การสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมสมัยโมเดิร์นในประเทศไทยเริ่มแล้ว

ข่าวอสังหา Wednesday April 1, 2015 11:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 เม.ย.--Au communication การสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมสมัยโมเดิร์นในประเทศไทยครั้งที่หนึ่งนับเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมสมัยโมเดิร์นนานาชาติอย่างเป็นทางการ ที่เราเรียกกันว่า โดโคโมโม อินเตอร์แนชชั่นแนล เมื่อ เดือนกันยายน 2557ที่ผ่านมา โดยการสนับสนุนของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งทางอาษาได้สนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมสมัยโมเดิร์นของไทยอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี และในงานอาษาปีที่ผ่านมา ได้จัดการประชุมเชิงวิชาการอาษาฟอรั่มขึ้น ในหัวข้อ “กำเนิดโดโคโมโม่ไทยแลนด์”ซึ่งได้รับการต้อนรับจากผู้ฟังที่สนใจอย่างอบอุ่น ต่อมาสมาคมสถาปนิกสยามฯได้ผลักดันและสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสาขาใหม่ของโดโคโมโม่อินเตอร์แนชชั่นแนล อย่างเป็นทางการร่วมกับทีมงานจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจนกระทั่งได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสาขาใหม่หรือ new chapter เรียกว่า โดโคโมโม่ไทยแลนด์ ซึ่งจะมีบทบาทร่วมกับองค์กรอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมสมัยโมเดิร์นนานาชาติอย่างเป็นทางการ โดยมีประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกจากทั่วโลกกว่า60ประเทศ และประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า โดโคโมโมเป็นตัวอักษรย่อในภาษาอังกฤษที่เขียนว่า D-O-C-O-M-O-M-O (DOCOMOMO) โดโคโมโม่ มาจาก Documentation and Conservation of buildings, sites and neighborhoods of the Modern Movement คำว่าโมโม่มาจาก the modern movement ทั้งหมดนี้หมายถึงการอนุรักษ์อาคารสิ่งก่อสร้าง เอกสาร บริเวณอาคารและละแวกชุมชนในช่วงเวลาที่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปสู่งานสถาปัตยกรรมสมัยโมเดิร์น สมาคมสถาปนิกสยามฯเล็งเห็นถึงคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นในประเทศไทยอันเป็นรากฐานสำคัญของสถาปนิกไทยอาทิเช่น ศาสตราจารย์กฤษฎา อรุณวงศ์ ,อาจารย์ดร.วทัญญู ณ ถลาง ,คุณเจน สกลธนารักษ์ ,อาจารย์จิตรเสน อภัยวงศ์ ,คุณองอาจ ศาสตราพันธุ์ ฯลฯเป็นต้น ซึ่งอยู่ในยุคแรกเริ่มของการก่อตั้งและพัฒนางานสถาปัตยกรรมไทยที่ตอบสนองต่อความต้องการของสาธารณชน อาคารในยุคโมเดิร์นของไทยในช่วงศตวรรษที่20ได้นำแนวคิดด้านการออกแบบของสถาปนิกยุคโมเดิร์นที่นับว่าเป็นMaster of architects ที่สำคัญเช่น แฟรงก์ ลอยด์ ไรท์,เลอร์คอร์บูซิเอร์และมีส แวนเดอร์โรห์, ริดชาร์ด นอยทร่า, พอล ลูดอฟ และสถาปนิกอื่นๆในยุคโมเดิร์นมาประยุกต์ในการออกแบบ อาคารหลายหลังในยุคนี้ได้ถูกทุบทำลายเนื่องจากการพัฒนาของเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่20 ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่นอาคารเรียนโรงเรียนปานะพันธ์ อาคารเอยูเอ อาคารสูงยุคแรกของไทย อาคารโชคชัยสุขุมวิท ฯลฯเป็นต้น การสัมมนาเรื่อง “การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมสมัยโมเดิร์นในประเทศไทย ครั้งที่1”จะเป็นก้าวแรกสู่การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเดิร์นของไทยร่วมกับแนวทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเดิร์นนานาชาติที่จะช่วยนำและส่งเสริมคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นไทยสู่สายตาประชาคมโลก และเราจะช่วยกันเป็นหูเป็นตา ระแวดระวังการทุบทำลายงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นของไทยซึ่งอยู่ในช่วงประมาณพ.ศ. 2475-2520 อันเป็นรอยต่อทางอารยธรรมที่สำคัญของชาติไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ