แพทย์แนะมนุษย์ติดจอเกินพอดี หยุดพักสายตา ลดปัญหา “สายตาล้าเรื้อรัง”

ข่าวทั่วไป Wednesday May 18, 2016 17:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 พ.ค.--mascot communication โดย พญ.โสมสราญ วัฒนะโชติ ผู้อำนวยการศูนย์จักษุกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ในยุคที่โลกไอทีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ แทบจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่หลายคนพกติดไว้ไม่ห่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เรียกว่าเป็น "สังคมก้มหน้า" ที่ต่างคนต่างจดจ่ออยู่กับอุปกรณ์เทคโนโลยีตรงหน้าแบบไม่สนใจใคร โดยไม่รู้เลยว่าพฤติกรรมดังกล่าวกำลังส่งผลทำให้ประสบภาวะสายตาผิดปกติที่เรียกว่า "สายตาล้าแบบเรื้อรัง" พญ.โสมสราญ วัฒนะโชติ ผู้อำนวยการศูนย์จักษุกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า โดยทั่วไปคนเราจะกระพริบตาประมาณ 20 ครั้งต่อนาที เพื่อให้ดวงตาได้รับความชุ่มชื้น แต่ขณะที่ใช้โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตนั้น การจ้องหน้าจอเป็นระยะเวลามากกว่า 40 นาที จะส่งผลให้เลนส์ตาเกร็งตัวเป็นเวลานาน อัตราการกระพริบตาลดลง อีกทั้งแสง UV และแสงสีฟ้าที่สะท้อนออกมายังสามารถทำลายดวงตาให้ผิดปกติได้ นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยปัจจัยอื่น เช่น หน้าจอที่เล็ก แสงสว่างในบริเวณนั้นๆ มีไม่เพียงพอ หรือแม้แต่แสงจากภายนอกที่เข้ามาปะทะหน้าจอแล้วสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้ตาแห้งแสบตา เกิดปัญหาการยืดหยุ่นของเลนส์จนกล้ามเนื้อตาเป็นตะคริว ทำให้เกิดการมองเห็นที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสายตาสั้น อาการคอมพิวเตอร์วิชชั่นซินโดรม โรคต้อเนื้อ ต้อลม และจอประสาทตาเสื่อมได้ ภาวะสายตาผิดปกติอาจแยกออกได้เป็นสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุ ซึ่งทางเลือกในการแก้ไขนั้นมีหลายวิธี เช่น ใส่แว่นสายตา ใส่คอนแทคเลนส์ หรืออีกวิธีหนึ่งที่นับว่ามีความทันสมัยในปัจจุบันนั่นก็คือการผ่าตัดที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ไล่เรียงตั้งแต่วิธีกรีดกระจกตา ขัดผิวกระจกตา มาจนถึงวิธีที่ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัย แม่นยำ และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ตัดปัญหาเรื่องการใส่แว่นหรือหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากใส่คอนแทคเลนส์นานๆ นั่นก็คือ LASIK (เลสิก) ที่ต่อมาได้พัฒนาไปถึงเทคนิคที่ว่าด้วยการทำเลเซอร์ทุกขั้นตอน หรือ FemtoLASIK และ ReLEx (Refractive Lenticule Extraction) โดย ReLEX ของศูนย์เลสิกกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ เลือกใช้นวัตกรรมเครื่องแยกชั้นกระจกตา Femtosecond laser รุ่น VisuMax ที่สามารถแยกผิวกระจกตาได้อย่างเรียบเนียน อ่อนโยนต่อดวงตา ลดความคลาดเคลื่อนในการแยกชั้นกระจกตา และสามารถปรับความโค้งกระจกตาให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ ReLEX แบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกันคือ วิธีที่หนึ่ง ReLEx: FLEX ( Femtosecond Lenticule extraction) เป็นการยิงเลเซอร์แยกชั้นกระจกตาออกเป็นฝากระจกตาคล้าย FemtoLASIK แล้วจึงนำกระจกตาที่แยกไว้เป็นเลนส์ออก จากนั้นจึงปิดฝากระจกตาให้กลับสู่สภาพเดิม วิธีต่อมาคือ ReLEx : SMILE (Small Incision Lenticule Extraction) เป็นการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Refractive Surgery) โดยยิง Femtosecond laser ช่วยแยกชั้นกระจกตาให้เป็นเลนส์ในเนื้อกระจกตา แล้วนำเนื้อส่วนนี้ออก ผ่านแผลกระจกตาซึ่งมีขนาดเล็กเพียง 2 - 5 มิลลิเมตร คนไข้จึงรู้สึกสบายตาในขณะผ่าตัด ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะลดการรบกวนกระจกตา ทำให้ผลข้างเคียงน้อย และมีความแม่นยำในการรักษา ซึ่งการทำ ReLEX เป็นการแยกชั้นกระจกตา จึงไม่เหมาะสมกับผู้ที่เลนส์ตาบางเกินไปและสายตาที่สั้นมากๆ สำหรับวิธีการผ่าตัดนั้น คนไข้จะได้รับการหยอดยาปฏิชีวนะ และยาชาในตา ก่อนเข้าสู่ขั้นตอน การแยกชั้นกระจกตา แล้วใช้ Excimer laser ปรับแต่งให้มีความโค้งที่เหมาะสม จากนั้นจึงล้างทำความสะอาดแผลและปิดกระจกตาที่แยกไว้กลับเข้าที่เดิม ซึ่งผิวกระจกตาจะสมานตัวได้เอง รวมระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 15 นาทีเท่านั้น คนไข้จะได้รับการปิดฝาครอบตาซึ่งมีความใสและมีรูเล็กๆ มองลอดผ่านได้ สามารถใช้สายตาได้ปกติและกลับไปปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ทันที แต่ควรพักสายตาเป็นระยะ ระวังไม่ให้น้ำเข้าตา หมั่นหยอดยาป้องกันการติดเชื้อ งดขยี้ตา งดแต่งหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ใส่แว่นกันแดดเมื่อต้องอยู่ในบริเวณที่มีแสงจ้า รวมทั้ง 2 วันแรก ควรจะลดการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อป้องการการใช้สายตาที่มากเกินไป และมาพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ คุณหมอโสมสราญฝากทิ้งท้ายให้กับคนรุ่นใหม่ใช้ชีวิตติดจอ แนะหยุดพัก เมื่อ 'ตาล้า' ลดปัญหาเรื้อรังขณะใช้อุปกรณ์อิเลคโทรนิคต่างๆ ไม่ควรเพ่งมาก หยุดพักสายตาทุกๆ 30 นาที ปรับแสงหน้าจอและแสงสว่างภายในห้องให้เหมาะสม ควรดูแลสุขภาพจากภายในด้วยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสายตา เช่น วิตามินเอ หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยถนอมดวงตาไม่ให้โดนทำลาย รวมทั้งการมีจิตใจและสมองที่ปลอดโปร่ง หันมาพูดคุยกับคนรอบข้างบ้าง ก็จะทำให้คุณมองเห็นอะไรๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดย บริษัท แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 02-732-6069-70

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ