ไดเมนชั่น ดาต้า จับมือ ซิสโก้ ผุดโครงการพิทักษ์ชีวิต “แรด” ด้วยเทคโนโลยีติดตามตัวบุคคล รวมพลังทางเทคโนโลยีเชิงรุกเพื่อหยุดยั้งผู้ลักลอบเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแบบผิดกฎหมาย

ข่าวทั่วไป Monday June 27, 2016 11:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--มายด์ พีอาร์ ไดเมนชั่น ดาต้า และ ซิสโก้ ผู้นำเทคโนโลยีเครือข่ายระดับโลก ประกาศเจตนารมณ์ในการลดจำนวนของแรดที่ถูกฆ่าในแอฟริกาใต้ โดยนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในโลกมาปรับใช้ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่เอกชนเป็นเจ้าของแต่ยังไม่มีการตั้งชื่อ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อเฝ้าสังเกตหรือติดตามตัว เริ่มตั้งแต่เวลาที่เข้าไปในพื้นที่จนกระทั่งออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป้าหมาย คือ การแทรกแซงเชิงรุกเพื่อหยุดยั้งบุคคลที่ลักลอบเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการตัดรั้วล้อมเข้าไป การใช้เฮลิคอปเตอร์บินเข้าไปลงจอดในพื้นที่ หรือกระทั่งวิธีง่าย ๆ โดยการขับรถผ่านเข้าไป เมื่อเวลาผ่านไป เรายังสามารถถอดแบบเทคโนโลยีนี้เพื่อไปใช้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอื่น ๆ ในแอฟริกาใต้ และทั่วโลก ซึ่งไม่ใช่แค่เพื่อการปกป้องชีวิตของแรดเท่านั้น แต่ยังนำไปใช้ในการอนุรักษ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นช้าง สิงโต ตัวนิ่ม เสือในอินเดียและเอเชีย หรือกระทั่งปลากระเบนทะเลในมหาสมุทร ตามรายงานของกรมสิ่งแวดล้อมของแอฟริกาใต้ เมื่อปี 2558 พบว่า มีแรดที่เดินโซเซไปมาเพราะแก่มากแล้วต้องตายไปเพราะฝีมือผู้ลักลอบฆ่าสัตว์เฉพาะในปี 2557 ถึง 1,215 ตัว เท่ากับว่า ในแต่ละวันมีแรดถูกฆ่าตายถึง 3 ตัว และหากอัตราการล่ายังเป็นแบบนี้ต่อไป จำนวนการตายของแรดอาจไล่แซงจำนวนการเกิดของแรดตัวใหม่ภายในปี 2561 และจะทำให้แรดสูญพันธุ์ไปจากป่าแอฟริกาใต้ในปี 2568 นายบรูส วัตสัน ผู้บริหารของไดเมนชั่น อธิบายว่า "ทุก ๆวัน จะมีทั้งเจ้าหน้าที่ ซัพพลายเออร์ ผู้รับเหมา พนักงานดูแลความปลอดภัย และนักท่องเที่ยว เดินทางเข้าและออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคราวละหลายร้อยคน ซึ่งเราไม่สามารถเฝ้าติดตามได้ว่า คนเหล่านี้ได้เข้าไปทำอะไรในพื้นที่บ้าง เพราะโดยทั่วไป เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามักตั้งอยู่ในสถานที่ห่างไกล ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการควบคุมการเข้าถึงยังเป็นเทคโนโลยีแบบพื้น ๆ กระบวนการรักษาความปลอดภัยที่ยังใช้กำลังคนเป็นหลัก และระบบการสื่อสารก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก" "ด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมโยงระบบการอนุรักษ์นี้ (Connected Conservation Technology) เราจะไม่ไปแตะต้องตัวสัตว์โดยการใช้ยากล่อมประสาทเข้าจู่โจมเพื่อหาจังหวะในการใส่อุปกรณ์ตรวจจับไว้ที่นอของแรด หรือฝังชิปไว้ใต้ผิวหนัง วิธีนี้จะทำให้สัตว์มีความเครียดสูง และเป็นอันตรายได้ ซึ่งเราได้เห็นแรดหลายตัวที่กำลังจะตาย หรือตาบอด และจำเป็นต้องฆ่าให้ตายเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ทรมานเพราะการกระทำดังกล่าว" ในระยะแรก ไดเมนชั่น ดาต้า ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ซิสโก้ เพื่อรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานแห่งชาติ พนักงานดูแลความปลอดภัย หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และทีมเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุม ก้าวแรกคือ การสร้างเทคโนโลยีเครือข่ายความปลอดภัยในเขตพื้นที่อนุรักษ์ (secure Reserve Area Network-RAN) และการติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณไว-ไฟในจุดสำคัญต่าง ๆ ให้เกิดความสมบูรณ์ในการใช้งาน ส่วนระยะที่สองของโครงการเชื่อมโยงระบบการอนุรักษ์นี้ คือ การประสานระบบการทำงานของกล้องซีซีทีวี โดรนซึ่งติดตั้งกล้องอินฟราเรด กล้องจับภาพจากความร้อน อุปกรณ์ตรวจจับยานพาหนะ และอุปกรณ์ตรวจจับการสั่นสะเทือน ผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายความปลอดภัยอัจฉริยะ โดยไดเมนชั่น ดาต้า เลือกใช้เครือข่ายความปลอดภัยในเขตพื้นที่อนุรักษ์ หรือ RANs ของซิสโก้ ซึ่งนับเป็นการติดตั้งระบบดังกล่าวนี้เป็นครั้งแรกของโลก นายคริส เดดิโคท รองประธานผู้บริหารฝ่ายขายระดับโลกของซิสโก้ กล่าว่า "แอฟริกาใต้ ณ ปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัยของแรดราว 70% ของจำนวนแรดทั้งหมดในโลก โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ซึ่งเป็นจุดผลักดันให้เราตัดสินใจใช้เป็นต้นแบบในการทำโครงการเชื่อมโยงระบบการอนุรักษ์นี้ การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับไดเมนชั่น ทำให้ทีมงานสามารถขับเคลื่อนการทำงานได้อย่างรวดเร็วในการศึกษาและสร้างโซลูชั่นแบบดิจิตอลที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อปกป้องชีวิตของแรดบนความเข้าใจที่ถ่องแท้ โปร่งใส และมีมุมมองที่แจ่มชัดเพื่อการตัดสินใจด้วยความรอบรู้ มีประสิทธิภาพ และสามารถยับยั้งการลักลอบฆ่าสัตว์ที่เกิดขึ้นได้"

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ