ผู้สูงอายุไทยกับคนรุ่นใหม่

ข่าวทั่วไป Monday April 20, 2015 09:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ผู้สูงอายุไทยกับคนรุ่นใหม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 9 เมษายน 2558 กรณีศึกษาจากผู้สูงอายุไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับทัศนคติของผู้สูงอายุที่มีต่อคนรุ่นใหม่ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงสิ่งที่ผู้สูงอายุห่วงใยเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่มากที่สุด พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.36 ระบุว่า เป็นห่วงคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับเรื่องยาเสพติดมากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 18.48 ระบุว่า ไม่เป็นห่วง เฉย ๆ ร้อยละ 16.08 ระบุว่า เป็นห่วงเรื่องการศึกษา ร้อยละ 8.80 ระบุว่า เป็นห่วงเรื่องการมีงานทำ ร้อยละ 4.88 ระบุว่า เป็นห่วงเรื่องศีลธรรม ร้อยละ 4.40 ระบุว่า เป็นห่วงเรื่องการคบเพื่อน ร้อยละ 3.36 ระบุว่า เป็นห่วงเรื่องการใช้เทคโนโลยี วัตถุนิยม กระแสแฟชั่น ร้อยละ 1.76 ระบุว่า เป็นห่วงเรื่องการพูดจา การมีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน และร้อยละ 6.88 ระบุว่า เป็นห่วงเรื่องอื่น ๆ ได้แก่ ความปลอดภัย สุขภาพ การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ การทะเลาะวิวาท ความซื่อสัตย์ เพศ ความรักและการแสดงออก และการใช้จ่ายเงิน ด้านสิ่งที่ผู้สูงอายุได้รับการปฏิบัติจากคนรุ่นใหม่ซึ่งรวมถึงลูกหลาน ในลักษณะต่าง ๆ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.16 ระบุว่า เป็นการดูแลเอาใจใส่ รองลงมา ร้อยละ 58.48 ระบุว่า คนรุ่นใหม่ ลูกหลาน ให้ความเชื่อฟัง เป็นแบบอย่างที่ดี ร้อยละ 49.68 ระบุว่า ให้ความเคารพรัก เป็นปูชนียบุคคล ร้อยละ 4.16 ระบุว่า ห่างเหิน ไม่ใส่ใจในความเป็นอยู่ ร้อยละ 3.76 ระบุว่า ขัดแย้ง โต้เถียง และร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่เคยได้รับการปฏิบัติแต่อย่างใด (ไม่เคยยุ่งเกี่ยวเลย) สำหรับความคาดหวังของผู้สูงอายุจากคนรุ่นใหม่ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.72 ระบุว่า ไม่คาดหวังสิ่งใดๆ เพราะ ส่วนใหญ่ บุตรหลานเป็นผู้ใหญ่ สามารถดูแลตัวเองได้แล้ว รองลงมา ร้อยละ 30.32 ระบุว่า เป็นการให้ความเคารพรัก/เชื่อฟัง ร้อยละ 19.12 ระบุว่า เป็นการให้ความช่วยเหลือที่ไม่ใช่ตัวเงิน ร้อยละ 12.32 ระบุว่า เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ร้อยละ 9.52 ระบุว่า เป็นคนดีของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม ร้อยละ 5.36 ระบุว่า มีการศึกษาที่ดี มีงานทำ มีชีวิตอนาคตที่มั่นคง สามารถรับผิดชอบดูแลตัวเองได้ ร้อยละ 0.72 ระบุว่า อื่น ๆ ความมีน้ำใจ สามัคคี สมานฉันท์กับคนในครอบครัว รู้จักคุณค่าเงิน อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมไทย รักประเทศชาติ และสถาบัน ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของผู้สูงอายุกับลูกหลาน พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.96 ระบุว่า พึงพอใจมาก รองลงมา ร้อยละ 33.28 ระบุว่า ค่อนข้างพึงพอใจ ร้อยละ 3.04 ระบุว่า ไม่ค่อยพึงพอใจ ร้อยละ 0.72 ระบุว่า ไม่พึงพอใจเลย เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 19.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 19.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 20.16 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 50.88 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 49.12 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 62.00 มีอายุ 60 – 65 ปี ร้อยละ 20.88 มีอายุ 66 – 70 ปี ร้อยละ 10.48 มีอายุ 71 – 75 ปี และร้อยละ 6.64 มีอายุ 75 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 56.56 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 17.92 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.04 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 16.48 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 4.00 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 77.68 อยู่ด้วยกันกับบุตรหลาน และ ร้อยละ 22.32 ไม่ได้อยู่ด้วยกันกับบุตรหลาน
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ