มหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาสู่อนาคต ด้วยเทคโนโลยีระบบสายสัญญาณชั้นเลิศจาก TE เสริมศักยภาพความเร็วระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ได้ในระดับสูงสุดถึง 100 กิกะบิต รองับการใช้งานได้ยาวนานถึง 25 ปี

ข่าวทั่วไป Tuesday August 25, 2015 09:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ส.ค.--มหาวิทยาลัยขอนแก่น บทบาทหรือนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่สำคัญด้านเทคโนโลยีนั้น มีพันธะหลักคือก็คือ การเป็น “Digital Technology for Excellent Academy กล่าวคือ เป็นการนำเอาดิจิตอลเทคโนโลยีทั้งหลายเพื่อการนำไปใช้ โดยผ่านกระบวนการทำให้เกิดสถาบันที่มีความเป็นเลิศทางด้านการศึกษา โดยได้ปรับใช้ระบบดิจิตอลเทคโนโลยีอย่างเข้มข้นในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการบริหารจัดการที่ มีการปรับโครงสร้างใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในแง่ของการลดระยะเวลาในการทำงาน, ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองผู้ใช้งาน, บุคลากรและนักศึกษาให้ได้ทันท่วงที ผ่านเทคโนโลยีและระบบไอทีที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การศึกษากับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและสื่อสารองค์กร ได้กล่าวว่า จริงๆ แล้ว เรื่องของการนำเอาดิจิตอลเทคโนโลยีมาใช้นั้น ทางสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พยายามทำเรื่องนี้มาหลายปี ตั้งแต่สภามหาวิทยาลัยชุดก่อนหน้านี้ ได้พยายามที่จะผลักดันนโยบาย Digital Economy มาใช้ในกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งในปัจจุบันผู้บริหารก็รับเอานโยบายดังกล่าวมาใช้ด้วยเริ่มตั้งแต่ด้าน Back Office ที่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการโครงสร้างใหม่ ผ่านกระบวนการการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาในแง่ของการเป็น Digital Literacy ไม่ใช่แค่เป็นแค่ Computer competency เท่านั้น ถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยมากสำหรับคนในยุคดิจิตอลนี้ แต่เรื่องของ Literacy คือความตระหนักรู้ในเรื่องของยุคดิจิตอลนั่นเอง แต่สำหรับการที่จะได้มาซึ่งความตระหนักรู้ในเรื่องของดิจิตอลทั้งหมดนั้น มข. จึงได้วางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงระบบดาต้าเซ็นเตอร์ของมหาวิทยาลัยใหม่ โดยมุ่งเน้นมาที่ตัวอุปกรณ์ระบบสายสัญญาณที่เปลี่ยนใหม่ทั้งหมด เพื่อใช้ในงานด้านระบบไอทีของมหาวิทยาลัยที่รองรับผู้ใช้งานทั้งคณาจารย์, บุคลากร และนักเรียนนักศึกษามากกว่า 50,000 คน ทั่วมหาวิทยาลัยขอนแก่น - ดร.เด่นพงษ์ เล่าให้ฟังต่อว่า ทางมหาวิทยาลัยไม่ต้องการให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฮาร์ดดิสก์, เรื่องของเซิร์ฟเวอร์, เรื่องของระบบความเร็วในการตอบสนองด้านไอที จึงพัฒนาระบบเป็นแบบเวอร์ชวลไลเซชัน และบริหารจัดการระบบจากศูนย์กลางผ่านทางดาต้าเซ็นเตอร์หลักของมหาวิทยาลัย ด้าน ดร.กิตติ์ เธียรธโนปจัย ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลดาต้าเซ็นเตอร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยตรง กล่าวเสริมว่า ทางมหาวิทยาลัยต้องการระบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้ตัดสินใจอัพเกรดห้องดาต้าเซ็นเตอร์และระบบเคเบิลทั้งหมด โดยมีการวางระบบรางใหม่, สายสัญญาณในส่วนของสายทองแดงเป็นแบบ CAT6, สายสัญญาณแบบใยแก้วนำแสง และตู้แร็กพร้อมอุปกรณ์ในการจัดการสายต่างๆ ที่ครบถ้วน เลือกโซลูชันจาก TE วางระบบสายสัญญาณ รองรับถึง 100 กิกะบิต ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้ย้ำต่อว่า ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ระบบสายสัญญาณและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง จากบริษัท TE Connectivity (TE) ซึ่งได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำด้านระบบสายสัญญาณของดาต้าเซ็นเตอร์โดยเฉพาะ และมีผู้ใช้งานซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ทางภาครัฐและเอกชนหลายแห่งใช้โซลูชันจาก TE อีกทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของ TIA-942 ซึ่งเป็นมาตรฐานของดาต้าเซ็นเตอร์ และที่สำคัญระบบสัญญาณดังกล่าวนี้ รองรับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลต่างๆ ได้ตั้งแต่ระดับ 40 – 100 กิกะบิต (อุปกรณ์ด้านระบบสายสัญญาณของTE ที่ใช้ในดาต้าเซ็นเตอร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นประกอบด้วย สายไฟเบอร์ MPO, ตู้แร็ก Q-Frame และรางไฟเบอร์ Fiber Guide) ด้านคุณรักเกียรติ หงษ์กาญจนพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ประจำภาคพื้นอาเซียนเหนือ ของ TE เสริมว่า TE เป็นเป็นผู้ผลิตวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญๆ อยู่ 3 เรื่อง ประเด็นแรกคือเทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาซึ่งมีผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีออกมาใหม่เป็นจำนวนวนมาก และมีความหลากหลายให้เลือกใช้งาน เพื่อที่จะสามารถรองรับแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ประเด็นที่สองเรื่องของ Future Proof ที่สามารถพิสูจน์ได้จากการใช้งานจริงว่า ความเร็วที่โซลูชันที่ทาง TE รองรับนั้นสามารถขยับขยายได้จริงตามที่กล่าวไป เช่นจาก 10 ไปเป็น 40 ไปเป็น 100 กิกะบิต ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นได้ชัดเจนว่าไม่จำเป็นต้องรื้อระบบหรือรื้อสายสัญญาณใหม่ทั้งหมดเมื่อต้องการอัพเกรด และประเด็นสุดท้ายก็คือความคงทน ซึ่งคุณรักเกียรติบอกว่า ระบบสายสัญญาณของ TE นั้นได้รับการยอมรับว่ามีความคงทนเป็นอย่างมา และสามารถรับประกันระบบอย่างยาวนานถึง 25 ปี มั่นใจทีมงานและแผนการดำเนินการ ในแง่ของทีมงานที่เข้ามาดูและติดตั้งนั้น ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับความร่วมมือจากทางบริษัท เฟิร์สวัน ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์คนสำคัญของทาง TE ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในแง่ของระบบไอที โดยทาง TE มองเห็นแล้วว่าระบบสายสัญญาณที่ต้องมีขีดความสามารถในการรองรับกับยูสเซอร์เป็นจำนวน 50,000 กว่ารายนั้นจำเป็นต้องใช้บริษัทผู้ติดตั้งที่มีความรู้ความเข้าใจ สำหรับบริษัท เฟิร์สวัน เป็นพาร์ทเนอร์ของ TE ที่มีบุคลากรด้านวิศวกรรมที่มีความสามารถ ได้รับการอบรมและมีประกาศนียบัตรด้านเทคโนโลยีทั้งระบบสายสัญญาณแบบทองแดง (Copper) และแบบใยแก้วนำแสง (Fiber-Optic) ตามมาตรฐานสากล ความคุ้มค่าที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับ ปัจจุบันโครงสร้างระบบไอทีของมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้นมีทั้งระบบสายและไร้สาย มีอุปกรณ์ด้านไวร์เลสอยู่ทั่วมหาวิทยาลัยราวๆ 2,000-3,000 AP และมียูสเซอร์ที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยราวๆ 12,000 คน และนักศึกษาทั้งหมดอีก 39,000 คน รวมถึงคณะและส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งการใช้งานต้องผ่านโครงสร้างระบบสายสัญญาณชุดใหม่นี้ ดร.เด่นพงษ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “ดาต้าเซ็นเตอร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปรียบเสมือนผู้จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน มีลักษณะคล้ายการออกแบบเมืองขึ้นมา ต้องเริ่มโครงสร้างพื้นฐานก่อน เช่น สายสัญญาณก็เหมือนกับถนนที่เรากำลังจะสร้าง ซึ่งต้องมาวิเคราะห์ว่ามันพร้อมที่จะขยายไปในอนาคตมากแค่ไหน, สามารถเชื่อมโยงกับอุปกรณ์และแอพพลิเคชันต่างๆ ได้เท่าไหร่, เราต้องมีเทคโนโลยีที่ครอบคลุมความต้องการนั้นด้วย เช่นระบบสายสัญญาณที่เราเลือก แน่นอนว่ามันแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยนัก อย่างต่ำก็ 10 ปี ขึ้นไป ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่าถ้าลงทุนแล้วต้องคุ้มค่ากับการลงทุนทั้งปัจจุบันและอนาคตด้วย ซึ่งไม่ต้องมารื้อทำใหม่ แค่ต่อยอดจากระบบเดิมก็ทำงานได้ทันที นี่คืออีกเหตุผลที่เราเลือกระบบสายสัญญาณจาก TE เพื่อรองรับอนาคตการเติบโตของมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ