สกู๊ปเก่งสองภาษา...ศักยภาพที่เหนือกว่าของเด็กไทยยุคเออีซี

ข่าวทั่วไป Tuesday May 17, 2016 17:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 พ.ค.--กนกรัตน์ แอนด์ เฟรนด์ ยังคงมีเสียงมีสะท้อนจากพ่อแม่ผู้ปกครองและเยาวชนวัยเรียนว่า "การเรียนสองภาษามีข้อได้เปรียบอย่างไร? " ซึ่งแท้จริงแล้วการเรียนสองภาษาคือการเน้นการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษ แต่ยังคงสอดแทรกบริบทความเป็นไทยให้กับเด็กเพื่อความเข้าใจทั้งภาษาและวัฒนธรรมไทยควบคู่กันไป ทั้งยังเป็นการต่อยอดโอกาสทางการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ อีกข้อได้เปรียบสำคัญของการเรียนสองภาษาคือเด็กจะมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่ทำให้กลไกของสมองทำงานได้รวดเร็วและเป็นธรรมชาติกว่าการเรียนรู้ภาษาเดียว มีภาวะความเป็นผู้นำ นำเสนอความรู้ในทุกด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับตัวให้สอดรับการทุกเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วบนโลกใบนี้ แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งนับเป็นความท้าทายของประเทศไทยในการสนับสนุนให้เยาวชนที่จะเติบโตเป็นกำลังหลักของประเทศได้มีโอกาสทางการศึกษาที่เหนือกว่าและดีกว่าเดิม รวมทั้งส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่เด็กทุกช่วงวัยอีกด้วย ดังนั้น ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาสำคัญที่ต้องส่งเสริมควบคู่ไปกับภาษาประจำชาติของแต่ละคน เพื่อเป็นใบเบิกทางไปยังการเรียนรู้ภาษาอื่นๆในอาเซียนต่อไป ล่าสุดในงาน "SATIT RANGSIT OPEN HOUSE 2016" ที่เปิดบ้านแนะนำโรงเรียนให้ผู้ปกครองและบุคคลที่สนใจได้เข้าร่วมสัมผัสกับนวัตกรรม และการนำเสนอผลงานต่างๆ ของนักเรียน ที่เน้นทักษะด้านการเรียนการสอนแบบ 2 ภาษา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะดึงศักยภาพของเด็ก นอกจากการใช้ภาษาอังกฤษแล้วยังเน้นพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ เป็นผู้นำ และนำเสนอเป็น ภายในงานยังมีการสาธิตทักษะด้านการนำเสนอโครงการต่างๆ ในรูปแบบของภาษาไทยควบคู่กับภาษาอังกฤษที่ชูจุดเด่นด้านศักยภาพของเด็กสองภาษาในการนำเสนอให้โครงงานมีความน่าสนใจได้อย่างดีเยี่ยม โดย ดร.อภิรมณ อุไรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้จัดการ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า "หนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญ คือการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมระดับสากล เพื่อเสริมสร้างแห่งการเรียนรู้ สร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็ก ปูพื้นฐานให้ก้าวเป็นพลเมืองอาเซียนที่มีศักยภาพพร้อมสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในโลกไร้พรมแดนนี้ โดยทิศทางใหม่ของการจัดการศึกษา คือ การศึกษาที่มีคุณภาพ จากเดิมที่เน้นสร้างโอกาสทางการศึกษาในโรงเรียน จึงปรับเปลี่ยนแนวคิดพยายามเข้าถึงความถนัดและความสามารถของเด็ก เพื่อสร้างโอกาสและข้อได้เปรียบในการศึกษาให้เหนือกว่าเด็กทั่วไป โดยการสร้างเด็กยุคเออีซีต้องเริ่มจากการศึกษาแบบสองภาษาที่มีคุณภาพ สร้างพื้นฐานด้านภาษาและปลูกฝั่งภาวะผู้นำให้กับเด็ก เพื่อให้เกิดทักษะเชื่อมโยงกับความต้องการของตลาดแรงงานในสาขาวิชาชีพชั้นนำในอนาคต" ? ? ทั้งนี้ เด็กไทยที่เก่งภาษาต่างประเทศถือเป็นข้อได้เปรียบในยุคประชาคมอาเซียนก็จริง แต่ไม่ควรลืมความเป็นไทย ดังนั้นจึงควรเรียนแบบคู่ขนาน คือเก่งทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งความเป็นไทยและต้องผสมผสานความเป็นสากลให้เกิดการเรียนรู้และซึมซับอย่างเป็นธรรมชาติ สร้างความเป็นผู้นำ มีส่วนร่วมในชั้นเรียน รู้จักวิธีการนำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันองค์ความรู้ร่วมกับคนอื่นในชั้นเรียน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กมีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย และเกิดความสนุกสนานกับการเรียนมากยิ่งขึ้น ? ? ดร.สุนีย์? ?สอนตระกูล ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า "นอกจากจะให้ความสำคัญในการพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมด้านภาษาเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) แล้ว ยังเสริมทักษะด้านการแสดงออกในการนำเสนอโครงงานต่างๆ ของนักเรียนให้มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสังคมปัจจุบันเปิดกว้างให้เด็กแสดงความคิดความอ่านในแบบของตัวเอง เสริมสร้างให้เด็กรู้จักความกล้าที่จะแสดงออกในด้านที่ตนถนัดและสนใจ ทางโรงเรียนจะให้ความสำคัญที่ตัวเด็กเป็นหลัก ให้เด็กเลือกหัวข้อการเรียนรู้ที่สนใจประกอบกับคิดท่าทางประกอบโครงงานให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยมีครูผู้สอนคอยแนะนำเทคนิคต่างๆ อย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังส่งเด็กๆ เข้าประกวดในโครงการต่างๆ มากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นเหมือนการฝึกฝนและผลักดันให้เด็กเติบโตในประชาคมอาเซียนได้อย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ทางโรงเรียนควรเปิดโอกาสให้คุณพ่อคุณแม่เข้ามาเยี่ยมชมนิทรรศการการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และนวัตกรรมการเสนอผลงานด้วยไอแพด ที่นักเรียนเป็นผู้จัดทำขึ้นเองอีกด้วย" ด้านความเห็นของนักเรียนหลักสูตร 2 ภาษาที่ได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมโอเพ่นเฮ้าส์ในครั้งนี้ เริ่มกันที่น้องสุพรีม ด.ญ.พนิตพิชา สมานรักษ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กล่าวว่า "หนูสนุกทุกครั้งกับการเรียนที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่หนูเป็นคนไทยก็ต้องมีความเข้าใจและใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เพราะคุณครูบอกว่าถ้าหนูจะเรียนต่อก็ต้องสอบข้อเขียนที่เป็นภาษาไทยด้วย คุณครูที่ปรึกษาของหนูจะคอยบอกเทคนิคต่างๆ อย่างการนำเสนองานในห้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษในวันนี้ คุณครูก็จะแนะนำให้เอาเนื้อหากลับไปอ่านที่บ้าน และทำความเข้าใจมากกว่าการอ่านแบบท่องจำ ในตอนแรกจะติดขัดนิดหน่อย แต่พอได้ออกไปนำเสนอหน้าห้องบ่อยขึ้น ก็เริ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้คล่องขึ้นค่ะ" ? ?ด้านน้องยูจีน ด.ญ.ญาณิศา จิระวงศ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กล่าวอย่างภูมิใจว่า "ทุกๆ ครั้งที่จะมีการพรีเซ้นต์ คุณครูจะให้เนื้อหามาอ่านทำความเข้าใจและให้หนูหัดพรีเซ้นต์ให้คล่อง ส่วนใหญ่จะใช้เวลึก 2-3 วัน สำหรับการพรีเซ้นต์โครงการคุณธรรม 12 ประการ หนูได้คุณครูและคุณพ่อคุณแม่ช่วยฝึกฝน และเพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง อันดับที่ 1 ในการแข่งขันทักษะวิชาการและสิ่งประดิษฐ์โรงเรียนเอกชน จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นรางวัลที่หนูและเพื่อนๆ ภูมิใจมากค่ะ" น้องอ้อน -กฤติกา จันทรเวคิน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่าว่า "การที่เราเป็นเด็กสองภาษา ทำให้เราได้เปรียบกว่าคนอื่นทางด้านการสื่อสาร เพราะในโลกนี้ส่วนใหญ่ก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักค่ะ อีกข้อได้เปรียบของที่นี่ก็ยิ่งการฝึกให้เรากล้าแสดงออกในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิด ความกล้าทำในสื่งต่างๆ รวมถึงในห้องเรียน ก็จะมีการออกไปนำเสนอหน้าห้องให้เพื่อนๆฟัง ทั้งในแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษในภาควิชาภาษาอังกฤษค่ะ อีกทั้งสร้างโอกาสในการเลือกศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ โดยเฉพาะสาขาอาชีพเฉพาะทาง อย่างแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งการสอบแข่งขันในไทยก็ยังเป็นภาษาไทย แต่เรามีต้นทุนได้ภาษาอังกฤษที่ดีมาเพิ่ม และหนูคิดว่าข้อได้เปรียบนี้เหมือนเป็นแรงผลักดันให้หนูมีโอกาสที่ดีได้มากกว่าคนอื่นๆค่ะ"

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ