นิด้าโพล : “ความเคลื่อนไหวทางการเมือง”

ข่าวทั่วไป Monday July 13, 2015 08:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ก.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ความเคลื่อนไหวทางการเมือง" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,257 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่าง ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนทั่วไป ที่ควรจะเป็นในสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.65 ระบุว่า ควรอยู่เฉย ๆ เฝ้าติดตามการทำงานของรัฐบาลและ คสช. อย่างเดียว เพราะ ไม่ต้องการเห็นบ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ไม่ควรสร้างความแตกแยก การปฏิรูปต้องใช้เวลา ควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานไปก่อน สิ่งที่รัฐบาลและ คสช. ทำอยู่ก็ดีอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 13.45 ระบุว่า ควรออกมาสนับสนุนรัฐบาลและ คสช. เพราะ เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาล ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการชื่นชมและให้กำลังใจรัฐบาล ต้องการเห็นประชาธิปไตยที่ไม่มีการทุจริต โดยรวมรัฐบาลบริหารประเทศถือว่าเป็นที่น่าพอใจ ควรให้การสนับสนุนการทำงานต่อไป ร้อยละ 6.28 ระบุว่า ควรออกมาต่อต้านรัฐบาลและ คสช. เพราะ ไม่ชอบระบบการทำงานของรัฐบาล ถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นมากเกินไป การทำรัฐประหารโดย คสช. ส่งผลต่อเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ ร้อยละ 1.03 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรออกมาแสดงความคิดเห็นตามผลงานของรัฐบาล ในรูปแบบการจัดเสวนาทางวิชาการ การสัมมนา เป็นต้น โดยแสดงออกอย่างเป็นกลางภายใต้ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และไม่ขัดต่อกฎหมาย และร้อยละ 1.59 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนักศึกษา นักวิชาการ องค์กรทางสังคมและการเมือง และพรรคการเมืองที่ควรจะเป็น ในสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.34 ระบุว่า ควรอยู่เฉย ๆ เฝ้าติดตามการทำงานของรัฐบาลและ คสช. อย่างเดียว เพราะ ควรให้โอกาสรัฐบาลได้ทำตามแผนที่วางไว้ ไม่ต้องการเห็นกลุ่มคนต่าง ๆ ออกมาแทรกแซงหรือเข้ามาวุ่นวาย สร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศชาติอีก ซึ่งขัดกับหลักความปรองดองและการปฏิรูปประเทศ ซ้ำยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกด้วย รองลงมา ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ควรออกมาสนับสนุนรัฐบาลและ คสช. เพราะ เป็นการชี้แนะถึงแนวทางในการทำงานและการแก้ไขปัญหาของประเทศ ซึ่งจะสามารถช่วยให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ไปได้ และขณะนี้รัฐบาลก็ทำงานอย่างเต็มที่ในการปฏิรูปประเทศ ร้อยละ 8.59 ระบุว่า ควรออกมาต่อต้านรัฐบาลและ คสช. เพราะ ต้องการเห็นความคิดเห็นที่หลากหลายจากหลาย ๆ ฝ่าย เช่น นักวิชาการ บุคคลในแวดวงต่าง ๆ ออกมาแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะการทำงาน/แก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนที่ควรได้รับการแก้ไขเป็นอันดับแรก ร้อยละ 1.59 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรแสดงความคิดเห็นในด้านจุดเด่น จุดด้อย ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงาน การทำงานของรัฐบาลในเชิงสร้างสรรค์ และควรแสดงออกอย่างสันติ และร้อยละ 6.21 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบของการแสดงออกทางการเมือง ในกรณีที่ประชาชนไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือการดำเนินงานของรัฐบาลหรือ คสช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.77 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นไปถึงรัฐบาลและ คสช. ตามช่องทางที่เปิดให้ตามกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 20.68 ระบุว่า ควรอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย ร้อยละ 12.97 ระบุว่า ควรจัดเสวนาวิชาการ ร้อยละ 3.98 ระบุว่า ควรออกมาชุมนุมหรือจัดกิจกรรมต่อต้านรัฐบาล หรือ คสช. ร้อยละ 3.74 ระบุว่า ควรวิพากษ์ วิจารณ์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ควรเสนอการทำประชามติ/ประชาพิจารณ์ และร้อยละ 2.78 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.79 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 17.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.06 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.41 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.00 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 51.15 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.61 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.24 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 7.72 มีอายุ น้อยกว่า 25 ปี ร้อยละ 17.74 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.11 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 37.71 มีอายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 11.69 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 1.03 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 94.43 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.58 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.95 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 1.03 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.91 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 73.59 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 2.39 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.11 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 27.92 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.51 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.56 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 27.68 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 5.81 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.51 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 14.24 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 13.29 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 25.06 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 16.15 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 13.84 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 13.52 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 2.47 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.43 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 14.08 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.06 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 27.84 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 11.69 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 6.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 8.35 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.21ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ