มธ. ชี้ดีมานด์ “บุคลากรอินเดียศึกษา” ในไทย รุกจับมือภาคธุรกิจอินเดียปั้นบุคลากรรองรับธุรกิจไทย-อินเดียเติบโต

ข่าวทั่วไป Wednesday August 31, 2016 12:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์มธ. จับมือ ภาคธุรกิจสัญชาติอินเดีย ปั้นบุคลากรอินเดียศึกษา ผ่านการสนับสนุนทุนการศึกษาในหลักสูตรอินเดียศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) รวมมูลค่า 6 ล้านบาท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ชี้ดีมานด์บุคลากรอินเดียศึกษาในไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ หลังพบกลุ่มธุรกิจสัญชาติอินเดียเติบโตในไทยจำนวนกว่า 160 บริษัท พร้อมรุกจับมือภาคธุรกิจอินเดียปั้นบุคลากรอินเดียศึกษาผ่านการสนับสนุนทุนการศึกษาจำนวน 20 ทุน ครอบคลุม 4 ปีการศึกษา รวมมูลค่า 6 ล้านบาท ใน "หลักสูตรอินเดียศึกษา" (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศอินเดียอย่างรอบด้าน ทั้งด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงด้านอินเดียศึกษา ตลอดจนสามารถก้าวสู่การเป็นบุคลากรผู้เชี่ยวชาญอันจะเป็นกำลังสำคัญหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนและพร้อมรองรับกับการเติบโตของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอินเดียในไทยได้ในอนาคต อย่างไรก็ดี วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์มธ. ถือเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่เปิดสอนหลักสูตรอินเดียศึกษานับแต่ปี 2556 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สาธารณรัฐอินเดีย นับเป็นประเทศผู้นำที่มีบทบาทสำคัญยิ่งทั้งต่อสังคมโลกและนานาประเทศ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม รวมไปถึงด้านศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆ โดยในปัจจุบันกลุ่มนักธุรกิจสัญชาติอินเดียได้ก้าวเข้ามาทำการค้าการลงทุน ตลอดจนเข้ามามีบทบาททั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจของไทยเป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส จำกัด (TATA) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอินเดีย บริษัท ลาวาอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(LAVA) ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเดียกลุ่มบริษัท Mittal ฯลฯ ซึ่งจากความเติบโตดังกล่าว เป็นผลให้ดีมานด์ความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านอินเดียศึกษามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์เล็งเห็นถึงความสำคัญและโอกาสอันดีของบุคลากรไทย จึงได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอินเดียศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) ขึ้นเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา เพื่อรุกปั้นบัณฑิตให้มีองค์ความรู้อินเดียศึกษาอย่างรอบด้านและก้าวสู่การเป็นบุคลากรผู้เชี่ยวชาญอันจะเป็นกำลังสำคัญหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนและพร้อมรองรับกับการเติบโตของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอินเดียในประเทศไทยได้ในอนาคต ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของไทยที่บรรจุสาขาวิชาอินเดียศึกษาสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อย่างไรก็ดี จากความสัมพันธ์อันดีระหว่าง มธ. กับรัฐบาลอินเดีย จึงยังผลให้ มธ. ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการด้านศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุน ทั้งในด้านการจัดหาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภาษาฮินดีมาให้ความรู้แก่นักศึกษา รวมถึงการเปิดโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา เพื่อให้การเรียนรู้ของนักศึกษาเปี่ยมด้วยความรู้ลึก รู้จริง เรื่องอินเดียอย่างเต็มศักยภาพ โดยล่าสุด กลุ่มนักธุรกิจอินเดียในประเทศไทย ยังได้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษา จำนวนถึง 20 ทุน ครอบคลุมตลอด 4 ปีการศึกษา รวมมูลค่ากว่า 6 ล้านบาท โดยได้รับเกียรติจากนายภควันตสิงห พิศโนอี เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีรับมอบทุน ณทำเนียบท่านทูตอินเดียประจำประเทศไทย หลักสูตรอินเดียศึกษา (Indian Studies) เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอินเดียอย่างรอบด้าน ซึ่งครอบคลุมองค์ความรู้ทั้งด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ตลอดจนสามารถศึกษาต่อในระดับสูงด้านอินเดียศึกษา และสามารถก้าวสู่การเป็นบุคลากรผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านอินเดียศึกษาของตลาดงานในทุกระดับได้อย่างเต็มศักยภาพโดยตลอด 4 ปีการศึกษา นักศึกษาจะได้รับการปูพื้นฐานให้มีความรู้ความเข้าใจในประเทศอินเดียอย่างลึกซึ้ง อาทิ ภาษาฮินดี ประวัติศาสตร์อินเดีย ระบบเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองของอินเดีย ฯลฯ จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญชาวไทย และชาวอินเดียจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของอินเดีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากมหาวิทยาลัยคู่สัญญาและรัฐบาลอินเดีย พร้อมกันนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมอินเดียให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกทั้งสร้างประสบการณ์ตรงที่ไม่สามารถสัมผัสได้ในห้องเรียน ในชั้นปีการศึกษาที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 นักศึกษาจะต้องเดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในประเทศอินเดีย เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด กล่าว ทั้งนี้ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มธ. ถือเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่เปิดสอนหลักสูตรอินเดียศึกษา ควบคู่ไปกับการเปิดศูนย์อินเดียศึกษา เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้สนใจในประเทศอินเดีย ตลอดจนผู้ประกอบการที่สนใจทำการค้าการลงทุนกับนักธุรกิจชาวอินเดียอย่างไรก็ดี วิทยาลัยฯ ได้เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าวเป็นเวลาถึง 4 ปี นับแต่ปี 2556 ที่ผ่านมาโดยปัจจุบันมีนักศึกษาในหลักสูตรจำนวนกว่า 50 คน ศาสตราจารย์ดร.สมคิด กล่าวทิ้งท้าย "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งมั่นสู่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมไทยปลูกฝังจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ต่อบุคลากรและนักศึกษา ด้วยการยึดมั่นในความเป็นธรรม การมีจิตสาธารณะ และการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ให้มีคุณสมบัติผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21 สอดรับตามแนวคิด "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง" สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อในหลักสูตรดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มธ. ท่าพระจันทร์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-613-3701-4 เว็บไซต์http://www.pbic.tu.ac.th หรือติดต่อที่ งานสื่อสารองค์กร มธ. หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4493

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ