กัมพูชาเลื่อนสถานะเป็นประเทศรายได้ปานกลาง: โอกาสและความเสี่ยงของธุรกิจไทย

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday July 26, 2016 10:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--EXIM BANK โดยฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ธนาคารโลก (WB) ปรับสถานะกัมพูชาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ (Lower-middle-income Economies) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 โดยพิจารณาจากรายได้ประชาชาติต่อคนต่อปี (GNI per capita) ของกัมพูชาปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 1,070 ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าเกณฑ์ประเทศที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งอยู่ที่ 1,025 ดอลลาร์สหรัฐ สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการไทยต้องจับตามอง โอกาสขยายตลาดสินค้าและการลงทุนในกัมพูชา จากการที่ชาวกัมพูชามีรายได้สูงขึ้น เป็นผลดีต่อการขยายตลาดสินค้าและธุรกิจในกัมพูชา ดังนี้ สินค้าที่มีแนวโน้มเติบโตตามความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวกัมพูชา ได้แก่ รถยนต์ใหม่ ชาวกัมพูชาที่มีฐานะดีขึ้นมักซื้อรถยนต์ใหม่แทนรถยนต์มือสองที่ใช้กันทั่วไป เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า และตู้เย็น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ขณะที่ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกของผู้ผลิตรายสำคัญของโลก ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม อาทิ แป้งแต่งหน้า รองพื้น ลิปสติก และเครื่องสำอางต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสลงทุนธุรกิจที่เน้นตลาดในกัมพูชา ทั้งท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง รับเหมาก่อสร้าง ออกแบบ และตกแต่งภายใน อาหารแปรรูป แฟรนไชส์ และธุรกิจสื่อและบันเทิง เป็นต้น สิทธิ์ EBA คืออะไร? ความเสี่ยงของธุรกิจไทยจากการที่กัมพูชาอาจถูกตัดสิทธิ์ EBA จาก EU EU ให้สิทธิ์ EBA แก่ 48 ประเทศ ซึ่งสินค้าส่งออกทุกรายการ ยกเว้นอาวุธยุทโธปกรณ์ จากประเทศที่ได้รับสิทธิ์ จะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าและไม่มีโควตานำเข้าจาก EU การให้สิทธิ์ EBA ของ EU พิจารณาจาก 1) เป็นกลุ่มประเทศ LDCs ตามเกณฑ์ของ UN และ 2) เป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำตามเกณฑ์ของ WB ยกเว้นเกาหลีเหนือ ปัจจุบันกัมพูชายังคงได้สิทธิ์ Everything But Arms (EBA) เพราะแม้จะหลุดจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำของ WB แต่กัมพูชายังเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) อย่างไรก็ตาม กัมพูชามีแนวโน้มจะหลุดเกณฑ์กลุ่ม LDCs และถูกพิจารณาตัดสิทธิ์ EBA ได้ในที่สุด ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจาก แนวโน้มถูกตัดสิทธิ์ EBA เป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการไทยที่มีแผนจะย้ายหรือขยายฐานการผลิตไปกัมพูชาพึงตระหนักและนำไปประกอบการตัดสินใจ เพราะสิทธิประโยชน์ที่หวังจะใช้กำลังจะหมดไป การตัดสิทธิ์ EBA บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชา (ที่มีผู้ประกอบการไทยไปลงทุนผลิตแล้ว) ที่มีสหภาพยุโรป (European Union : EU) เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป (สัดส่วนราว 70% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา และเป็นการส่งออกไป EU ถึง 45% ของมูลค่าส่งออกสินค้าดังกล่าว) รองเท้าและส่วนประกอบ (สัดส่วนราว 10% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด และส่งออกไป EU 56% ของมูลค่าส่งออกสินค้าดังกล่าว) และโรงสีข้าว (สัดส่วนราว 2.2% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด และส่งออกไป EU 60% ของปริมาณการส่งออกข้าว) อย่างไรก็ตาม หากถูกตัดสิทธิ์ EBA กัมพูชาจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) ซึ่งยังมีอัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าภาษี Most Favored Nation (MFN) โดยมีระยะเวลาในการปรับตัวเพื่อบรรเทาผลกระทบ 3 ปี นับจากวันที่ประกาศ ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ช่วงเวลาดังกล่าวปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในกัมพูชา โดยขยายการส่งออกไปตลาดอื่นๆ หรือไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังได้สิทธิ์ EBA เช่น เมียนมา กัมพูชาจะถูกตัดสิทธิ์ EBA เมื่อไหร่? ต้องผ่าน 2 ใน 3 ของเกณฑ์ที่ UN กำหนดไว้ หรือ GNI per capita เพิ่มขึ้นสูงกว่า $2,484 (เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของเกณฑ์ที่กำหนด) ต้องผ่านเงื่อนไขดังกล่าวติดต่อกัน 2 ครั้งในการทบทวนของ UN ทุกๆ 3 ปี จึงจะหลุดจากกลุ่ม LDCs GNI per capita ต้องต่ำกว่า $1,242 ทั้งนี้ UN อ้างอิงจากค่าเฉลี่ย GNI per capita 3 ปีย้อนหลังของ WB 2. Human Assets Index (HAI) ต้องต่ำกว่า 66 โดยดัชนี HAI ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่สำคัญด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น อัตราการรู้หนังสือ และสัดส่วนประชากรที่อยู่ในภาวะทุพโภชนาการ 3. Economic Vulnerability Index (EVI) ต้องสูงกว่า 32 โดยดัชนี EVI ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่สำคัญด้านความผันผวนทางเศรษฐกิจ เช่น การกระจุกตัวของภาคส่งออก และความไม่มีเสถียรภาพของผลผลิตทางการเกษตร แม้ว่าจะมีเวลาอีกอย่างน้อย 10 ปี กว่ากัมพูชาจะถูกตัดสิทธิ์ EBA อย่างสมบูรณ์ แต่ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในกัมพูชาแล้ว/มีแผนจะไปลงทุนในกัมพูชาควรให้ความสนใจกับประเด็นดังกล่าวเป็นพิเศษ เนื่องจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เน้นการส่งออกไปตลาด EU ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชาควรเริ่มมองหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจทั้งการยกระดับมาตรฐานและการพัฒนาคุณภาพสินค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาด EU รวมถึงเพื่อให้สามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ได้เมื่อการตัดสิทธิ์ EBA ของกัมพูชามีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดย EXIM BANK จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ