“อย่าเลี้ยงลูกตามคนอื่น”การเลียนแบบวิธีเลี้ยงลูกของคนอื่น ใช้กับลูกเราได้จริงหรือ? ตอบทุกข้อสงสัยด้วย “หลักเศรษฐศาสตร์การศึกษา” ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง!

ข่าวทั่วไป Thursday May 11, 2017 08:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ค.--นานมีบุ๊คส์ ท่ามกลางแหล่งข้อมูลในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่อยากรู้อะไรก็ค้นหาได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว ไม่ว่าจะเป็นบทความของนักวิชาการ หรือพ็อกเกตบุ๊กจากพ่อแม่คนดังที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงดูลูก เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนคงกำลังสับสนว่าวิธีใดคือการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง และการเลี้ยงลูกตามคำแนะนำเหล่านั้นนำมาใช้กับลูกของตนได้จริงหรือ พร้อมทั้งคำถามมากมายที่วนเวียนอยู่ในหัว "ห้าม" ใช้รางวัลจูงใจเด็กจริงหรือ ควรเลี้ยงลูกด้วย "คำชม" ไหม การ "เล่นเกม" หรือ "ดูโทรทัศน์" จะส่งผลเสียต่อการเรียนของลูกหรือเปล่า คบเพื่อนเรียนเก่งแล้วจะเก่งตามจริงหรือ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจหาคำตอบจากคำแนะนำของนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ...แต่เชื่อหรือไม่! คำถามเหล่านี้มีคำตอบได้ด้วย "หลักเศรษฐศาสตร์การศึกษา" ที่มีผลวิจัยรองรับอย่างชัดเจน ปราศจากความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หนังสือ "อย่าเลี้ยงลูกตามคนอื่น" เล่มนี้ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ เขียนโดย มะกิโกะ นะกะมุโระ (Makiko Nakamuro) นักเศรษฐศาสตร์การศึกษาชาวญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่าการลอกเลียนแบบวิธีประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกของคนอื่น อาจนำมาใช้กับลูกของเราไม่ได้ ด้วยความที่ผู้เขียนเป็นนักเศรษฐศาสตร์การศึกษา จึงไม่ปักใจเชื่อคำแนะนำหรือวิธีเลี้ยงลูกของใครง่ายๆ จนกว่าจะมีผลการวิจัยรองรับ จึงขอไขข้อข้องใจคุณพ่อคุณแม่ด้วยหลักเศรษฐศาสตร์การศึกษา ซึ่งนำเนื้อหาบางส่วนมาจากหนังสือ "อย่าเลี้ยงลูกตามคนอื่น" โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ มาแนะนำกัน "ห้าม" ใช้รางวัลจูงใจเด็กจริงหรือ งานวิจัยของศาสตราจารย์โรแลนด์ จี. ไฟรเออร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทดลองกับเด็กในสหรัฐอเมริกา 2 กลุ่มใหญ่โดยใช้ตัวแปรต้นประเภทเดียวกันคือ "เงินรางวัล" พบว่ากลุ่มที่ใช้คะแนนสอบมาเป็นเงื่อนไขในการได้รางวัลไม่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียน แต่กลุ่มที่อาศัยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือ อ่านหนังสือให้จบ ทำการบ้านให้เสร็จ ฯลฯ กลับเป็นกลุ่มที่มีผลการเรียนดีขึ้น จึงสรุปได้ว่า การตั้งเป้าหมายไว้เป็นการให้รางวัล สิ่งสำคัญคือต้องชี้แนะและอธิบายวิธีการต่างๆ ให้เด็กรู้ว่าพวกเขาต้องทำอย่างไร เพื่อให้ได้ผลการเรียนดีขึ้นนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการใช้ "รางวัล" ถึงจูงใจให้เด็กตั้งใจเรียนได้ ควรเลี้ยงลูกด้วย "คำชม" ไหม การเลี้ยงลูกด้วย "คำชม" เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ลูกภาคภูมิใจและเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความสำคัญของการชมเชยอยู่ที่วิธีเลือกใช้คำชม ฉะนั้น เมื่อจะชมเชยเด็กไม่ควรสื่อให้เข้าใจผิดว่าเป็นความสามารถหรือพรสวรรค์ของเขาเอง เช่น "ถ้าลูกจะทำจริงๆ ก็ทำได้อยู่แล้ว" แต่ควรเน้นไปที่ความพยายามในการทำสิ่งนั้นจนสำเร็จ เช่น "วันนี้อ่านหนังสือได้ตั้ง 1 ชั่วโมง เก่งจังเลย" เป็นต้น เพราะคำพูดแบบนี้จะส่งผลให้เด็กมีแรงจูงใจที่จะพยายามลองทำเรื่องยากๆ ดูบ้าง ข้อมูลเหล่านี้ยืนยันได้จากวิทยานิพนธ์ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คลอเดีย มีลเลอร์ ในหัวข้อ "การชมเชยเรื่องความสามารถเป็นการบั่นทอนแรงจูงใจของเด็ก" การ "เล่นเกม" หรือ "ดูโทรทัศน์" จะส่งผลเสียต่อการเรียนของลูกหรือเปล่า ผลการวิจัยสรุปว่า การติดโทรทัศน์หรือติดเกมของเด็กส่งผลกระทบต่อความอ้วน พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ หรือจำนวนชั่วโมงในการทบทวนบทเรียนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะดูโทรทัศน์หรือเล่นเกมนานเท่าไหร่ก็ได้ ข้อมูลทางสถิติที่ได้จากการวิจัย พบว่า เด็กที่ดูโทรทัศน์หรือเล่นเกมในเวลาที่ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวันมีผลการเรียนไม่ต่างกับเด็กที่ไม่ดูโทรทัศน์หรือเล่นเกมเลย แต่ถ้าปล่อยไว้นานมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ก็จะเกิดผลเสียต่อพัฒนาการและผลการเรียนอย่างต่อเนื่อง เช่น มีเวลาทบทวนบทเรียนน้อยลง ดังนั้น การปล่อยให้เด็กใช้เวลาพักผ่อนโดยการดูโทรทัศน์หรือเล่นเกมในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์แต่อย่างใด คบเพื่อนเรียนเก่งแล้วจะเก่งตามจริงหรือ การคบเพื่อนดี มีผลการเรียนดี ทำให้ลูกเรียนเก่งขึ้นหรือไม่นั้น จะได้ผลเฉพาะห้องเรียนที่มีแต่เด็กเรียนเก่งอยู่แล้วเท่านั้น ส่วนห้องเรียนที่เด็กมีผลการเรียนปานกลางหรืออ่อนจะไม่ค่อยมีผล จากการวิจัยพบว่าหากจับเด็กเรียนเก่งไปอยู่ในห้องที่เด็กมีผลการเรียนปานกลางหรืออ่อนจะส่งผลเสียต่อเด็กเหล่านั้น ทำไมเด็กที่มีผลการเรียนสูงถึงส่งผลไม่ดีต่อเด็กที่มีผลการเรียนปานกลางหรืออ่อน งานวิจัยที่ใช้ข้อมูลจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศสวีเดน พบว่า การมีนักเรียนที่มีผลการเรียนสูงอยู่ในห้องเรียนเดียวกันจะส่งผลให้เด็กที่มีผลการเรียนปานกลางหรืออ่อนขาดความมั่นใจและไม่อยากเรียนต่อมหาวิทยาลัย ดังนั้น ความคิดที่จะส่งลูกเข้ากลุ่มเพื่อนที่มีผลการเรียนสูงแล้วหวังว่าผลการเรียนของลูกจะสูงตามไปด้วย จึงเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้น จากความหวังดีอาจกลายเป็นทำร้ายลูกอย่างไม่คาดคิดก็ได้ อย่างไรก็ตาม แนวทางในการเลี้ยงลูกไม่มีเคล็ดลับตายตัว ไม่มีอะไรถูกผิด ขึ้นอยู่กับว่าคุณพ่อคุณแม่จะนำคำแนะนำเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเลี้ยงลูกของตนได้อย่างไร เพราะเด็กแต่ละคนมีความพิเศษไม่เหมือนกัน ท้ายที่สุดแล้วเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมุ่งหวังที่จะได้เห็นลูกเติบโตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขเท่านั้นก็พอ ติดตามอ่าน "อย่าเลี้ยงลูกตามคนอื่น" หนังสือที่จะปฏิวัติการเลี้ยงลูกแบบเดิมๆ ที่พ่อแม่หลายคนเคยเชื่อต่อๆ กันมา จากผลงานวิจัยที่ทำขึ้นจริง ทดลองจริง และได้ผลลัพธ์จริงของนักเศรษฐศาสตร์การศึกษาผู้มีชื่อเสียงทั่วโลก วางจำหน่ายแล้วตามร้านหนังสือทั่วประเทศ ในราคา 165 บาท หรือสั่งซื้อทาง www.nanmeebooks.com โทร 0-2662-3000 กด 1
แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ