ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย โดยบริษัท Japan Credit Rating Agency, Ltd. (JCR)

ข่าวทั่วไป Sunday April 16, 2017 21:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 เม.ย.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอรายงานผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย โดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Japan Credit Rating Agency, Ltd. (JCR) ว่า เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2560 JCR ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้รัฐบาลระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของไทยที่ระดับ A- สกุลเงินบาทที่ระดับ A และคงเพดานอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไว้ที่ระดับ A+ โดยมีมุมมองความน่าเชื่อถือที่มีเสถียรภาพ (Stable outlook) รายละเอียดปรากฏดังตาราง ตารางแสดงผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดย JCR ณ วันที่ 3 เมษายน 2560 อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดย JCR Rating Outlook อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้รัฐบาลระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ A- Stable Foreign Currency Long-Term Issuer Rating อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้รัฐบาลระยะยาวสกุลเงินบาท A Stable Local Currency Long-Term Issuer Rating เพดานอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย A+ - Country Ceiling ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้รัฐบาลระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ A- สะท้อนพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับแรงสนับสนุนจากการเติบโตของอุตสาหกรรมการส่งออก ความมีเสถียรภาพของภาคธนาคาร สถานะทางการคลังที่เข้มแข็ง ตลอดจนดุลยภาพภายนอกที่แข็งแกร่ง ในขณะเดียวกัน การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2559 เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของการลงทุนภาครัฐ และการบริโภคของภาคเอกชน รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ JCR ยังคาดว่าการเดินหน้าปฏิรูปเชิงโครงสร้างของรัฐบาลปัจจุบัน ประกอบกับการส่งออกที่จะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2560 ทั้งนี้ การลดลงของประชากรในวัยทำงานและการเพิ่มสูงขึ้นของค่าจ้างแรงงานในอนาคตอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต ดังนั้น นโยบายรัฐบาลซึ่งรวมถึงมาตรการปฏิรูปเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจึงเป็น สิ่งที่จำเป็น JCR ได้รายงานว่า สถานะทางการคลังของไทยยังคงมีความเข้มแข็งเนื่องจากการดำเนินงาน ของรัฐบาลอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังที่กำหนดไว้ในกฎหมายอย่างเข้มงวด ถึงแม้รัฐบาลจะดำเนินนโยบายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมในปี 2560 และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะในช่วง ที่ผ่านมา แต่ก็เพื่อนำไปใช้ในการลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันภาคธนาคารพาณิชย์ยังคงแข็งแกร่ง โดยในปี 2559 ธนาคารพาณิชย์สามารถบริหารสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อหนี้ทั้งหมด (NPL Ratio) และอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ การเกินดุลการค้าที่ขยายตัวขึ้นอย่างมากในปี 2559 เนื่องจากการลดลงของการนำเข้า ประกอบกับการเกินดุลบัญชีบริการที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาคการท่องเที่ยว ได้ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากขึ้น และส่งผลให้ดุลการชำระเงินเกินดุลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ JCR คาดการณ์ว่าการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอาจลดลงในระยะปานกลางเนื่องจากการนำเข้าที่จะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งระดับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอาจได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ JCR ยังได้รายงานเพิ่มเติมว่า การเลือกตั้งในประเทศไทยจะจัดขึ้นภายหลังจากการยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งแล้วเสร็จ โดย JCR จะติดตามความคืบหน้าในกระบวนการเลือกตั้งและสถานการณ์ความคืบหน้าของการดำเนินมาตรการเพื่อการปฏิรูปประเทศของรัฐบาลต่อไป สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505 5518

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ