ศูนย์พัฒนาศักยภาพมนุษย์ สมาร์ท พีเอดี ชี้ไทยเสียโอกาสการแข่งขันในตลาดโลก เพราะเยาวชนไทยไม่รู้จักศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง ล่าสุดพัฒนา 'สเปียร์เฮด โปรแกรม' มุ่งจัดการศักยภาพเด็กไทยเติมเต็มตลาดแรงงาน

ข่าวทั่วไป Friday April 17, 2015 17:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--โฟว์ดี คอมมิวนิเคชั่น ถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องใส่ใจเรื่องการวิเคราะห์และจัดการศักยภาพของเยาวชนไทย เพื่อสร้างคน สร้างแรงงานของประเทศที่เหมาะสมกับแต่ละสายงาน ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะนำประเทศสู่เวทีการแข่งขันระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก และถือเป็นการใช้งบประมาณของชาติในด้านการศึกษาได้อย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้น ล่าสุดเปิดตัว 'สเปียร์ เฮด โปรแกรม' เสนอสู่ภาคการศึกษาและองค์กรระดับใหญ่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินศักยภาพและความเป็นตนเองให้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งเป็นผู้ช่วยองค์กรระดับใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อเฟ้นหา 'ตัวจริง' เข้ามาเติมเต็มตำแหน่งงาน นางสาวกิติมา หงส์ศิริกาญจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ศูนย์พัฒนาศักยภาพมนุษย์ สมาร์ท พีเอดี เปิดเผยว่า ปัจจุบันการจัดการปัญหาเรื่องศักยภาพแรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ไทยต้องให้ความสำคัญ เพราะหากประเทศมีระบบการจัดการแรงงานก่อนเข้าสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยให้กลไกโดยรวมของตลาดแรงงานนั้นมีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลกได้อย่างดี ทั้งนี้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2557 ที่ผ่านมา มีผู้สำเร็จการศึกษา 547,853 คน แบ่งเป็น ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีรวม 336,879 คน หรือคิดเป็น 61%, ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. และอนุปริญญาตรีรวม 74,550 คน หรือ 14%, ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. รวม 48,884 คน หรือ 9%, ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6 รวม 22,936 คน หรือ 4% และผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ม.3 รวม 64,604 คน หรือ 12% และจากการสำรวจพบว่า กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมีอัตราว่างงานสูงถึง 160,000คนในปีที่ผ่านมา โดยในปี 2557 มีกลุ่มคนว่างงานประมาณ 306,148 คน ขณะที่อัตราขาดแคลนแรงงานอยู่ที่ 181,827 คน ซึ่งคาดว่าในปี 2555-2559 บริษัทในประเทศไทยมีความต้องการรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ (ป.ตรี) เพียงแค่ปีละ 150,000 คนต่อปีเท่านั้น ขณะที่จะมีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ในระดับปริญญา ตรีเข้าสู่ตลาดแรงงานเฉลี่ยที่ปีละ 300,000 – 400,000 คน “กลไกโดยรวมของตลาดแรงงานไทย ประกอบด้วย ตัวแรงงาน, ครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถานประกอบการ ซึ่งแต่ละปัจจัยล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการก้าวหน้าของประเทศ เพราะหากเรามีแรงงานที่เข้าสู่ตลาดไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ก็จะทำให้เกิดปัญหาการว่างงานและการขาดแคลนแรงงานตามมา" นางสาวกิติมา หงส์ศิริกาญจน์ อธิบายเพิ่มเติม "ครอบครัวถือเป็นด่านแรกที่ส่งผลต่อทิศทางการเลือกอาชีพของเยาวชนไทย โดยส่วนมากมักจะเลือกสายอาชีพตามกระแสนิยมโดยไม่คำนึงถึงความถนัดของเยาวชน หรือแม้กระทั่งตัวผู้เรียนเองก็ยังขาดการประเมินศักยภาพของตนทำให้ความโดดเด่นของตนเองถูกบดบังและพุ่งไปในส่วนงานที่ไม่มีความถนัดหรือไม่ได้ชอบอย่างแท้จริง ทำให้เมื่อเข้าสู่การสถาบันศึกษาบางคนไม่สามารถศึกษาต่อได้จนจบ หรือหากจบแล้วเมื่อได้ทดลองทำงานไปและรู้ว่าไม่ใช่แนวทางที่ตนชอบหรือถนัดก็จะนำไปสู่ปัญหาการเปลี่ยนงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ประเทศเสียงบประมาณด้านการศึกษาไปโดยเปล่าประโยชน์ สถานประกอบการณ์ก็ได้บุคลากรเข้าไปทำงานอย่างไม่มีเสถียรภาพ และที่สำคัญที่สุดคือประเทศชาติต้องเสียบุคลากรที่มี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ