ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ปลุกลูกค้าขึ้นมาฟิตสุขภาพการเงิน ทำหนี้เก่าให้เบาลง ทั้งหนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต ตั้งเป้าเป็นแบงก์แรกที่ลูกค้านึกถึง เมื่อนึกถึงรีไฟแนนซ์

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday September 6, 2017 14:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ก.ย.--ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย น.ส.อรอนงค์ อุดมก้านตรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ธนาคารต้องการกระตุ้นลูกค้าให้ลุกขึ้นมาบริหารหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเป็นหนี้อย่างฉลาด หนึ่งในทางเลือกที่ง่าย และทำได้ทันทีสำหรับลูกค้า คือการรีไฟแนนซ์ ลูกค้าเพียงใช้เวลามองหาสินเชื่อโปรแกรมใหม่ ที่มีดอกเบี้ยถูกกว่า ระยะเวลาผ่อนชำระนานขึ้น หรือดอกเบี้ยถูกกว่า ขณะที่ระยะเวลาผ่อนเท่าเดิม เพียงเท่านี้ ลูกค้าจะมีอิสระมากขึ้นจากภาระต่อเดือนที่บีบคั้น ทั้งนี้ การรีไฟแนนซ์ไม่จำเป็นต้องย้ายธนาคารเท่านั้น ลองศึกษาโปรแกรมสินเชื่อใหม่ๆจากธนาคารเดิมก่อน หากไม่ถูกใจค่อยย้ายไปใช้ธนาคารที่ยินดีเสนอทางเลือกที่ดีที่สุด เปรียบเทียบ แล้วเลือกโปรแกรมช่วยลดภาระ ไม่ว่าจะผ่อนค่างวดด้วยดอกเบี้ยถูกลง จำนวนปีเท่าเดิม หรือจะผ่อนเท่าเดิม ด้วยจำนวนปีลดลง หรือเลือกผ่อนมากขึ้น เพื่อให้ปิดหนี้ไวขึ้น ทั้งนี้ การรีไฟแนนซ์ไม่จำเป็นต้องย้ายธนาคารเท่านั้น ลองศึกษาโปรแกรมสินเชื่อใหม่ๆจากธนาคารเดิมก่อน หากไม่ถูกใจค่อยย้ายไปใช้ธนาคารที่ยินดีเสนอทางเลือกที่ดีที่สุด ที่ผ่านมา ธนาคารทยอยออกสินเชื่อรีไฟแนนซ์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละเซกเมนท์ ครบทั้งรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเอนกประสงค์ (สินเชื่อบ้านแลกเงิน) ฯลฯ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละเซกเมนท์ หรือ เรียกได้ว่าถูกสุดเป็นอันดับต้นๆ ของตลาด ถึงตอนนี้ธนาคารพร้อมแล้วที่จะก้าวเป็นธนาคารแรกที่ลูกค้าคิดถึง เมื่อนึกถึงคำว่า "รีไฟแนนซ์" น.ส.อรอนงค์ กล่าวว่า คนใช้บัตรเครดิตจำนวนไม่น้อยที่ชำระแบบผ่อนขั้นต่ำ 10% ผ่อนไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นหนี้อยู่ ธนาคารจึงเสนอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยเริ่มต้น 9% ต่อปี เป็นทางเลือกในการผ่อนชำระด้วยสินเชื่อบุคคลแบบมีระยะเวลาที่จะชำระหนี้สิ้นสุดได้ชัดเจน และเพื่อดอกเบี้ยที่ถูกกว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตปัจจุบันที่ 18% ต่อปี นอกจากนี้ ธนาคารพบว่ามีลูกค้าอีกจำนวนมาก ที่รูดบัตรเครดิตใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นรวมเป็นเงินก้อนใหญ่ ต้องการสินเชื่อบุคคลที่ผ่อนชำระในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี เพื่อไปชำระหนี้บัตร แต่สินเชื่อบุคคลส่วนใหญ่ในตลาดอัตราดอกเบี้ยแพงกว่าอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต ดังนั้น เพื่อเป็นส่งเสริมและทางเลือกให้กับผู้มีวินัยการเงินที่ดี ธนาคารกำลังจะออกสินเชื่อรีไฟแนนซ์ใหม่ ดอกเบี้ย 11.73% ต่อปี ผ่อนนาน 15 เดือน และดอกเบี้ย 11.84% ต่อปี ผ่อนนาน 24 เดือน สำหรับลูกค้าประจำที่มีรายได้ 30,000 บาท ขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ใช้บัตรเครดิตมากว่า 2 ปี ต้องการสินเชื่อบุคคลเพื่อปิดภาระหนี้บัตรฯ หรือหนี้อื่นๆ ด้วยดอกเบี้ยต่ำลง ผ่อนต่อเดือนน้อยลง ระยะเวลาผ่อนยาว มีกำหนดระยะเวลาที่ลูกค้าจะหมดหนี้อย่างชัดเจน และยังสะดวกเพราะใช้เอกสารประกอบการสมัครน้อยกว่าโปรแกรมปกติ น เพราะใช้เพียงสลิปเงินเดือน และสำเนาบัตรประชาชนในการสมัคร "จะผ่อนบัตรเครดิตไปทำไม ในเมื่อมีสินเชื่อที่ดอกเบี้ยถูกกว่าเยอะ เราอยากให้ลูกค้าตั้งคำถามและสำรวจหนี้ทั้งหมดที่มี วางแผน จัดระเบียบใหม่ ยกตัวอย่าง ลูกค้ามีหนี้คงค้างในบัตรเครดิต 1 แสนบาท ดอกเบี้ย 18% ผ่อนชำระงวดละ 10,000 บาทต่อเดือน หากรีไฟแนนซ์หนี้บัตรมาใช้โปรแกรมสินเชื่อบุคคลดอกเบี้ย 11.73% นาน 15 เดือน ค่างวดจะลดเหลือ 7,200 บาทต่อเดือน หากเลือกผ่อน 24 เดือน จะจ่ายค่างวดเพียงเดือนละ 4,700 บาท ประหยัดทั้งค่างวด และประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยได้" น.ส.อรอนงค์ กล่าว ตัวอย่าง วงเงิน 1 แสน ผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันแนลแคช อัตราดอกเบี้ย 18% 11.73% 11.84% ระยะเวลาผ่อนชำระ 10 เดือน 15 เดือน 24 เดือน ค่างวดผ่อน/เดือน 10,000 บาท 7,200 4,700 ผ่อนค่างวดเบาลง/เดือน - 2,800 5,300 ขณะเดียวกัน ธนาคารออกผลิตภัณฑ์ใหม่ สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านแลกเงิน ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 5.55% สำหรับผู้มีสินเชื่อบ้านแลกเงินกับผู้ให้บริการรายอื่นที่ปัจจุบันลูกค้าต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยแพงกว่า 7% ขึ้นไป และต้องการรีไฟแนนซ์เพื่อประหยัดดอกเบี้ย "ถามว่า ทำไมเราถึงสามารถเสนอโปรแกรมรีไฟแนนซ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้ เป็นเพราะเราพยายามจัดเซกเมนท์ลูกค้า แล้วใช้ risk base pricing ไม่คิดดอกเบี้ยแบบเหมาเข่ง แต่ทำให้ลูกค้าได้รับดอกเบี้ยที่เหมาะสม ลูกค้าที่ดีไม่จำเป็นต้องแบกรับดอกเบี้ยแพงๆ จากลูกค้ากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอีกต่อไป เมื่อเดินยุทธศาสตร์นี้มาได้ระยะหนึ่ง แบงก์จึงทำให้ลูกค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำได้ ดีกับทั้งผู้บริโภคและเศรษฐกิจ ช่วงนี้คนรัดเข็มขัด ระวังใช้จ่าย เพราะไม่มั่นใจ แต่ถ้าธนาคารช่วยให้ลูกค้าประหยัดต้นทุนโดยที่แบงก์เองก็อยู่ได้ด้วย จะทำให้คนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น และส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ ดีกับเศรษฐกิจโดยรวม" น.ส.อรอนงค์ กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ