ฯลฯ ทั้งนี้ สำหรับการประเมินแบบอาสาสมัครหรือแบบสุ่ม สามารถทำได้แต่คงต้องแก้กฎหมายข้อกำหนดที่ทุกโรงเรียนในประเทศไทยได้รับการประเมิน อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญอยู่ที่โรงเรียนที่ได้รับการสุ่มหรืออาสาสมัครนั้น สามารถสะท้อนข้อเท็จจริงได้หรือไม่ อาทิ - โรงเรียนสวนกุหลาบพร้อมรับการประเมิน แต่โรงเรียนสวนกุหลาบจะเป็นตัวแทนของโรงเรียนได้ทั้งหมดหรือ ก็ไม่ใช่ ดังนั้นการประเมินรูปแบบสมัครใจหรือสุ่ม อาจไม่ใช่ทางออกของการพัฒนาการศึกษาไทยที่นับวันจะมีปัญหามากขึ้น ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่า สมศ. ได้จัดเวทีประชุมระดมความคิด “ประเมินแบบอาสาสมัคร ทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด” ระดมความคิดเห็นรูปแบบการประเมินการศึกษาที่เหมาะสมกับประเทศไทยในอนาคต สูงสุด ซึ่งคณาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการประเมินการศึกษาของประเทศไทยยังคงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการประเมินทุกแห่ง ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติและกฎกระทรวง กำหนดให้การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา โดยมีการบันทึกเป็นฐานข้อมูล รวบรวมเป็นรายงานประจำปีเป็นประจำทุกๆ ปี เสนอต้นสังกัดให้เข้าประเมินอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุกๆ 3 ปี เพื่อตรวจสอบและสนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาด้านคุณภาพได้เหมาะสม สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดย สมศ. ตามที่กฎหมายกำหนดให้มีการประเมินอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกๆ 5 ปี ให้สถานศึกษารวบรวมเอกสาร หลักฐานที่เป็นฐานข้อมูลให้ผู้ประเมินใช้เพื่อการตรวจสอบให้ได้สภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา ดังตัวอย่างในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดีแล้วด้วยวิธี NAP (NATIONAL ASSESSMENT PROGRAM ) ด้วยการไปกำหนดว่าประถม มัธยมศึกษามีวิชาใดบ้างที่ต้องการวัด แล้วทำข้อทดสอบมาตรฐานขึ้น นำไปทดสอบสถานศึกษาที่ต้องการทดสอบในแต่ละปี ไม่ได้ทดสอบทุกโรงเรียนแต่เป็นการสุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรแล้วเอาผลมาอ้างอิง ไม่ได้สนใจคะแนนแต่ละโรง แต่สนใจผลรวม แต่สำหรับประเทศไทยเราต้องดูบริบทของประเทศว่าเราจะใช้วิธีการใดเพื่ออะไร จะทำเพื่อดูภาพรวมๆ ในแต่ละสถานศึกษา เพื่อเป็นฐานการตัดสินใจของการศึกษา หรือจะทำเพื่อเอาผลไปใช้สำหรับการปรับปรุงพัฒนาการศึกษาอย่างตรงจุด สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ