นิด้าโพล: “ที่มา ส.ว. ตามร่างรัฐธรรมนูญ 2558”

ข่าวทั่วไป Monday May 25, 2015 09:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ที่มา ส.ว. ตามร่างรัฐธรรมนูญ 2558” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 – 21 พฤษภาคม 2558 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับที่มา ส.ว. ตามร่างรัฐธรรมนูญ 2558 อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมี ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มี ส.ว. มาจากการเลือกกันเองของอดีตปลัดกระทรวง และอดีตข้าราชการ ฝ่ายทหารที่เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้บัญชาการ เหล่าทัพ ประเภทละไม่เกินสิบคน (มาตรา 121 (1)) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.35 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะควรมาจากการเลือกของประชาชน ขณะที่ร้อยละ 43.77 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะเชื่อว่าบุคคลเหล่านั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากด้วยประสบการณ์อยู่แล้ว และร้อยละ 2.88 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มี ส.ว. ที่มาจากผู้แทนสภาวิชาชีพ องค์กรวิชาชีพ หรืออาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งเลือกกันเอง จำนวนไม่เกินสิบห้าคน (มาตรา 121 (2)) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.99 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มากด้วยประสบการณ์อยู่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 42.97 ไม่เห็นด้วย เพราะอาจมีการเล่นพรรคเล่นพวกกันเกิดขึ้น และร้อยละ 3.04 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ สำหรับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มี ส.ว. ที่มาจากผู้แทนองค์กรด้านเกษตรกรรม ด้านแรงงาน ด้านวิชาการ ด้านชุมชน และด้านท้องถิ่น ซึ่งเลือกกันเอง จำนวนไม่เกินสามสิบคน (มาตรา 121 (3)) พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.34 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนระดับล่าง สามารถรับรู้ปัญหา และเข้าถึงประชาชนได้ดี น่าจะสามารถช่วยพัฒนาประเทศได้ รองลงมา ร้อยละ 36.50 ไม่เห็นด้วย เพราะควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมี ส่วนร่วมในการเลือกด้วย และร้อยละ 2.16 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มี ส.ว. ที่มาจากการสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรม ด้านต่างๆ (เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และสังคม เป็นต้น) จำนวนห้าสิบแปดคน (มาตรา 121 (4)) พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.07 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ น่าจะสามารถช่วยพัฒนาประเทศได้ ขณะที่ร้อยละ 38.18 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะจำนวน ส.ว. กลุ่มนี้มีมากเกินไป และควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกด้วย และร้อยละ 3.75 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มี ส.ว. มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคน โดยเป็นการเลือกจากรายชื่อที่ได้รับการคัดกรองมาแล้วจากคณะกรรมการกลั่นกรอง (มาตรา 121 (5)) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.03 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เป็นการเลือกโดยตรงจากประชาชน (แม้ว่าจะต้องเลือกจากรายชื่อที่ได้รับการคัดกรองมาแล้ว) ถือว่ามีความโปร่งใสมากกว่าการเลือกกันเอง รองลงมา ร้อยละ 16.69 ไม่เห็นด้วย เพราะ อาจเกิดการซื้อสิทธิขายเสียงและอาจเกิดความไม่โปร่งใส และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.61 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 17.81 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.21 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 34.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 12.62 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 57.75 เป็นเพศชาย ร้อยละ 42.09 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 6.31 มีอายุ 18 – 24 ปี ร้อยละ 30.67 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 50.16 มีอายุ 40 – 59 ปี ร้อยละ 12.46 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 0.40 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 95.77 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.04 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.72 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.48 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 23.72 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 74.20 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 1.60 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.48 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 25.24 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.19 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.79 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 28.19 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและตัวอย่างร้อยละ 6.79 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 14.30 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 15.02 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 24.44 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.65 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 15.58 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 11.10 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 2.96 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 11.34 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 18.85 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 31.63 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 13.26 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 6.31 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 9.50 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 9.11 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ