ธรรมศาสตร์ ผงาดเวทีวิจัยโลก ดึง 18 ผลงานวิจัยเมดอินไทยแลนด์ กวาดรางวัลเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติกรุงเจนีวา

ข่าวทั่วไป Wednesday April 5, 2017 16:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ · สำเร็จแล้ว! นักวิจัยวิศวกรรม-แพทย์ มธ. ผนึกกำลัง สร้างไฮไลท์ เปิดนวัตกรรม ''แอปพลิเคชันตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานตาผ่านสมาร์ทโฟน" พร้อมคว้ารางวัล Grand Prix ครั้งแรกของประเทศ ณ เวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติกรุงเจนีวา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำงานวิจัยจำนวน 18 ชิ้น คว้ารางวัลจากเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติครั้งที่ 45 (45th International Exhibition of Inventions of Geneva) จำนวนสูงสุดรวม 24 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ จำนวน 3 รางวัล รางวัลเหรียญทอง จำนวน 4 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 7 รางวัล รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 3 รางวัล รางวัล Special Award จำนวน 6 รางวัล และอีก 1 รางวัล กับรางวัล Grand Prix ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของแวดวงการวิจัยของไทยที่ได้รับรางวัลดังกล่าว กับผลงานวิจัยชื่อ ''การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอตาอย่างอัตโนมัติจากภาพถ่ายจอตาในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน (Automated Diabetic Retinopathy Screening Using Fundus Image on Mobile Application)" ซึ่งเป็นผลงานวิจัยร่วมระหว่างนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ มธ. โดยผลงานดังกล่าวสามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจในเวทีประกวดที่มีผลงานมากกว่า 700 ผลงานที่เข้าร่วมแข่งขัน จาก 50 กว่าประเทศ ทั่วโลก อย่างไรก็ดี งานประกวดดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ กรุงเจนีวาสมาพันธรัฐสวิส สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์02-564-4493 หรือเว็บไซต์ www.tu.ac.th ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ส่งผลงาน จำนวน 18 ชิ้น จากผลงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์คิดค้นใน เวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 45 หรือ 45th International Exhibition of Inventions of Geneva ณ กรุงเจนีวาสมาพันธรัฐสวิสซึ่งในปีนี้คณะวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถคว้ารางวัลสูงสุดโดยได้ถึง 24 รางวัล ได้แก่ · รางวัล Grand Prix จำนวน 1 รางวัล 1. การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอตาอย่างอัตโนมัติจากภาพถ่ายจอตาในรูปแบบแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน (Automated Diabetes Retinopathy Screening Using Fundus Image on Mobile Application) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ · รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ จำนวน 3 รางวัล 1. การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคประสาทตาเสื่อมอย่างอัตโนมัติจากภาพถ่ายจอตาในรูปแบบแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน (Automated Age-Related Macular Degenetation Screening Using Fundus Image on Mobile Application) "โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ 2. การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยอย่างอัตโนมัติด้วยการวิเคราะห์เสียงพูดในรูปแบบแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน (Automated Screening of Alzheimer's Disease and Mikd Cognitive Impairment Using Speech Analysis on Mobile Application) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์คณะแพทยศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ 3. ระบบติดตามและการคิดคำนวณค่าโดยสารแบบมาตรฐานสำหรับจักรยานยนต์รับจ้างและรถตุ๊กๆสำหรับประเทศไทย (Vehicle Tracking System and Standard Fare Calculation for Motorcycle Taxi and TukTuK Taxi in Thailand) โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ · รางวัลเหรียญทอง จำนวน 4 รางวัล 1. "การใช้เทคนิคคลื่นอัลตราซาวด์สำหรับการรักษาก้อนมะเร็งเต้านมในผู้หญิง : การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ (Focused Ultrasound Ablation for the Treatment of Female with Localized Breast Cancer Computer Simulation)" โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2. "หุ่นจำลองเพื่อการทำกายภาพบำบัดทรวงอกในเด็ก (ST-Pediatric Chest Physiotherapy Simulator)" โดย คณะพยาบาลศาสตร์ 3. "ชุดควบคุมการติดตามดวงอาทิตย์ 2 แกน" (Double-Axis Solar Tracking Conrtoller) โดย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. "เซนเซอร์วัดแสงแบบมัลติเพื่อการตรวจวัดพารามิเตอร์ต่างๆแบบพร้อมกัน (Multi-optical sensor for simultaneous analysis of some parameters) โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี · รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 7 รางวัล 1. การตรวจสอบความแท้และไม่แท้ของนาฬิกาหรูในรูปแบบแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน (Authentic and Counterfeit Detector of Luxury Watch on Mobile Application) โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2. การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยวางแผนล่วงหน้าสำหรับการกำจัดขนด้วยเลเซอร์" (Computerred Pre-Planning for Laser Hair Removal (Dermatology Application) โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 3. ระบบตรวจวัดการปนเปื้อนและวิธีตรวจจับการรั่วของน้ำ (Water Supply Contamination Monitoring and Searching Method for Water Leakage Detection) โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 4. การใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคในการพิมพ์วัสดุผง 3 มิติโดยวิธีการหลอมด้วยแสงเลเซอร์ (Ultrasonic Assisted Selective Laser Melting 3D Printing) โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 5. ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติกระตุ้นภูมิคุ้มกันพืช (Natural Plant Elicitor) " โดย ผศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ (คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์), นายพงศธร ปรโลกานนท์ โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6. ซีรั่มเมือกเห็ดนาโน สำหรับมาร์กหน้าลดริ้วรอย (Nano Mushroom Mucilage Serum for Anti-Aging Facial Treatment Mask) " โดย ผศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7. เครื่องวัดฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ : ไอซี-50 (Antioxidant Activity Analyzer : IC50 Reader) โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี · รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 3 รางวัล 1. การออกแบบและพัฒนาชุดต้นกำลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรถเข็นผัก (Designing for enhancement of Vegetable Cart) โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2. เตียงเอียงที่ปรับเคลื่อนที่ได้หลายทางสำหรับผู้ป่วยติดเตียง (Design of Lateral Bed with Multi-directional Adjustment for Bedridden) " โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ 3. เครื่องช่วยฝึกเดินด้วยการพยุงน้ำหนักบางส่วน (The TU gait trainer) " โดยคณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ · รางวัล Special Awardจำนวน 6 รางวัล ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในฐานะผู้นำทีมนักวิจัย มธ. เข้าร่วมงานประกวดในครั้งนี้ กล่าวเสริมว่า สำหรับผลงาน การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอตาอย่างอัตโนมัติจากภาพถ่ายจอตาในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน (Automated Diabetes Retinopathy Screening Using Fundus Image on Mobile Application)ที่ได้รับรางวัล Grand Prix นั้น ถือเป็นครั้งแรกของแวดวงการวิจัยของไทยที่ได้รับรางวัลดังกล่าว ซึ่งเป็นผลงานวิจัยร่วมระหว่างนักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ มธ. โดยผลงานดังกล่าวสามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจในเวทีประกวดที่มีผลงานมากกว่า 700 ผลงานที่เข้าร่วมแข่งขัน จาก 50 กว่าประเทศ ทั่วโลก อย่างไรก็ตามผลงานทั้งหมดจะถูกส่งเข้าระบบบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แบบ Fast Track เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์เป็นลำดับต่อไป อย่างไรก็ดี การเข้าร่วมการประกวดดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้ผลงานของนักวิจัยไทยได้ก้าวสู่เวทีโลกอย่างเต็มภาคภูมิ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งมั่นสู่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมไทย ปลูกฝังจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ต่อบุคลากรและนักศึกษา ด้วยการยึดมั่นในความเป็นธรรม การมีจิตสาธารณะ และการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ให้มีคุณสมบัติผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21" ทั้งนี้ งานประกวดดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ กรุงเจนีวาสมาพันธรัฐสวิสสำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4493หรือเว็บไซต์ www.tu.ac.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ