รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

ข่าวทั่วไป Friday April 8, 2016 18:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายวิทยา ผิวผ่อง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พลเอกประสาท สุขเกษตร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยมีนายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ให้การต้อนรับและสรุปสถานการณ์แล้งและการช่วยเหลือประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ จากนั้นนางสนิท ทิพย์นางรอง ประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำ บรรยายสรุปการดำเนินงาน และการขยายผลการจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ และการใช้เทคโนโลยีใหม่บริหารจัดการน้ำชุมชน ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบเงินโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้งปี 2558/59 (มาตรการที่ 4) จำนวน 86 โครงการ วงเงิน 58.58 ล้านบาท แก่ผู้แทนเกษตรกรจำนวน 14 คน (14 อำเภอ) จากนั้นในเวลาประมาณ 14.40 น. คณะได้เดินทางไปยังบ้านลิ่มทอง อ.นางรอง เพื่อตรวจเยี่ยมการนดำเนินงาน และการขยายผลการจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำ และการใช้เทคโนโลยีใหม่บริหารจัดการน้ำชุมชนจำนวน 6 จุด ได้แก่ สระแก้มลิงรับน้ำจากถนนน้ำเดิน คลอง 80 พรรษาส่งน้ำถึงนา สถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ แปลงทฤษฏีใหม่ ป่าป้าปลูก สระดักตะกอน ก่อนจะเดินทางต่อไปยังหนองทะลอก อ.นางรอง เพื่อตรวจสภาพปัญหา และกำหนดแนวทางแก้ไขหนองทะลอก พลเอก ฉัตรชัย เปิดเผยถึงสถานการณ์ผลกระทบภัยแล้งและการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ว่า สถานการณ์น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคยังไม่ประสบปัญหาแต่อย่างใด ทางผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากมูลนิธิอุทกภัยในการนำเทคโนโลยีการจัดการน้ำแนวใหม่มาช่วยในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และไม่มีพื้นทีสาธารณะไว้กักเก็บน้ำและน้ำสำรอง โดยประชาชนในพื้นที่บ้านลิ่มทอง อ.นางรองเข้ามามีส่วนร่วม และจำขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นในอนาคตด้วย ขณะที่การจัดการน้ำเพื่อการเกษตรก็มีบ้างในบางพื้นที่ที่ประสบปัญหา ซึ่งจาก 17 มาตรการของรัฐบาลพบว่ามีความความหน้าเป็นลำดับ โดยเฉพาะ 8 มาตรการของกระทรวงเกษตรฯ ได้เข้าสู่หลายพื้นที่แล้วเช่นกัน สำหรับแนวทางการเพิ่มศักยภาพการเก็บกักน้ำหนองทะลอกเพื่อเก็บกักน้ำไว้เพื่อการผลิตน้ำประปาในหลายพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่สามารถรองรับการผันน้ำจากลำปลายมาศในฤดูน้ำหลากเข้ามาเก็บกักไว้ได้โดยการปรับปรุงทางน้ำเดิมให้น้ำไหนได้สะดวกมากขึ้น ที่สามารถเก็บน้ำได้ปีละ 2-7 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนางรอวมีน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคตลอดปี พื้นที่การเกษตรของอ่างเก็บน้ำหนองทะลอกประมาณ 3,000 ไร่สามารถเพาะปลูกได้ในฤดูฝนและฤดูแล้ง ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะจัดนำไปพิจารณาจัดทำแผนและงบประมาณในปี 2560 ต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ