โรคปอดอักเสบในเด็ก PNEUMONIA โรคปอดอักเสบในเด็ก(PNEUMONIA)

ข่าวทั่วไป Thursday June 30, 2016 12:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 มิ.ย.--รพ.วิภาวดี เป็นการอักเสบ/การติดเชื้อของเนื้อปอดชั้นใน นอกจากนี้ยังรวมถึงหลอดลมและถุงลมอีกด้วย โรคนี้เกิดได้กับคนทุกวัย ทำให้ความสามารถในการทำงานของการหายใจลดลง และทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรง บางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการ หรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้าย สาเหตุของโรคเกิดได้จาก -การติดเชื้อไวรัส(ส่วนใหญ่) เช่น Respiratory Syncytial Virus (RSV), ไข้หวัดใหญ่ -การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus Pneumonia) (พบมากที่สุด) เชื้อฮิบ (Hib) -การติดเชื้อไวรัสและการติดเชื้อไวรัสร่วมกัน -การติดเชื้อรา / พยาธิ(ส่วนน้อย) -การแพ้ / การระคายเคืองต่อสารที่สูดดมเข้าไป โรคปอดอักเสบในเด็ก มีลักษณะอาการอย่างไร อาการแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ / อายุของผู้ป่วย / ความรุนแรงของโรค อาการที่สำคัญ -ไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย -บางรายอาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร้องกวนและงอแง บางรายจะมีหนาวสั่นได้ -อาการในเด็กทารก ส่วนมากจะไม่มีลักษณะเฉพาะ อาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมีอาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ ผู้ป่วยเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบ -เด็กที่อายุน้อย -เด็กที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย เด็กคลอดก่อนกำหนด -เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ -เด็กที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางสมอง -เด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรืออยู่ในชุมชนแออัด สุขาภิบาลไม่ดี -เด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลรอบข้าง -เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีเด็กมาก ๆ การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบในเด็ก -การซักถามประวัติอาการ -การตรวจร่างกายและตรวจระบบทางเดินหายใจ -การตรวจทางห้องปฏิบัติการ -การตรวจเสมหะ การเพาะเชื้อ -การตรวจน้ำเหลือง -การตรวจแอนติเจน เช่น การตรวจ Rapid test และ RT-PCR for RSV และ INFLUENZA -การตรวจภาพรังสีทรวงอก (เอ็กซเรย์ปอด) -ส่องกล้องผ่านทางหลอดลม (เฉพาะผู้ป่วยบางราย) การรักษาโรคปอดอักเสบในเด็ก อาการไม่รุนแรง -ยาปฏิชีวนะรับประทาน (ในกรณีที่สงสัยว่าปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย) และนัดผู้ป่วยมาดูเป็นระยะ ๆ ได้ อาการหนักต้องรับไว้ในโรงพยาบาล -ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน -ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหอบมาก ต้องการออกซิเจน -ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน -ผู้ป่วยเด็กที่กินยาแล้วไม่ได้ผล -ผู้ป่วยเด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ -พ่อแม่ไม่แน่ใจว่าจะดูแลเด็กได้ดีพอหรือไม่ การให้น้ำและอาหาร ช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ขับเสมหะได้ง่ายขึ้น ลดการคั่งค้างของเสมหะที่อุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก ทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกายจากภาวะไข้สูง หายใจหอบเร็ว การให้ออกซิเจน ให้ในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหอบมาก เขียว ซึม กระวนกระวาย ไม่ยอมกินนมและน้ำ หายใจเร็วมากกว่า 70 ครั้งต่อนาที ยาปฏิชีวนะ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับ อายุของผู้ป่วยเด็ก ประวัติการสัมผัสติดเชื้อ โอกาสที่เชื้อจะดื้อยา รวมถึงข้อมูลจากการซักถามประวัติ อาการอื่น ๆ ประกอบ การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ ยาลดไข้ การเคาะปอด เพื่อให้เสมหะออกได้ การให้ยาขยายหลอดลม ทำอย่างไรจึงจะปกป้องลูกน้อยจากโรคปอดอักเสบได้ -การเลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพแข็งแรง -สร้างสุขอนามัยที่ดี -กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ใสหน้ากากอนามัย -ควรเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปในที่ชุมชนและสถานที่แออัดเป็นเวลานาน ๆ -หากบุตรหลานของท่านมีอาการไข้ ไอ หอบ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว -พิจารณาเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนสำหรับป้องกันโรค -วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ (Hib vaccine) -วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (Pneumococcal vaccine) -วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine) ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ