ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำไหลหลากใน 8 จังหวัด พร้อมระดมสรรพกำลังเร่งคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

ข่าวทั่วไป Friday August 18, 2017 13:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ส.ค.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2560มีพื้นที่ประสบภัย รวม 44 จังหวัด ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 36 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 8 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร กาฬสินธุ์ นครพนม ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี หนองคาย และพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกมิติ มุ่งดูแลชีวิตความเป็นอยู่และความปลอดภัยเป็นหลัก พร้อมระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหา อุทกภัย ควบคู่กับการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2560ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 44 จังหวัด รวม 301 อำเภอ 1,661 ตำบล 13,312 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 583,448 ครัวเรือน 1,850,403 คน ผู้เสียชีวิต 32 ราย บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 4,129 หลัง ถนน 2,055 สาย บ่อปลา 14,097 บ่อ ปศุสัตว์ 738,860 ตัว พื้นที่การเกษตร 3,036,310 ไร่ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 36 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 8 จังหวัด 44 อำเภอ 279 ตำบล 1,939 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 67,451 ครัวเรือน 204,530 คน จุดอพยพ 35 จุด 922 ครัวเรือน 3,326 คน แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ 1) สกลนคร น้ำไหลหลาก เข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ 124 ตำบล 1,509 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 136,582 ครัวเรือน 431,277 คน ผู้เสียชีวิต 11ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย 892,793 ไร่ แยกเป็น นาข้าว 858,161 ไร่ พืชไร่ 19,780 ไร่ และพืชสวน 14,852 ไร่ ปศุสัตว์ 704,284 ตัว ด้านประมงเสียหาย 7,213.97 ไร่ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ และอำเภอโคกศรีสุพรรณ รวม 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน 45 ครัวเรือน 137 คน2) กาฬสินธุ์ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ 124 ตำบล 1,224 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,136 ครัวเรือน อพยพประชาชน 120 ครัวเรือน 300 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 285,284 ไร่ ด้านปศุสัตว์ 12,410 ตัว ด้านประมงเสียหาย 1,843.75 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ รวม 44 ตำบล 448 หมู่บ้าน 14,929 ครัวเครือน 44,787 คน 3)นครพนม ฝนที่ตกหนักและมวลน้ำจากหนองหาร จังหวัดสกลนคร ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาแก อำเภอเรณูนคร อำเภอวังยาง อำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอท่าอุเทน อำเภอธาตุพนม อำเภอนาทม อำเภอปลาปาก และอำเภอเมืองนครพนม รวม 79 ตำบล 659 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 22,541 ครัวเรือน 64,857 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 186,663 ไร่ ผู้เสียชีวิต 3 ราย 4) ร้อยเอ็ด น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 20 อำเภอ 159 ตำบล 1,766 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 71,469 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 4 ราย อพยพประชาชน 346 ครัวเรือน 1,323 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 612,476.75 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสลภูมิ อำเภอเชียงขวัญ อำเภอจังหาร อำเภอโพธิ์ชัย และอำเภอ ทุ่งเขาหลวง รวม 10 ตำบล 18 หมู่บ้าน 1,460 ครัวเรือน 4,380 คน 5) ยโสธร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 9 อำเภอ 61 ตำบล 398หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 22,019 ครัวเรือน อพยพประชาชน 32 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 121,987 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง รวม 11 ตำบล 31 หมู่บ้าน 320 ครัวเรือน 960 คน 6) อุบลราชธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 22 อำเภอ 110 ตำบล 719 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21,330 ครัวเรือน 62,020 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย 175,832 ไร่ ปัจจุบันยังมีสถานการณ์ใน 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอดอนมดแดง อำเภอตระการพืชผล อำเภอเดชอุดม อำเภอเขื่องใน อำเภอนาเยีย และอำเภอสว่างวีระวงศ์ 7) หนองคายฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเฝ้าไร่ รวม 2 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 267 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 1,455 ไร่ ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ผลกระทบจากเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำ ทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอบางไทร รวม 74 ตำบล 377 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,814 ครัวเรือนทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ พร้อมกำชับจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วให้เร่งสำรวจและจัดทำบัญชี ความเสียหายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ส่วนจังหวัดที่ยังมีสถานการณ์อุทกภัยให้ดูแลชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัย ควบคู่กับการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ ให้เชื่อมโยงการระบายน้ำในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ