ปภ.ประสาน 22 จังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก เตรียมรับมืออุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ในช่วงวันที่ 23 - 26 พ.ค. 59

ข่าวทั่วไป Tuesday May 24, 2016 12:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวง มหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 22 จังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก เตรียมรับมือภาวะฝนตกหนัก ในช่วงวันที่ 23 - 26 พ.ค. 59 ทำให้เกิดอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัย อย่างใกล้ชิด จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญ เหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดสถานการณ์ภัย ตรวจสอบสิ่งก่อสร้าง ป้ายโฆษณาในเขตชุมชนและพื้นที่สาธารณะให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง กรณีสถานการณ์รุนแรงให้ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัยจังหวัด ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศ เตือนภัยอย่างใกล้ชิด นาย ฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า จากการติดตามสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ในช่วงวันที่ 23 - 26 พฤษภาคม 2559 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชั่น "โรอานู" ปกคลุมบริเวณด้านตะวันตกของประเทศเมียนมาร์ ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้ประสาน 22 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน ตาก หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาญจนบุรี ราชบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา และภูเก็ต รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง จัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อม ปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ราบต่ำริมน้ำไหลผ่าน และพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดให้ระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกหนัก พร้อมตรวจสอบเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ คันกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง สิ่งก่อสร้างในเขตชุมชนและป้ายโฆษณาในพื้นที่สาธารณะอยู่ในสภาพมั่นคงแข็ง แรง ตัดแต่งกิ่งไม้บริเวณริมถนนและพื้นที่ชุมชน เพื่อป้องกันการล้มทับ ก่อให้เกิดอันตราย กรณีสถานการณ์รุนแรงให้ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัยจังหวัด เพื่อประสานให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามพยากรณ์อากาศและ ประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรระมัดระวังในการเดินเรือ เนื่องจากทะเลมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะ 3 – 4 นี้ ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดและสำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจังหวัดสาขาในพื้นที่หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป 0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ