ครบรอบ 1 ปี “ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ” โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ข่าวทั่วไป Wednesday September 30, 2015 16:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ก.ย.--มีเดีย พลัส คอนเนคชั่น ครบรอบ 1 ปี "ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ" โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ชูแนวทางการรักษาแบบครบวงจรด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสหสาขา ชี้แนวโน้มผู้ป่วยจากโรคทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มวัยทำงานจากวิถีชีวิตแบบสังคมเมือง โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) จัดงานครบรอบ 1 ปี "ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ" เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นศูนย์กลางรักษาโรคซับซ้อนและเฉพาะทาง ด้านโรคทางเดิน อาหารและตับ ที่ครบวงจร ด้วยแพทย์สหสาขาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาระดับแนวหน้า ของเมืองไทย โดยมีแขกผู้มีเกียรติ และ ผู้สนใจเรื่องการดูแลสุขภาพร่วมงาน ณ บริเวณโถงบริการ ผู้ป่วยนอกชั้น 2 โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ รศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์ ประธานศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กล่าวถึงผลการดำเนินงานว่า ศูนย์ทางเดินอาหารและตับของโรงพยาบาลฯ เปิด ดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 ในปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก รวม 29,872 คน มีอัตราการเติบโตมากกว่า ร้อยละ 61 มีผู้เข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารรวมทั้งหมด 2,905 ราย สำหรับ 5 โรค ที่พบมากในผู้ป่วยที่เข้ามารักษากับศูนย์ ฯ ได้แก่ โรคกระเพาะอาหาร และกรด ไหลย้อน โรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก และโรคมะเร็งตับ โดย โดยพบว่ากว่าร้อยละ 34 ของผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการ จะมาด้วยอาการอาการปวดท้อง ไม่สบายท้อง หรืออาหารไม่ย่อย ซึ่งทางโรงพยาบาลฯ จะให้บริการตรวจ ให้คำปรึกษาแบบผู้ป่วยนอก ให้บริการส่องกล้อง และตัดชิ้นเนื้อ ระบบทางเดินอาหารและตับ และให้บริการผ่าตัดและรักษาโรคระบบทางเดินอาหารและตับตามอาการของโรค "จุดเด่นของศูนย์ทางเดินอาหารและตับของโรงพยาบาลฯ คือ การรวมตัวกันระหว่างอายุรแพทย์ และศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและพร้อมไปด้วยประสบการณ์ด้านการรักษา โดยเฉพาะโรคทางเดิน อาหารที่มีความยากและซับซ้อนในการดูแลรักษา อาทิ โรคมะเร็งตับ การรักษาโรคด้วยวิธีการส่องกล้อง ในทุกรูปแบบ โดยศูนย์ฯ จะประกอบไปด้วย ทีมแพทย์ระบบทางเดินอาหาร แพทย์ศัลยกรรมทางเดินอาหาร และวิสัญญีแพทย์ ตลอดจนแพทย์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ รังสีแพทย์ และแพทย์ให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งมีอุปกรณ์การสืบค้น และการรักษาที่ครบวงจรภายในที่เดียวกัน โดยอยู่ในความดูแลของวิสัญญีแพทย์ ในกรณีที่ต้องมีการส่องกล้องตรวจหรือการผ่าตัดทุกราย" ประธานศูนย์กล่าว "ปัจจุบันนี้ศูนย์ของเรามีทั้งแพทย์ที่มีความสามารถระดับแนวหน้าของประเทศ และเทคโนโลยี ทันสมัย เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อน และลดระยะเวลาการพักฟื้นของผู้ป่วย ล่าสุดศูนย์ ได้นำเทคโนโลยีการผ่าตัดหลอดอาหารส่วนปลายที่ไม่ทำงานด้วยการส่องกล้อง (POEM; Peroral Endoscopic Myotomy) ซึ่งขณะนี้เราเป็นศูนย์ที่ให้บริการรักษาด้วยวิธีนี้มากที่สุดในประเทศไทย" นอกจากนี้ ประธานศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ยังระบุเพิ่มเติมถึงทิศทางการพัฒนาศูนย์ในอนาคตว่า ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ SiPH จะมีการต่อยอดด้านการพัฒนาคุณภาพผ่านแนวทางการดูแลผู้ป่วย โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของการบริการ อาทิ การดูแลผู้ป่วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน และวางแผนจะเป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยซับซ้อนทางด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ รวมถึงเป็น หน่วยงานตัวแทนของประเทศไทย ที่จะพัฒนานวัตกรรมในการรักษา ริเริ่มงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับ โรคทางเดินอาหารและตับ จะเป็นเสมือน "โมเดล" ให้กับศูนย์อื่นๆ ในการเจริญรอยตามขึ้นมาในอนาคต "โรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับบางส่วนมีสาเหตุเกิดจาก การใช้ชีวิตที่ไม่สมดุลย์ ทั้งเรื่องการ รับประทานอาหารมากไป น้อยไป อาหารรสจัดเกินไป ภาวะความเครียดจากการทำงาน หรือภาระต่างๆ ในครอบครัว รวมไปถึงขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเครียดสะสม และเจ็บป่วยง่าย ฉะนั้นการป้องกันโรคร้ายที่ดีที่สุด คือรู้ให้ทันโรคและปรับการดำเนินชีวิตให้สมดุลย์ ทั้งร่างกาย และ จิตใจ" ประธานศูนย์สรุป ด้าน รศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ระบบทางเดินอาหาร และตับ กล่าวว่า ระบบทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น "ทางเดินอาหารตอนบน" ประกอบด้วย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก มีหน้าที่โดยตรงในการย่อยอาหาร ดูดซึมอาหาร กำจัดกากอาหาร และของเสียออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระ ซึ่งอวัยวะทั้งหมดนี้ สามารถเกิดภาวะเลือดออกได้เสมอ ทั้งที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตา และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งจะทราบได้จากการตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด ซีบีซี (CBC)และต้องตรวจสืบค้นด้วยวิธีเฉพาะเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร เป็นต้น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารเกิดได้ทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย แต่พบในผู้ชายได้สูงกว่า ในผู้หญิง และภาวะนี้พบได้ในทุกอายุ แต่โดยทั่วไป เป็นภาวะที่พบในผู้ใหญ่วัยกลางคนขึ้นไป สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ หลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง เช่น จากภาวะมีความดันสูงในระบบ ไหลเวียนเลือดของตับ หลอดอาหารอักเสบ มีแผลในหลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อน มะเร็งหลอดอาหาร ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ส่งผลให้เลือดออกง่าย โรคของกระเพาะอาหาร โรคของลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่อักเสบ ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคริดสีดวงทวาร ฯลฯ "ไลฟ์สไตล์คนเมืองที่เร่งรีบ ทำให้ต้องเผชิญกับภาวะความเครียด การรับประทานอาหาร ที่ไม่ตรง เวลาและอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ทั้งอาจด้วยกรรมวิธีการปรุง หรือวัตถุดิบที่นำมาปรุง ร่วมกับอาจมีสาเหตุอื่นทำให้เป็นโรคร้าย อย่างโรคท็อปฮิตในปัจจุบันที่มักพบบ่อยในกลุ่มคนเมือง คือ โรคกรดไหลย้อน ในประเทศไทยพบว่า ผู้มีอาการปวดท้องตอนบนจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน ซึ่งกรดไหลย้อนจะพบทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย จริงๆโรคนี้สามารถรักษาได้ แต่หากปล่อยไว้เรื้อรังจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และมีส่วนน้อยมากที่อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งหลอดอาหาร สำหรับสาเหตุของกรดไหลย้อน เกิดจาก ความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร การบีบตัวของหลอดอาหารผิดปกติ และ ภาวะอ้วนหรือ น้ำหนักตัวมากส่งผลให้แรงดันในช่องท้องสูง รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ การกินอาหารบางชนิด เช่น อาหารมัน การกินและนอนทันทีในบางราย" รศ.นพ.ทวีศักดิ์ กล่าว "วิธีการตรวจรักษาแนวทางการรักษาโรคกรดไหลย้อน คือ ประกอบด้วยการปรับพฤติกรรม ร่วมกับ ทานยาลดการคัดหลั่งของกรดเป็นเวลา 4 - 8 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง อาจใช้การรักษา ด้วยการส่องกล้องหรือการผ่าตัด" ในด้านการวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยโรคตับนั้น รศ.นพ.ทวีศักดิ์ได้กล่าวถึง แนวทางการรักษาโรคตับแข็ง และมะเร็งตับในปัจจุบันว่า สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา และหาสาเหตุ ของโรค เพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ หลอดเลือดโป่งพองบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออก ภาวะน้ำในช่องท้องหรือท้องมาน ตรวจค้นหามะเร็งตับที่อาจเกิดขึ้นในตับแข็ง เป็นต้น ซึ่งในรายที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาแล้วจึงจะพิจารณาการผ่าตัดปลูกถ่ายตับต่อไป "ที่ศูนย์เรามีเทคโนโลยีในการตรวจรักษาโรคตับที่ก้าวหน้าระดับสากล อาทิ ไฟโบรสแกน (Fibroscan) เป็นเครื่องตรวจดูสภาพการเกิดพังผืดในเนื้อตับด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอันเป็นเทคโนโลยี การแพทย์ล่าสุดที่ใช้กันอยู่ โดยอาศัยหลักการว่าเนื้อตับปกติจะมีลักษณะนิ่ม แต่ถ้ามีพังผืดมาก หรือแข็งมาก เนื้อตับก็จะแน่นมากกว่าปกติ ปัจจุบันเครื่องนี้ได้ถูกนำมาใช้ประเมินสภาพความแข็งของเนื้อ ตับเพื่อทดแทนการเจาะชิ้นเนื้อตับ ผลที่ได้จากการตรวจจะช่วยในการพยากรณ์โรคแทรกซ้อน เพื่อติดตามผล และประเมินโรคที่เป็น โดยไม่เกิด ความเจ็บปวดใดๆ กับร่างกาย ลดอัตราการแทรกซ้อน ของการเจาะตับได้ และยังลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนอนโรงพยาบาลอีกด้วย" คุณภูมิชาย ล่ำซำ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด มหาชน เปิดเผยว่า เมื่อประมาณ 5 ปีที่ผ่านมาได้ป่วยเป็นโรคแผลในสำไส้ ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ค่อยพบในเอเชีย ส่วนใหญ่โรคนี้จะเกิดกับคนผิวขาว ตนเองก็ไม่แน่ใจว่าป่วยด้วยโรคนี้ได้อย่างไร อาจจะเพราะใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน โดยอาการป่วยจะมีเลือดออกมากจนต้องเข้ามารักษาตัว และ ด้วยชื่อเสียงของ รพ. ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ในด้านเครื่องมือการรักษา ทีมแพทย์ และการบริการที่มีความทันสมัย ทำให้อาการป่วยตอนนี้ดีขึ้นอย่างมาก ประกอบกับการควบคุมเรื่องอาหารการกินโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ และออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ขณะที่ คุณเสาวณี ดลรึเดช อีกหนึ่งผู้ใช้บริการที่รพ. ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ บอกว่า ตนเองมีความเชื่อมั่นในการรักษาของทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่ถือได้ว่ามีความทันสมัยที่สุดของประเทศไทย รวมทั้งการรักษาและการบริการที่ถูกใจนี้ทำให้ตอนนี้ทั้งครอบครัวและคนใกล้ตัวได้ย้ายมาใช้บริการที่ รพ. ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กันหมดแล้ว และอีกเหตุผลหนึ่งคือใกล้บ้าน เดินทางสะดวกสบาย โดยปกติจะมาตรวจร่างกายเป็นทุกปีอยู่แล้ว ร่างกายแข็งแรงดี จะมีก็เพียงเรื่องของสายตาซึ่งเป็นไปตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ