ไทยร่วมถอดบทเรียนฟินแลนด์-สิงคโปร์ เดินหน้าพัฒนาครุศึกษา

ข่าวทั่วไป Tuesday August 4, 2015 13:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ส.ค.--agate communications ช่วงที่ผ่านมามีปรากฏการข่าวเกี่ยวกับผลการวิจัย เรื่องระดับการศึกษาของเด็กไทยต่ำว่ามาตรฐาน "สถาบันครู" เป็นสถาบันที่สังคมมองว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีผลต่อมาตรฐานการศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการที่รับผิดชอบเรื่องนี้กลายเป็นหน่วยงานที่ต้องแบกรับสภาพดังกล่าวไปโดยปริยาย กระทั่งต้องเร่งปรับนโยบายการพัฒนาบุคลากรครูขนานใหญ่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น หลังจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นต่อเนื่อง ไทยจึงต้องเร่งเรียนรู้กรอบการทำงานเพื่อพัฒนาบุคลากรในวงการการศึกษาเพิ่มขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานมานี้ถือเป็นข่าวดีที่บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้สื่อสารทางด้านการศึกษา ได้เชิญวิทยากร 2 ท่านเพื่อให้ความรู้เรื่องแนวทางบริหารการศึกษาเพื่อให้ตัวแทนผู้บริหารด้านการศึกษาของไทยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในรูปแบบเสวนาโต๊ะกลม โดยวิทยากรประกอบด้วย ศ.ดร.ฮันเนเล นีเอมี (Professor.Dr. Hannele Niemi) ประธานเครือข่ายโครงการความร่วมมือวิจัยการเรียนรู้ (CICERO Learning Network) สาขาการศึกษา คณะพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ และ รศ. ดร. อี ลิง โลว์ (Associate Prof. Ee Ling Low) ผู้เชี่ยวชาญในทีมประเมินและพัฒนาสถาบันครุศึกษา (National Institute of Education:NIE) ของสิงคโปร์ ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากที่ ปิโก้ร่วมสนับสนุนองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญให้มาเปิดประสบการณ์ที่ประเทศไทย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา คือ ดร.สุเมธ แย้มนุ่น อดีตเลขาคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นผู้ดำเนินรายการ สำหรับ ศ.ดร.ฮันเนเล ให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาว่า ปัญหาเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษานั้นมีกันทั่วโลก บางประเทศก็มักบอกว่าการศึกษาด้อยเพราะครูวิสัยทัศน์แคบ หรือมีปัญหาเรื่องการพัฒนาองค์ความรู้ของครู ซึ่งจริงๆแล้วกรณีนี้สามารถปรับปรุงได้ในทุกประเทศ จุดบกพร่องที่พบทั่วไปคล้ายๆกัน คือ ประเด็นปัญหาบุคลากรนั้นมักจะถูกแยกออกจากระบบการศึกษาอื่น ไม่มีการประยุกต์แบบองค์รวม จึงจำเป็นจะต้องจัดตั้งสถาบันเพื่ออำนวยความสะดวกด้านครุศาสตร์หรือครุศึกษา เพื่อส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของครูโดยตรง อาจจะตั้งเป็นองค์กรอิสระ หรือภายใต้กระทรวงศึกษาธิการก็ได้ แต่ครูเองต้องเปิดใจให้กว้างๆว่าจะยอมรับกระบวนการแบบนโยบายรวมได้ "ที่พบบ่อยๆ คือ คณะกรรมการที่ศึกษาคุณภาพของครู ส่วนมากไม่ได้มีความสามารถในการทำวิจัยที่มีคุณภาพสูงและพวกเขาไม่ได้มีแผนระยะยาวเชิงกลยุทธ์ในการส่งเสริมการศึกษาวิจัยทางการศึกษาของครู โครงการมีขนาดเล็กมากที่แคบและไม่ได้มีความร่วมมือภายในมหาวิทยาลัยหรือคู่ค้าภายนอกมหาวิทยาลัยเช่นโรงเรียน และศูนย์การศึกษาอื่น จึงไม่เกิดการต่อยอดให้กับบุคลากร"ศ.ดร.ฮันเนเล กล่าว เธอย้ำด้วยว่า การพัฒนาการศึกษาต้องไม่มีเป้าหมายเพียงเพื่อการเปลี่ยนแปลงความคิดที่มุ่งเน้นที่จะช่วยให้ครูมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น แต่หมายถึงการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษา และความรับผิดชอบในการตั้งกลยุทธ์ในระยะยาวสำหรับการปรับปรุงการศึกษาในประเทศด้วย สำหรับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของครุศึกษานั้นศ.ดร.ฮันเนเล แนะนำว่า ควรจะมีกรอบแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยอาจจะใช้ Governance in Teacher Education หรือ การบริหารครุศึกษาเข้ามาดำเนินงานควบคู่ด้วย ซึ่งเชื่อว่าหากประเทศไทยกำลังประสบปัญหา น่าจะใช้วิธีดังกล่าวได้ อย่าลืมว่าครูแต่ละคนก็มีทักษะความสามารถต่างกันหากส่งเสริมอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยได้อย่างไรก็ตาม กรณีที่ฟินแลนด์นั้น เน้นให้ครูทำงานแบบอิสระ คือ สร้างรูปแบบการสอนได้เอง ตามความถนัดของวิชานั้นๆ แต่ต้องมีผลงานทางวิชาการเพื่อบันทึกข้อมูลและใช้ประโยชน์ในอนาคตด้วย ด้านรศ. ดร. อี ลิง โลว์ มองว่า เท่าที่มีประสบการณ์จากสิงคโปร์นั้น จากการวิจัยคุณภาพการศึกษาพบว่า การจัดการศึกษาในสิงคโปร์ยังคงมีปัญหา ตรงที่ค่านิยมของสังคมและผู้ปกครอง ที่ต้องการให้ลูกหลานเรียนมหาวิทยาลัย เพราะถือว่ามีเกียรติ ทั้งๆที่ประเทศต้องการช่างฝีมือ แต่ภายหลังจากปรับหลักสูตรการเรียนการสอนของสิงคโปร์ทั้งระดับ ประกาศวิชาชีพ และมหาวิทยาลัย ให้เคลื่อนย้ายหากันได้ก็พบว่าสามารถยกระดับการศึกษาได้มากขึ้น ดังนั้นโดยส่วนตัวมองว่า หากจะพัฒนาด้านครุศึกษา ก็ควรมีการประยุกต์ภาคปฏิบัติและภาควิชาการเข้าด้วยกัน ต่อทุกอย่างต้องมีแผนในการพัฒนา รศ.ดร. อี ลิง โลว์ กล่าวด้วยว่า ในการพัฒนาด้านครุศึกษา มีความท้าทายตรงที่จะทำให้อย่างไรให้ระบอบการศึกษา มั่นคงและยั่งยืน ที่สิงคโปร์ได้รับการยอมรับสากล เป็นเพราะครูส่วนมากมีความพร้อมในการพัฒนาตนเองอยู่แล้ว และหากจะมีการส่งเสริม ก็คือการส่งเสริมทั้งงบประมาณด้านการวิจัย และการสัมมนาเชิงวิชาการทั่วประเทศ โดยเปิดโอกาสให้ครูและผู้เรียนมีชั่วโมงสัมมนาที่ต้องแลกเปลี่ยนระหว่างกัน อาจจะเป็นโครงการใด โครงการหนึ่งที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นมาก็ได้ สำหรับ NIE แล้วการวิจัยการศึกษาแบบประเมินผลด้านครุศึกษา เป็นดังหัวใจสำคัญที่คณะนักวิชาการต้องทำ โดยเชื่อมั่นเสมอว่า ครูทุกคนคือมืออาชีพ เราจะส่งเสริมให้เด็กและครูต่างเป็นศูนย์กลางการศึกษา ซึ่งอาจไม่ต้องมีแผนอะไรซับซ้อน แต่ต้องคิดอย่างตรงไปตรงมา และสิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณภาพครูจะดีขึ้นได้เมื่อประเทศนั้นๆ ส่งเสริมให้ครูนั้นมีความซื่อสัตย์ และจริงใจ ไม่ตัดสินอะไรบนความฉาบฉวย มีวินัยในตนเองและเป็นทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังของระบบการศึกษา และต้องไม่หยุดนิ่งที่จะคิดรูปแบบการเรียนการสอน ต้องไม่ยึดติด จึงจะสามารถพัฒนาการศึกษาได้ทั้งระบบเพราะยอมรับในความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยทำได้ หากมีการวางแผนที่ดี สำหรับ ดร.ดิเรก พรสีมา ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวว่า ประเทศไทยมีแผนการศึกษาดีอยู่แล้ว แต่ว่าครูส่วนมากจะไม่ค่อยให้ความสนใจ ภาระหน้าที่ส่วนใหญ่อยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการของไทย ที่ต้องปรับปรุงและปฏิรูป อีกทั้งมีระบบการเมืองที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางครั้งก็ส่งผลต่อนโยบายการศึกษาด้วย สิ่งที่ไทยต้องก้าวข้ามให้ได้ คือ ความเฉื่อย ส่วนงบประมาณนั้น แม้ไทยจะตั้งสถาบันแบบสิงคโปร์กับฟินแลนด์ไม่ได้ แต่ก็พอจะมีหนทางในการพัฒนาบุคลากร รูปแบบอื่น เช่น ส่งเสริมงานวิจัยแก่ครูทั่วประเทศ และเพิ่มกำลังบุคลากร ตลอดจนมีการส่งเสริมด้านสวัสดิการเพื่อดึงครูเข้ามาในระบบให้มากที่สุด ทั้งนี้เป้าหมายของไทยคือพัฒนาทั้งระบบมัธยม และอุดมศึกษาที่เชื่อมต่อกันได้ง่ายในอนาคตทั้งสายอาชีพและสายสามัญ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ