สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง โพล กฎหมายควบคุมสื่อมวลชน

ข่าวทั่วไป Tuesday May 2, 2017 17:03 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--สำนักวิจัยซูเปอร์โพล ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) ชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน เปิดเผย ผลสำรวจเรื่อง โพล กฎหมายควบคุมสื่อมวลชน กรณีตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,172 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 24 ถึง 29 เมษายน พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.7 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนค่อนข้างมาก ถึง มากสุด ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 เชื่อถือ สื่อมวลชน มีจรรยาบรรณ มากกว่า นักการเมือง โดยประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 47.0 คิดว่ากฎหมายควบคุมสื่อมวลชน จะกลายเป็น น้ำผึ้ง สร้างความขัดแย้งเกิดขึ้นในสังคม อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 53.0 คิดว่า กฎหมายควบคุมสื่อมวลชนไม่เป็นการสร้างความขัดแย้งเกิดขั้นในสังคม นอกจากนี้ เมื่อถามถึงกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานของ สื่อมวลชน ควรมีการกำหนดมาตราต่างๆ ในเชิง สร้างสรรค์การทำงาน สนับสนุนการทำงานของสื่อมวลชน โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.8 ระบุ กฎหมายควบคุมสื่อมวล ควรออกมาเชิงสร้างสรรค์ สนับสนุนมากกว่า ในขณะที่ ร้อยละ 30.2 ระบุ กฎหมายควรควบคุมสื่อแบบ เข้มข้น มากกว่า ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่าน ลำดับที่ การติดตาม ร้อยละ 1 ค่อนข้างมาก-บ่อยมากที่สุด 56.7 2 ค่อนข้างน้อย-ไม่บ่อยเลย 43.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุระหว่างนักการเมืองมีจรรยาบรรณ กับ สื่อมวลชนมีจรรยาบรรณ อะไรน่าเชื่อถือกว่ากัน ลำดับที่ ความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 1 เชื่อถือ นักการเมือง มีจรรยาบรรณมากกว่า 24.8 2 เชื่อถือ สื่อมวลชน มีจรรยาบรรณ มากกว่า 75.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ คิดว่ากฎหมายควบคุมสื่อมวลชน จะกลายเป็น น้ำผึ้ง สร้างความขัดแย้งเกิดขึ้นในสังคม ลำดับที่ กฎหมายควบคุมสื่อมวลชน ร้อยละ 1 คิดว่า เป็น 47.0 2 คิดว่า ไม่เป็น 53.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ กฎหมายคุมสื่อมวลชน ควรมีมาตราต่างๆ ในเชิง สร้างสรรค์ การทำงาน สนับสนุนการทำงานของสื่อมวลชน ลำดับที่ การทำงานของ สื่อมวลชน ร้อยละ 1 ควรออกมาเชิงสร้างสรรค์ สนับสนุน การทำงานของสื่อมวลชน มากกว่า 69.8 2 ควรออกมาควบคุมสื่อมวลชนแบบ เข้มข้น ใช้การลงโทษที่หนัก มากกว่า 30.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ดร.นพดล กรรณิกา โทร. 087.33.555.99 สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) โทร 02.308.0444

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ