เทสโก้ โลตัส บุกไร่มะเขือเทศ เชียงใหม่ เผยกระบวนการจัดซื้อแห่งรอยยิ้มตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

ข่าวทั่วไป Tuesday November 24, 2015 10:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--เทสโก้ โลตัส เทสโก้ โลตัส กางโรดแมพองค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สู่ CSV เน้นสร้างคุณค่าให้ธุรกิจและสังคมให้ยั่งยืนไปด้วยกัน โชว์โมเดลจัดซื้อสินค้าเกษตร "มะเขือเทศ" ตรงจากเกษตรกร ที่สร้างรอยยิ้มตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกร ลดปริมาณขยะอาหาร ได้ผลผลิตสดใหม่ปลอดภัย รวมถึงดูแลชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้าเพิ่มการซื้อตรงสร้างรอยยิ้มให้เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง นายชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองประธานกรรมการ แผนกสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า "เทสโก้ โลตัส ให้ความสำคัญกับ 3 เรื่อง คือ พนักงาน ลูกค้า และเกษตรกรคู่ค้า โดยเฉพาะในส่วนของเกษตรกร ที่เรานำการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Share Value-CSV) เข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้ชุมชนเกิดประโยชน์มากที่สุด โดยใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กรมาสร้างให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อม ๆ กัน" เช่นเดียวกับ การมาเยือนไร่มะเขือเทศในแถบ แม่โถ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ แหล่งปลูกมะเขือเทศแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำ CSV ของเทสโก้ โลตัส โดยมี นางสาว พรเพ็ญ นาถพิริยรัตน์ รองประธานกรรมการฝ่ายกำกับดูแลคุณภาพสินค้า เทสโก้ โลตัส มาช่วยอธิบายถึงกระบวนจัดซื้อสินค้าเกษตรที่ทำให้เกิดคุณค่าร่วมกัน จนสร้างรอยยิ้มที่ยิ่งใหญ่ให้แก่เกษตรกร "ที่ผ่านมา เราเพิ่มปริมาณการรับซื้อสินค้าโดยตรงจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น ผลไม้ตามฤดูกาลที่ซื้อมากกว่าปีที่แล้วถึง 150% ทั้งยังเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร ด้วยการให้คำแนะนำด้านการเพาะปลูก รวมถึงการวางแผนการสั่งซื้อล่วงหน้า จึงทำให้เกษตรกรวางแผนการเพาะปลูกและบริหารต้นทุนได้ ที่สำคัญยังลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด จนทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาราคาตกต่ำด้วย" "ก็เหมือนกับเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในแถบ แม่โถ อ.ฮอด นี้ ที่เมื่อก่อนจะปลูกอะไรก็จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ และนำสินค้านั้นมาส่งให้ศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้ โลตัส แผนกตรวจสอบสินค้าของเทสโก้โลตัสจะตรวจสอบสินค้า ถ้าผลผลิตมีการใช้ปุ๋ยเคมี ที่เกินมาตรฐานกำหนด สินค้านั้นๆ ก็จะถูกปฏิเสธการรับซื้อเพราะไม่ผ่านค่ามาตรฐาน ซึ่งก็จะทำให้เขาเสียรายได้ ผลผลิตยังเสียหายอีก" ที่ผ่านมา เทสโก้ โลตัส ยอมรับว่า สินค้าเกษตรที่พ่อค้าคนกลางส่งมาจะถูกตีกลับประมาณ 60-70% ทำให้เกษตรกรขาดรายได้จากการที่ผลผลิตเสียหาย เพราะสินค้าโดยเฉพาะผักผลไม้ มีอายุสั้น นางสาวพรเพ็ญ กล่าวอีกว่า "การรับซื้อสินค้าโดยตรงจากเกษตรกรจึงเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุด เริ่มตั้งแต่การเข้าไปพูดคุยกับเกษตรกร เพื่อปรับทัศนคติในการเพาะปลูก ให้ผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด เข้าไปช่วยวางแผนการเพาะปลูกเพื่อให้ผลผลิตออกมาในช่วงที่ตลาดมีความต้องการ ก็จะทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ทั้งหมด ไม่ต้องสูญเสีย และยังได้ราคาดี นอกจากนี้ยังแนะนำให้เกษตรกรให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนรวมผลักดันสู่มาตรฐานสากล GAP" ด้านนายชาคริต กล่าวเสริมว่า ทุกวันนี้ สังคมต้องการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและเติบโตเป็นแหล่งสร้างรายได้และความก้าวหน้าให้ชุมชน ขณะเดียวกันองค์กรเองก็จำเป็นต้องพึ่งพาสังคมในแง่ของการเป็นผู้บริโภคสินค้าที่ตนผลิตและให้เกิดมิตรภาพที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ การต่อยอดทางความคิดกิจกรรมสังคมสู่การสร้างคุณค่าแก่ทุกภาคส่วนของสังคม หรือ "CSV" (Creating Shared Value) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจ ตลอดจนสังคมโดยรวมให้แข็งแรง สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน จึงเป็นสิ่งจำเป็น ดังเช่นประโยชน์ของการทำ Direct Sourcing ของ มะเขือเทศที่แม่โถนี้ ที่เห็นได้ชัด สร้างประโยชน์ต่อเกษตรกร ที่ทำให้เกิดการสั่งซื้อที่แน่นอนกว่า 360 ตันต่อปี ทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางรายได้และมีรายได้เพิ่มเฉลี่ยกว่าปีละ 1 ล้านบาท ลูกค้าของเทสโก้โลตัสก็ได้ผลผลิตที่สดใหม่มากขึ้นอีก 1 วัน จะช่วยเพิ่มความสดของมะเขือเทศได้ยาวนานถึง 6 วัน จากเดิมที่อยู่ได้ 5 วัน ได้ขนาดของมะเขือเทสที่ดีที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าคือ 9-18 ลูกต่อกิโลกรัม ขณะที่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม จะได้รับประโยชน์จากการลดการสูญเสียมะเขือเทศไปโดยเปล่าประโยชน์ อันเกิดจากสินค้าไม่ได้มาตรฐานไปได้กว่าปีละ 30 ตัน ซึ่งการลดการสูญเสียก็กลับไปเป็นรายได้ของเกษตรกรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้คำแนะนำความรู้สมัยใหม่เกี่ยวกับการเพาะปลูกก็จะทำให้เกิดการรักษาคุณภาพของดินในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนกับเกษตรกร "เทสโก้ โลตัส ได้วางแผนงานกิจกรรมเพื่อสังคมโดยจะนำหลักการทำ CSV มาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างให้เกิดโอกาสหรือผลตอบแทนทางธุรกิจ ตลอดจนตอบสนองต่อประเด็นปัญหา หรือความจำเป็นทางสังคมที่จำเพาะเจาะจง ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ กระทั่งก่อให้เกิดประสิทธิผลทั้งในเกษตรกรเอง ธุรกิจ ลูกค้า ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม มากยิ่งขึ้น "นายชาคริตกล่าวสรุป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ