กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร พร้อมให้การสนับสนุนงานด้านการวิจัย 3 โครงการของ สวก. เพื่อพัฒนางานวิจัยด้านการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวทั่วไป Thursday August 25, 2016 16:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ส.ค.--สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญในเรื่องงานวิจัย เนื่องจากการทำงานที่ผ่านมาได้มีการประมวลปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง ขณะเดียวกัน งานวิจัยที่ผ่านมาอาจไม่ตรงเป้า จึงได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ดำเนินการเพื่อให้สามารถนำมาสู่การปฏิบัติจริงได้ ซึ่งมีโครงการที่สำคัญ 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการทุนปริญญาเอก เฉลิมพระเกียรติ ทรงครองราชย์ ๗๐พรรษา เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จถวัลราชสมบัติครบ ๗๐ ปี 2 .โครงการ "ระบบอากาศยานไร้นักบินสำหรับการตรวจอากาศชั้นบนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการฝนหลวง" 3. โครงการ "การพัฒนานโยบายการจัดการประมงอย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานระบบนิเวศ-สังคมภายใต้ธรรมาภิบาลที่ดีเพื่อความยั่งยืนทางการประมงในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน" นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) กล่าวถึงรายละเอียดของแต่ละโครงการ ดังนี้ 1. โครงการทุนปริญญาเอก เฉลิมพระเกียรติ ทรงครองราชย์ ๗๐พรรษา เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จถวัลราชสมบัติครบ ๗๐ ปี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในสาขาที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนางานวิจัยไปสู่การสร้างนวัตกรรม โดยใช้ระยะเวลาอันสั้น และสามารถเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและประสบการณ์ได้จากการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตรต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ให้มีจำนวนที่มากขึ้นในสาขาที่รองรับ และนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมการเกษตรต่อไป โดยมีเป้าหมาย คือ บุคลากรด้านการวิจัยการเกษตรสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จำนวน ๗๐ ทุน โดยหัวข้อการวิจัยต้องสอดคล้องกับทิศทางตามยุทธศาสตร์งานวิจัย ด้านปรับปรุงพันธุ์ ด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้านการจัดการทรัพยากร ด้านอาหารสัตว์ ด้าน Seed Technology และด้านการจัดการการผลิตคุณภาพและมาตรฐาน 2. โครงการ "ระบบอากาศยานไร้นักบินสำหรับการตรวจอากาศชั้นบนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการฝนหลวง" โดย สวก. ได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยแก่ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งคณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะพัฒนาวิธีการตรวจอากาศ โดยนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาช่วยตรวจวัดอากาศชั้นบน เนื่องจาก สามารถใช้งานง่ายขอบเขตการใช้งานกว้างขวาง ลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายถูกกว่าเทคโนโลยีการตรวจวัดอากาศที่ใช้อยู่เดิม เป็นประโยชน์แก่กรมฝนหลวงฯ ในการปฏิบัติการทำฝนเทียมอย่างมาก เพราะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการใช้งบประมาณที่น้อยลง ช่วยลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งช่วยในการวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงได้อย่างแม่นยำ อีกทั้ง ลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการตรวจวัดสภาพอากาศชั้นบน ได้มากกว่า 50% จากเดิมมีค่าใช้จ่ายประมาณ 38 ล้านบาท/ปี (ใช้บอลลูนในการตรวจวัดสภาพอากาศ) ใช้ระยะเวลา 1 ปี งบประมาณ 9,640,650 บาท 3. โครงการ "การพัฒนานโยบายการจัดการประมงอย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานระบบนิเวศ-สังคม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ