การแถลงข่าวหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 องค์กร (กกร.) ซึ่งประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย

ข่าวทั่วไป Thursday April 9, 2015 11:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 เม.ย.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 องค์กร (กกร.)ซึ่งประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย กกร. ได้มีการประชุมสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนกุมภาพันธ์ พบว่าภาพเศรษฐกิจยังคงมีทิศทางฟื้นตัวอย่างช้าๆ ด้วยปัจจัยหนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่สามารถรักษาโมเมนตัมการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ กกร. ยังได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์การฟื้นตัวของภาคส่งออกที่หดตัวติดต่อกันสองเดือน อันเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะภูมิภาคยุโรป ญี่ปุ่นและจีน ซึ่งนับเป็นความท้าทายที่ผู้ส่งออกไทยยังคงต้องเผชิญอยู่ในปีนี้ รวมทั้งภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐโดยเฉพาะในส่วนของงบลงทุนซึ่งนับว่าเป็นความหวังของการฟื้นตัวเศรษฐกิจในช่วงปีที่เหลือ กลับยังเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าในอดีตและเป้าที่ภาครัฐวางไว้มาก โดยมีความคาดหวังจะเห็นอัตราการเบิกจ่ายที่เร่งตัวขึ้นในไตรมาสถัดๆไปเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง จากงบประมาณปี 2558 มีวงเงินงบประมาณ 2,575 พันล้านบาท (เบิกจ่ายสะสม 1,096 พันลบ. หรือคิดเป็น 43% ของงบประมาณรวม) กกร. ร่วมผลักดันการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งได้กำหนดCriteria เพื่อคัดเลือก Clusterหรือ Sector ที่ (1) มีความยั่งยืน มีอนาคต และแข่งขันได้ในภูมิภาค (2) จะมี Impact ต่อการขยายผลอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ และมีมูลค่าเพิ่ม (3) มีปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัดเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ กฎหมาย (4) ทำได้จริง และต้องมี commitment ที่จะดำเนินการ กกร. จึงได้จัดทำValue Chain ของ cluster ที่ได้คัดเลือกเพื่อดำเนินการในระยะเร่งด่วน (ภายในปีนี้) ได้แก่ เกษตรและอาหาร (ที่เป็นอนาคต) ท่องเที่ยวและบริการเชิงสุขภาพ (wellness) Digital Economy, Logistics, Lifestyle, ยางและไม้ยางพารา, Machinery, ชิ้นส่วนยานยนต์ การพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า การพัฒนาตลาดการเงิน-ธนาคารและตลาดทุนเพื่อนำหารือในคณะอนุกรรมการการพัฒนา Cluster ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้ กกร. ให้ความสำคัญด้านประสิทธิภาพภาครัฐ หรือ Ease of Doing Business โดยได้จัดทำ Benchmark ของแต่ละตัวชี้วัด เช่น การจัดตั้งธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การจดทะเบียนมาตรฐานบังคับและการออกมาตรฐานต่างๆของสินค้าอุตสาหกรรม การเสียภาษี การนำเข้า-ส่งออก และ ใบอนุญาตทำงานและ Visa เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการติดตามและผลักดันให้เกิดการปรับปรุง ซึ่งจะสามารถลดระยะเวลาและต้นทุนของภาคธุรกิจโดยรวม กกร. และ JETRO กำหนดจัด Invest Japan Symposium ในวันที่ 27 พ.ค. 2558 เพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจไทย ที่สนใจเข้าไปทำธุรกิจหรือลงทุนในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจของภาคเอกชนไทยที่จะขยายธุรกิจการค้าการลงทุนไปยังประเทศญี่ปุ่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ