กรมโรงงานอุตสาหกรรมเสนอผลการศึกษาพื้นที่ศักยภาพเพื่อพัฒนาด้านอุตสาหกรรม 17 จังหวัด

ข่าวทั่วไป Tuesday October 18, 2016 09:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียร่ิ่ง คอนซัลแตนท์ เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นายอภิจิน โชติกเสถียร รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน ประจำปีงบประมาณ 2559 รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อแผนการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมกว่า 200 คน ณ ห้องราชเทวี 2 โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร นายอภิจิน โชติกเสถียร รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้กล่าวภายในงานว่า การดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน หรือเรียกว่า Industrial Zoning เป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการวางแผนประเมินศักยภาพของพื้นที่เพื่อภาคอุตสาหกรรม พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรม และประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลงทุน ตลอดจนแผนการพัฒนาพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และเป็นแนวทางในการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่จะ Startup กิจการต่างๆ ในพื้นที่ โดยจะคำนึงถึงความสมดุลในมิติต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน ประจำปีงบประมาณ 2559 ได้ดำเนินการใน 17 จังหวัด โดยใน 15 จังหวัด ซึ่งได้มีการศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ ราชบุรี ปทุมธานี หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี อุบลราชธานี ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และกระบี่ ได้ศึกษารวบรวมข้อมูล ประเมินผลโดยใช้ GIS เพื่อได้พื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมแต่ละจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมระดับปานกลาง จะต้องมีการพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ สำหรับประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของแต่ละจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นพื้นฐานของแต่ละจังหวัด ยกระดับเป็นอุตสาหกรรมอาหาร โดยการเพิ่มเติมนวัตกรรม เทคโนโลยี การสร้างตราสินค้า และช่องทางการตลาด รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งจะส่งให้เกิดการพัฒนาไปยังห่วงโซ่คุณค่าในวงกว้างต่อไป และผลจากการประมวลข้อมูล และการรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้แผนงานเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการจัดเตรียมพื้นที่รองรับภาคอุตสาหกรรม ลดการเกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สำหรับอีก 2 จังหวัด ได้แก่ นครพนม และนราธิวาส ได้ดำเนินการเตรียมข้อมูลและศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ซึ่งควรส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ในการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรม การสนับสนุนการพัฒนาในรูปแบบคลัสเตอร์ การพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุนต่อไป นอกจากนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับเกียรติจาก ดร. ปิยะนิตย์ โอนพรัตน์วิบูล ผู้อำนวยการส่วนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ภาคอุตสาหกรรม สำนักพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาบรรยายพิเศษถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ในการประชุมสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานครั้งนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ