ปภ.แนะรู้จักป้องกัน - รู้ทันคลื่นพายุซัดฝั่ง ภัยพิบัติริมชายฝั่งทะเล

ข่าวทั่วไป Thursday December 8, 2016 10:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย คลื่นพายุซัดฝั่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนเขตร้อน ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าสู่ชายฝั่งทะเลอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคมเพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย (ปภ.) ขอแนะวิธีการเตรียมพร้อมรับมือ และข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง ดังนี้ การเตรียมพร้อมรับมือคลื่นพายุซัดฝั่ง - ติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ภัยอยู่เสมอ โดยรับฟังพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา หากมีประกาศเตือนภัยคลื่นพายุซัดฝั่ง ให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด - จัดเตรียมสิ่งของและเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น อาหารแห้ง น้ำสะอาด ยารักษาโรค ไฟฉาย วิทยุ นกหวีด เชือก เอกสารสำคัญต่างๆ พร้อมจัดเก็บไว้ในจุดที่สามารถนำติดตัวไปได้ทันทีที่อพยพหนีภัย - ร่วมฝึกซ้อมและศึกษาเส้นทางอพยพหนีภัย พร้อมซักซ้อมให้สมาชิกในครอบครัวทราบแนวทางการปฏิบัติ เมื่อเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง - ออกให้ห่างจากพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยอพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย หรือหลบพายุลมแรงในอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ห้ามกลับเข้ามาบริเวณชายฝั่งทะเลจนกว่าจะมีการยกเลิกประกาศเตือนภัย เพราะอาจเกิดพายุลมแรงและคลื่นซัดฝั่งตามมาอีกระลอก - ไม่ประกอบกิจกรรมทางทะเล อาทิ เล่นน้ำ ดำน้ำ เจ็ตสกี เพราะในช่วงที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านจะมี ฝนฟ้าคะนอง ทะเลมีคลื่นสูงและกำลังแรง ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับอันตราย - ห้ามทำการประมงหรือนำเรือออกจากฝั่ง โดยเฉพาะเรือขนาดเล็ก เนื่องจากทะเลมีคลื่นสูงและลมแรง อาจทำให้เรือล่มได้ - นำเรือหลบคลื่นในบริเวณที่อับลมหรือที่ปลอดภัย จากนั้นให้ใช้วิทยุสื่อสารแจ้งขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดหรือจุดที่เรือลอย ลักษณะเรือ จำนวนผู้โดยสาร เพื่อประโยชน์ ต่อการให้การช่วยเหลือ การลดผลกระทบจากคลื่นพายุซัดฝั่ง - สร้างแนวเขื่อนกั้นคลื่นพายุซัดฝั่ง ให้มีความมั่นคงแข็งแรงและมีความสูงเพียงพอที่จะป้องกันคลื่นพายุซัดฝั่ง - ปลูกป่าชายเลน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ ลดความแรง และความสูงของคลื่น จะช่วยลดความเสียหายจากลมพายุที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งทะเล ทั้งนี้ การเรียนรู้วิธีเตรียมพร้อมรับมือ ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง และการลดผลกระทบจากคลื่นพายุซัดฝั่ง จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันอันตรายจากคลื่นพายุซัดฝั่ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ