LHFund มองรัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่อีกระลอก มั่นใจช่วยดันตลาดหุ้นพุ่ง หนุนกองทุน 'LHJAP-E’ ให้ผลตอบแทนที่ดี

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday August 25, 2016 13:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ส.ค.--เอ็ม ที มัลติมีเดีย บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ หรือ LHFund มองเกมรัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่อีกระลอก ทั้งนโยบายการเงินและการคลัง ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น จะกดดันเงินเยนอ่อนค่าลงและส่งผลดีต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น ช่วยหนุนกองทุน 'LHJAP-E' ของ LHFund ที่เข้าลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นผ่านกองทุนชั้นนำระดับโลก Amundi Funds Equity Japan Target สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่นักลงทุน นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด หรือ LHFund เปิดเผยว่า หลังจาก LHFund เปิดขายหน่วยลงทุนในกองทุน LH JAPAN – E FUND (LHJAP-E) ให้กับนักลงทุนที่สนใจเป็นครั้งแรก เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุน ที่ต้องการเข้าลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นผ่านกองทุนที่บริหารงานโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน ทั้งนี้ บริษัทฯ มองว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นน่าจะได้รับปัจจัยบวกจากการพิจารณาออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมครั้งใหญ่อีกรอบ ทั้งการใช้นโยบายการเงินและการคลังโดยรัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้มากยิ่งขึ้นและมีเป้าหมายหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืด โดยในด้านนโยบายการเงินนั้น ในเดือนกันยายนนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีแผนทบทวนและประเมินภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่ง LHFund มองว่าเป็นการส่งสัญญาณถึงการเตรียมพร้อมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่อีกรอบ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา GDP ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2/59 ยังคงขยายตัวในระดับต่ำที่ 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา ส่วนภาคการลงทุนพบว่ายังคงหดตัวลงอันเนื่องมาจากผลกระทบเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นประมาณ17% จาก 120 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 100 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ นับจากเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2559 ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะเห็นการเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลจาก 8 หมื่นล้านล้านเยนต่อปี การขยายอายุพันธบัตรรัฐบาลที่เข้าซื้อ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจากปัจจุบันที่ -0.1% และเพิ่มปริมาณการเข้าซื้อหุ้นผ่าน ETF และREIT ของญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น ส่วนการดำเนินนโยบายการคลัง หลังจากที่ได้งบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงต้นเดือนสิงหาคมจำนวน13.5 ล้านล้านเยน ซึ่งเน้นลงทุนด้านสาธารณูปโภคและให้เงินสดแก่ประชาชนเพื่อเพิ่มการใช้จ่าย LHFund คาดการณ์ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมออกนโยบายใหม่ๆ เพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและเพิ่มสถานที่เลี้ยงเด็กเพื่อจูงใจให้ประชาชนที่ทำงานชั่วคราว (Part-Time) และผู้หญิงเข้ามาทำงานประจำเพิ่มขึ้น นโยบายการปรับลดภาษีนิติบุคคลเพื่อกระตุ้นการลงทุนของบริษัทมากขึ้น นอกจากนี้ การที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาต่างๆ เช่น ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก รวมถึงรองประธานเฟด ได้สนับสนุนธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวและมีความแข็งแกร่งเพียงพอรองรับการปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งหากเฟดมีการปรับอัตราดอกเบี้ย อาจจะเป็นแรงกดดันเงินเยนให้อ่อนค่าลงและน่าจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่จะปรับตัวดีขึ้น กรรมการผู้จัดการ บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กล่าวว่า จากปัจจัยที่กล่าวมาจึงคาดว่ากองทุน LHJAP-E จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่นักลงทุนในระยะยาวและลดความเสี่ยงจำเพาะของประเทศไทย (ถ้ามี) โดยกองทุนดังกล่าวเป็น Feeder Fund ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลักคือ Amundi Funds Equity Japan Target โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ซึ่ง Amundi Funds มีนโยบายที่จะลงทุนอย่างน้อย 67%ของสินทรัพย์รวมในหุ้นของบริษัทญี่ปุ่นที่มีมูลค่าหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินหรืออัตราการเติบโตที่แท้จริง "เรามองว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังสามารถปรับตัวขึ้นได้จากมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐาน (Valuation) ที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้ว จึงเป็นโอกาสของกองทุน LHJAP-E ที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่อีกรอบ ซึ่งจะส่งผลดีต่อตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น อัตราการจ้างงาน และจะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่นอีกด้วย" นายมนรัฐ กล่าว คำเตือน - ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน - เนื่องจากกองทุนจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศด้วยสกุลเงินเยน จึงอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ