กพร. ชูยุทธศาสตร์ยกระดับอุตฯแร่ในประเทศไทย พร้อมเผย 3 รายชื่อแร่เศรษฐกิจสร้างมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อปี

ข่าวทั่วไป Wednesday July 6, 2016 12:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--เจซีแอนด์โคพับลิครีเลชั่นส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เผยยุทธศาสตร์มาตรฐานอุตสาหกรรมแร่และผู้ประกอบการเหมืองแร่ในประเทศไทย ด้วยการกำหนดมาตรการกำกับดูแลและตรวจสอบการทำเหมืองตามมาตรฐานสากล พร้อมเน้นย้ำเรื่องการสร้างความยอมรับการประกอบการเหมืองแร่กับภาคประชาชน ผ่านการเตรียมความพร้อม 3 ด้าน ได้แก่ จัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานก่อนการทำเหมือง (Baseline Data) การจัดการประเด็นและภาวะวิกฤติ (Issue and Crisis Management) และสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน (Community Relations Management) ทั้งนี้ ปัจจุบันผลผลิตแร่ที่มีมูลค่าสูงที่สุดคือ หินปูนมีมูลค่า2.19 หมื่นล้านบาท ลิกไนต์ 1.45 หมื่นล้านบาท และยิปซัมมีมูลค่า 7.04 พันล้านบาท รวมผลผลิตแร่ทั้ง 3 ชนิด มีมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 4 หมื่นล้านบาท นายชาติ หงส์เทียมจันทร์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า อุตสาหกรรมเหมืองแร่ถือเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่มีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า ก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ เซรามิค แก้ว และกระจก เป็นต้น โดยปัจจุบันมีการเปิดทำเหมืองจำนวน 585 เหมือง โดยในปีที่ผ่านมาสามารถสร้างมูลค่าผลผลิตแร่กว่า 6.34 หมื่นล้านบาท ซึ่งแร่ที่มีมูลค่าการผลิตสูงที่สุดคือ หินปูน ลิกไนต์ และยิปซัม โดยมีมูลค่า 2.19 หมื่นล้านบาท1.45 หมื่นล้านบาท และ 7.04พันล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตแร่ที่สามารถส่งออกได้สูงสุด ได้แก่ ยิปซัม ดีบุกและทองคำ มีมูลค่าการส่งออก 5.01พันล้านบาท 4.27 พันล้านบาท และ 4.21 พันล้านบาท ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าแร่ของไทยมีมูลค่าการนำเข้า 6.19 หมื่นล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยแร่นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหินบิทูมินัส 2.59 หมื่นล้านบาท ถ่านหินชนิดอื่น 1.82 หมื่นล้านบาท สังกะสี 1.9 พันล้านบาท เป็นต้น นายชาติ กล่าวต่อว่า กพร. ในฐานะหน่วยงานหลักในการอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการอุตสาหกรรมแร่และโลหการ ได้มีการกำหนดมาตรการกำกับดูแลและตรวจสอบเหมืองแร่ไว้ตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุน ตลอดจนประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ โดยการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดทั้งด้านวิศวกรรมและความปลอดภัย ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงการตรวจสอบการทำเหมืองตามเงื่อนไขในประทานบัตร โดยเฉพาะการตรวจสอบคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งคุณภาพอากาศ น้ำ เสียง และแรงสั่นสะเทือน ทั้งนี้ กพร. ได้มีการประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อตรวจสอบและติดตามผลการประกอบกิจการเหมืองแร่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการฯ ของสถานประกอบการ รวมถึงรับเรื่องร้องเรียนจากชุมชน และเครือข่ายภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทั้งนี้หากพบว่ากิจการเหมืองแร่ปฏิบัติไม่สอดคล้องกับมาตรการฯที่กำหนด หรือส่งผลกระทบต่อชุมชน จะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และสั่งการให้ผู้ประกอบการปรับปรุงภายในระยะเวลาที่กำหนดและติดตามผลอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามปัจจุบัน กพร. มีการกำกับดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมพื้นฐานจำนวนมาก โดยเป็นจำนวนสถานประกอบการที่อยู่ในการกำกับดูแลของ กพร. ทั้งสิ้น 1,459 ราย อาทิ เหมืองแร่ 585 ราย โรงแต่งแร่ 247 ราย โรงโม่ บด หรือย่อยหิน 334 ราย และโรงประกอบโลหกรรม 44 ราย นายชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากกิจการเหมืองแร่จะต้องได้รับใบอนุญาตสัมปทานอย่างเป็นทางการจากภาครัฐแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจากภาคสังคม (Social license to operate: SLO) ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย การได้รับความเชื่อถือและความไว้วางใจจากชุมชน โดยเครื่องมือสำคัญในการประกอบกกิจการเหมืองแร่เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคม คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) หรือการมีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างแท้จริง อาทิ มีการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ชุมชนสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน กพร.ได้ดำเนินการรณรงค์ให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่บริหารจัดการและปฏิบัติงานเหมืองแร่ให้เป็น เหมืองแร่สีเขียว (Green Mining) เพื่อให้สอดรับกับโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว(Green Industry)ของกระทวงอุตสาหกรรม อาทิ การประกอบการเหมืองแร่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม การลด ป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนตามมาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 และเทคโนโลยีสะอาด (CT) มีระบบดูแลความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของคนงานและชุมชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และสามารถตรวจสอบได้ โดยในปี 2558 ที่ผ่านมา มีเหมืองแร่ที่ได้มาตรฐาน เหมืองแร่สีเขียว จำนวน 85 ราย หรือประมาณร้อยละ 15 จากจำนวนเหมืองแร่ทั้งหมดในประเทศไทย พร้อมตั้งเป้าว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า เหมืองแร่ทั้งหมดในประเทศไทยจะได้รับมาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว ทั้งนี้ จากกรณีการปิดเหมืองทองคำทั่วประเทศที่ผ่านมา อาจส่งผลถึงความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่ง กพร. อยากให้เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีศึกษาให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนตระหนักผลกระทบต่อชุมชนและสังคมเป็นสำคัญ และเพื่อให้การประกอบกิจการเหมืองแร่ดำรงอยู่คู่กับสังคมได้และเกิดการยอมรับจากภาคประชาชน ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทุกรายควรมีการเตรียมพร้อมใน 3 ด้านดังนี้ 1. ข้อมูลพื้นฐานก่อนการทำเหมือง (Baseline Data) ผู้ประกอบต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์หาความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในช่วงก่อนและหลังการทำเหมืองอย่างชัดเจน 2. การจัดการประเด็นและภาวะวิกฤติ (Issue and Crisis Management) ผู้ประกอบการเหมืองแร่ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับกรณีวิกฤติการณ์ต่างๆตลอดเวลา โดยหากเกิดปัญหาขึ้นต้องรีบดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สาธารณชนให้ทราบ ก่อนที่ปัญหาดังกล่าวจะลุกลามสู่วงกว้าง 3. ความสัมพันธ์กับชุมชน (Community Relations Management) ทีมผู้บริหารควรมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจและสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเหมืองกับชุมชน เพราะนอกจากมาตรฐานการทำเหมืองที่มีคุณภาพ ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชนแล้ว ความเข้าใจของประชาชนในชุมชนโดยรอบเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้การประกอบธุรกิจเหมืองแร่ประสบความสำเร็จ นายชาติ กล่าวทิ้งท้าย ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯโทรศัพท์ 0-2202-3555หรือเข้าไปที่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ