ชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงของ คนคอการเมืองต่อข่าวทุจริตจำนำข้าว เปรียบเทียบข่าวคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี

ข่าวทั่วไป Monday October 3, 2016 17:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ต.ค.--สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดผลสำรวจเรื่อง เสียงของ คนคอการเมืองต่อข่าวทุจริตจำนำข้าว เปรียบเทียบข่าวคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพจากทั่วประเทศจำนวน 1,342 คน ระหว่างวันที่ 25– 29 กันยายน ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.8 ติดตามข่าวสารการเมืองเป็นประจำทุกวันหรือเกือบทุกวัน ร้อยละ 29.4 ระบุอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และร้อยละ 5.8 ระบุบางสัปดาห์ไม่ได้ติดตาม และไม่ได้ติดตามเลย และเมื่อถามถึง ความสนใจต่อข่าว นักการเมือง พัวพันคดีทุจริต จำนำข้าว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.6 สนใจ เพราะ เป็นเรื่องสำคัญต่อผลประโยชน์ของเกษตรกร เป็นปัญหาสำคัญของประเทศและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นปัญหาของผลประโยชน์ชาติ ต้องการให้จัดการขั้นเด็ดขาด ขจัดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้ถึงต้นตอให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย ต้องการให้เห็นเป็นเยี่ยงอย่างแก่นักการเมืองรุ่นใหม่ สร้างมาตรฐานการเมืองที่สูงขึ้นให้กับการเมืองการปกครองของไทย ต้องการเห็นคนผิดได้รับการลงโทษ ในขณะที่ร้อยละ 26.4 ไม่สนใจ เพราะ เป็นเรื่องปกติธรรมดาในการเมือง ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นทั่วไป เป็นการแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบ และเป็นเรื่องการเมือง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความสนใจต่อข่าว คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีเปิดบริษัทในค่ายทหาร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 ไม่สนใจ เพราะ ไม่เกี่ยวกับปัญหาของประเทศชาติ เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ปัญหาส่วนรวม เป็นความไม่เหมาะสมเฉพาะตัวบุคคล และเป็นเกมการเมืองทำลายความน่าเชื่อถือของนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 37.1 สนใจ เพราะ เป็นบุคคลใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี สื่อให้ความสนใจ เป็นสัญญาณเตือนคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี คนอื่นๆ ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึง ข่าวคดีโกงจำนำข้าว กระทบต่อความน่าเชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.4 ระบุกระทบ ในขณะที่ร้อยละ 20.6 ระบุไม่กระทบ และเมื่อสอบถามถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ปกป้องคนใกล้ชิดและเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.4 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 17.6 ไม่เห็นด้วย และเมื่อสอบถามว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเหมาะสมในการเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อไปหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุ ยังเหมาะสมอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 9.2 ไม่เหมาะสม และร้อยละ 10.2 ไม่มีความเห็น ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารการเมืองใน 30 วันที่ผ่านมา ลำดับที่ ผลการสอบ ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน หรือ เกือบทุกวัน 64.8 2 อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 29.4 3 บางสัปดาห์ไม่ได้ติดตาม และไม่ได้ติดตามเลย 5.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจต่อข่าว นักการเมือง พัวพันกับคดีทุจริตจำนำข้าว ลำดับที่ ความสนใจของประชาชน ค่าร้อยละ 1 สนใจ เพราะ เป็นเรื่องสำคัญต่อผลประโยชน์ของเกษตรกร เป็นปัญหาของผู้นำประเทศ เป็นปัญหาของผลประโยชน์ของชาติ ต้องการให้จัดการขั้นเด็ดขาด ขจัดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้ถึงต้นตอหมดไปจากสังคมไทย ต้องการให้เห็นเป็นเยี่ยงอย่างแก่นักการเมืองรุ่นใหม่ สร้างมาตรฐานการเมืองที่สูงขึ้นให้กับการเมืองการปกครองของไทย ต้องการเห็นคนผิดได้รับการลงโทษ เป็นต้น 73.6 2 ไม่สนใจ เพราะ เป็นเรื่องปกติธรรมดาในการเมือง ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นทั่วไป เป็นการแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบ เป็นเรื่องการเมือง เป็นต้น 26.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจต่อข่าว คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี เปิดบริษัทในค่ายทหาร ลำดับที่ ความสนใจของประชาชน ค่าร้อยละ 1 ไม่สนใจ เพราะ ไม่เกี่ยวกับปัญหาของประเทศชาติ เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ปัญหาของส่วนรวม เป็นความไม่เหมาะสมเฉพาะตัวบุคคล และเป็นเกมการเมือง ทำลายความน่าเชื่อถือของนายกรัฐมนตรี เป็นต้น 62.9 2 สนใจ เพราะ เป็นบุคคลใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี สื่อให้ความสนใจ เป็นสัญญาณเตือนคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ เป็นต้น 37.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวคดีโกงจำนำข้าว กระทบต่อความน่าเชื่อถือ ศรัทธาของประชาชนต่อ พรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ลำดับที่ ผลการสอบ ค่าร้อยละ 1 กระทบ 79.4 2 ไม่กระทบ 20.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา ไม่ปกป้องคนใกล้ชิดและเปิดโอกาสให้มีการ ตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา ลำดับที่ ผลการสอบ ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 82.4 2 ไม่เห็นด้วย 17.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเหมาะสมในการเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ลำดับที่ ผลการสอบ ค่าร้อยละ 1 ยังเหมาะสมอยู่ 80.6 2 ไม่เหมาะสมแล้ว 9.2 3 ไม่มีความเห็น 10.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ดร.นพดล กรรณิกาโทร. 087.33.555.99สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL)โทร 02.308.0444

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ