ธนาคารสเต็มเซลล์ไทยผงาดบนเวทีโลก โชว์ต่างชาติเก็บอย่างไรให้ปลอดภัยและใช้รักษาได้จริง

ข่าวทั่วไป Thursday June 22, 2017 16:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 มิ.ย.--ซีเคร็ท คอมมูนิเคชั่นส์ เทรนด์สุขภาพที่มาแรงในวันนี้และในอนาคตอันใกล้คงไม่ใช่การรอคอยรักษาโรคอีกต่อไป หากแต่คือการคิดวางแผนสุขภาพ เพื่อชีวิตที่ไม่ต้องทนทรมานกับความเจ็บป่วย หนึ่งในเทรนด์สุขภาพที่มาแรงคือ การฝากเก็บ สเต็มเซลล์ ทั้งในผู้ใหญ่และสเต็มเซลล์จากเลือดในรกและสายสะดือจากเด็กแรกเกิด เก็บเผื่อไว้รักษาโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดกับตัวเองและลูกในอนาคต ล่าสุดบริษัทไทย สเตมไลฟ์ จำกัด ธนาคารสเต็มเซลล์เอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวในไทยที่มีการเก็บและรับฝากสเต็มเซลล์ทั้งจากเลือดในรกและสายสะดือ และจากกระแสโลหิต โดยแพทย์หญิงวรัชยา ฟองศรัณย์ กุมารแพทย์เฉพาะทางโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ บริษัท ไทย สเตมไลฟ์ จำกัด ถูกรับเชิญให้ไปเป็นผู้บรรยายในงาน Cord Blood World Europe 2017 งานประชุมวิชาการระดับโลก ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่า หลังจากมีโอกาสได้เข้าร่วมงานเมื่อช่วงเดือนที่มา ทำให้พบว่า เทรนด์งานวิจัยเกี่ยวกับการเก็บสเต็มเซลล์จากเลือดใน รกและสายสะดือจากเด็กแรกเกิดนั้น เน้นทิศทางไปใช้เกี่ยวกับโรคทางสมอง อาทิ ภาวะสมองขาดออกซิเจน หรือที่ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า โรค Cerebral palsy (CP) ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยระหว่างการคลอด และล่าสุดที่กำลังทำงานวิจัยกันคือโรคออทิสติก โดยปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลที่ทำการศึกษา เนื่องจากยังไม่สามารถประเมินคนไข้ได้ครบทั้งหมด คาดว่าภายในอีก 5 ปีข้างหน้าน่าจะมีความคืบหน้าในงานวิจัยดังกล่าว "สำหรับหัวข้อที่ทางไทยสเตมไลฟ์ ถูกรับเชิญให้ไปพูดบนเวที Cord Blood World Europe 2017 ในปีนี้ หัวข้อ An Effective Logistical Case Study for Stem Cell Collection, Storage and Use in Thailand คือกระบวนการ logistic ที่เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่เริ่มเก็บสเต็มเซลล์จากห้องคลอดหรือห้องผ่าตัด การขนส่ง มาเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกสเต็มเซลล์ในห้องปฏิบัติการและแช่แข็งจนถึงการนำไปใช้รักษาจริง รวมถึงความปลอดภัยในด้านต่างๆ ของการเก็บสเต็มเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นระบบตรวจสอบความถูกต้องของเลือดจากรก กระบวนการขนส่งต่างๆ ทั้งในไทย และข้ามประเทศ กระบวนการแช่แข็งและการควบคุมคุณภาพเซลล์ในถังเก็บแบบไอไนโตรเจนเหลว การนำไปใช้และการติดตามผลการรักษาเพราะแท้จริงแล้วหัวใจหลักของการเก็บสเต็มเซลล์มันไม่ได้อยู่แค่ว่าการเก็บเป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่อยู่ที่วันที่คุณต้องการใช้ สเต็มเซลล์นั้นมันสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ หรือสามารถรักษาคุณให้หายได้หรือไม่ ดังนั้นภายหลังจากที่เลือดมาถึงห้องปฏิบัติการ จึงมีกระบวนการสำคัญต่างๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อ ซึ่งเทียบเท่ามาตรฐานห้องผ่าตัดหัวใจในโรงพยาบาลชั้นนำ (clean room class 100) พร้อมการคัดแยก สเต็มเซลล์ด้วยเครื่อง Sepax@ ที่ทันสมัยระดับโลก เนื่องจากสามารถคัดแยกสเต็มเซลล์ได้มากกว่าวิธีอื่น และปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อในชั้นบรรยากาศก่อนนำไปแช่แข็งในถังเก็บแบบไอไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส สิ่งต่างๆ เหล่านี้คือเทคโนโลยีเรานำมาใช้ และมีการเบิกไปใช้รักษาได้จริง" แพทย์หญิง วรัชยา กล่าว แพทย์หญิงวรัชยา ยังกล่าวอีกว่า วิธีการละลายสเต็มเซลล์ เมื่อผู้ป่วยต้องการนำมาใช้ในการรักษามี 2 แบบ แบบที่ 1 คือใช้ถังขนส่งสเต็มเซลล์ในภาวะแช่แข็งไปทำการละลายถึงข้างเตียงผู้ป่วย และใช้กับผู้ป่วยทันที ข้อดีของการทำละลายวิธีนี้คือ รวดเร็ว อัตรามีชีวิตเซลล์สูงที่สุด แบบที่ 2 คือนำสเต็มเซลล์มาละลายในห้องปฏิบัติการก่อนนำไปใช้กับผู้ป่วย ข้อดีคือลดภาวะแทรกซ้อนจากน้ำยาที่ใช้ในการแช่แข็งสเต็มเซลล์ แต่(ส่วนใหญ่จะนิยมใช้แบบที่ 1 มากกว่า) ทั้งนี้เป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ สำหรับข้อจำกัดสำหรับการเก็บ สเต็มเซลล์จากเลือดในรกและสายสะดือจากเด็กแรกเกิดโดยทั่วไปมีไม่มาก เพียงแค่ไม่มีภาวะรกเกาะต่ำ และไม่มีเชื้อ HIV ก็สามารถเก็บสเต็มเซลล์ได้ นอกจากนั้นก็คือข้อจำกัดด้านสุขภาพของมารดาในการคลอดเป็นรายบุคคล ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคโดยใช้สเต็มเซลล์ทั่วโลกเปิดกว้างขึ้น คือ สามารถปลูกถ่ายไขกระดูกด้วยสเต็มเซลล์เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับเลือดได้มากกว่า 85 ชนิด อาทิ โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด และโรคร้ายแรงที่อันตรายถึงแก่ชีวิต เช่น โรคมะเร็ง (มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งรังไข่ มะเร็งกล้ามเนื้อลาย มะเร็งที่ไต (Wilms tumor) มะเร็งจอประสาทตา มะเร็งเต้านม มะเร็งอัณฑะ เนื้องอกในสมองบางชนิด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ฯลฯ) สำหรับผู้ที่สนใจอยากสอบถามเรื่องการเก็บสเต็มเซลล์ แพทย์หญิง วรัชยาฝากบอกว่าสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 081-359-6686 ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ