WORK-BASED EDUCATION ทางออกของการพัฒนาทักษะนักศึกษาสำหรับโลกยุคใหม่

ข่าวทั่วไป Tuesday September 19, 2017 09:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ก.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ · PIM ชี้ 3 ทักษะที่ต้องส่งเสริมเด็ก พร้อมชูโมเดลการเรียนการสอนที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยสายพันธุ์ใหม่ ที่มาพร้อมเครือข่ายทั่วโลก ปัจจุบันการศึกษาไทย ให้ความสำคัญไปกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยคำนึงถึงองค์ความรู้ ที่ผู้เรียนจะสามารถนำไปใช้ประกอบการทำงานได้ในอนาคต กระนั้นท่ามกลางสังคมที่มีนักศึกษาจบใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี จากผลวิจัยระดับโลกพบว่า คนหนุ่มสาวทั่วโลกกว่า 75 ล้านคนไม่มีงานทำ ในขณะที่ด้านผู้ประกอบการเอง ไม่สามารถหาบุคลากรมาทำงานในองค์กรได้เพียงพอ สาเหตุจากขาดคุณสมบัติของผู้สมัคร ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัยจาก National Training Laboratories ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ความรู้ที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้หลังจากการเรียนโดยการฟังและการอ่าน มีสัดส่วนเพียง 5-10% จากการเรียนรู้ทั้งหมด ในขณะที่ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้จากการเรียนรู้ขณะการทำงานจริงได้ถึง 75% ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า การเรียนการสอนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่คำตอบของรูปแบบการเรียนการสอนอีกต่อไปแล้ว อาจารย์ พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) กล่าวว่า การศึกษารูปแบบ Work-based Education (WBE) เข้ามาเพิ่มศักยภาพของการศึกษามากขึ้น โดยเน้นจุดเด่นให้นักศึกษาสามารถสัมผัสประสบการณ์การทำงานจริงในขณะเรียน ผ่านโมเดล "เรียนทฤษฎีควบคู่การฝึกปฏิบัติงาน" ที่นำมาซึ่งทักษะสำคัญทั้ง 3 ได้แก่ 1) ทักษะด้านอาชีพ (Professional skills) คือองค์ความรู้ วิชาการที่ใช้ในการประกอบอาชีพ 2) ทักษะด้านสังคม (Social Skills) คือความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ การอยู่ร่วมในสังคม และ 3) ทักษะด้านการดำเนินชีวิต (Life Skills)คือทักษะที่พัฒนาทัศนคติในการดำเนินชีวิต ทักษะการจัดการปัญหา อารมณ์ และการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขท่ามกลางสภาพสังคมและความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน อาจารย์ พรวิทย์ กล่าวต่อว่า รูปแบบการเรียนดังกล่าวนำมาใช้จริงแล้ว โดยนักศึกษาพีไอเอ็มจะได้ลงสนามการทำงานในสถานประกอบการจริงที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เรียน เพื่อให้สามารถบูรณาการทฤษฎีกับภาคปฏิบัติ มาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง ซึ่งมีอัตราส่วนการฝึกงานจริงสูงถึง 40% จากเวลาทั้งหมดของหลักสูตร สลับกับการเรียนในห้องเรียน โดยคณาจารย์ผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน ตลอดจนมีวิทยากรจากองค์กรเครือข่ายชั้นนำกับพีไอเอ็ม มาร่วมสอนในลักษณะเวิร์กช็อป ถ่ายทอดกรณีศึกษา วิเคราะห์และฝึกปฏิบัติโดยเจ้าของธุรกิจ หรือผู้ปฏิบัติงานจริง ซึ่งถือเป็นการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่นักศึกษา ที่จะต้องตอบสนองตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันทั้งทางด้านความต้องการกำลังคน และศักยภาพของแรงงาน อาจารย์ พรวิทย์ กล่าวเสริมว่า กระบวนการ Work-based Education (WBE) จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ หากปราศจากเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ โดยพีไอเอ็ม เป็นมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ หรือ Corporate University ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีเครือข่ายภาคการศึกษาและเครือข่ายภาคธุรกิจในและต่างประเทศ ที่ให้ความเชื่อมั่นและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างคน ร่วมออกแบบการเรียนรู้ ต่อยอดเป็นงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงจากทั่วทุกทวีปทั่วโลก และยังคงเดินหน้าสร้างเครือข่ายอันทรงประสิทธิภาพนี้ เพื่อเชื่อมต่อโลกของการศึกษาและการทำงานเข้าไว้ด้วยกัน สามารถรองรับการฝึกงานตรงตามสายงานที่นักศึกษาเรียนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งสะท้อนจุดแข็งของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเน็ตเวิร์กกิ้ง (Networking University) ที่มีเครือข่ายมากที่สุดในประเทศ ส่งผลให้นักศึกษามีโอกาสเลือกสถานที่ฝึกงานตลอดการศึกษา รวมถึงรูปแบบงานได้หลากหลาย ตรงกับความต้องการและสายงานที่เรียน เข้าฝึกปฏิบัติงานเสมือนเป็นพนักงานตัวจริงในบริษัทธุรกิจชั้นนำของโลก นอกจากนี้ จากปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจและเพื่อให้ตอบสนองตลาดการแข่งขันในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น พีไอเอ็ม ยังตั้งเป้าหมายเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียน โดยการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาในและต่างประเทศ ที่ผ่านมา มีการเปิดหลักสูตรนานาชาติที่เป็นที่ต้องการในกลุ่มองค์กรธุรกิจชั้นนำได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่(Modern Trade Business Management) และ พีไอเอ็ม จะเปิดอีก 2 หลักสูตรนานาชาติที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างมาก อย่าง หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม (Farm Technology Management) และ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร (Food Processing Technology Management) ในปี 2561อาจารย์พรวิทย์ กล่าวสรุป "อนาคตนักข่าวหญิงผู้ที่ไม่ปล่อยให้เวลาในโลกการทำงานต้องเสียเปล่า" ด้านน้องเพลิน หรือ นางสาวพิชญาภา กันทะมา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ วิชาเอกการสื่อสารองค์กรและแบรนด์ กล่าวว่า ตนได้เปิดประสบการณ์การทำงานจริง โดยฝึกงานทั้ง 7-Eleven งานข่าว งานโทรทัศน์ นิตยสาร เอเจนซี่งานประชาสัมพันธ์ รวมถึงงานประชาสัมพันธ์องค์กร ตลอด 4 ปีของการเรียนคู่การทำงานที่ผ่านมา ทำให้ตนเองเข้าใจระบบการทำงานในสนามอาชีพจริง การปรับตัว การเข้าสังคม และการแก้ไขปัญหา ที่ไม่สามารถหาได้จากเพียงการเรียนภายในห้องเรียน และที่สำคัญที่สุดการเรียนที่ได้ฝึกงานมาตลอดทุกปีของการเรียนนั้น ทำให้เพลินได้รู้จักตัวตนของตัวเองมากขึ้น เพราะได้ทำงานในหลากหลายรูปแบบ จนรู้ว่าตนเองชอบการทำงานรูปแบบใด ซึ่งสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจการทำงานได้ในอนาคต "ฝึกงานที่บริษัทแต่งรถ TRD ณ ประเทศญี่ปุ่นคือความฝันที่เป็นไปได้" ในขณะที่น้องฟ็องซ์ หรือ นายชัยวุฒิ นรินทรางกูร นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ กล่าวว่า ตนเลือกเรียนสาขาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ โดยได้แรงบันดาลใจจากการชอบดูแข่งรถ ประกอบกับหลังจากที่จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ทราบว่าพีไอเอ็มเปิดหลักสูตรสาขาวิชาดังกล่าว จึงตัดสินใจเลือกเข้ามาศึกษาที่พีไอเอ็ม เพราะความแตกต่างที่พีไอเอ็มมีเครือข่ายในกลุ่มธุรกิจ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับตน ที่มีความฝันอยากไปฝึกงาน ในบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ชั้นนำของโลกอย่าง TRD ประเทศญี่ปุ่น โดยหลังจากปรึกษากับอาจารย์แล้วทราบว่า มีโอกาสความเป็นไปได้สูง ปัจจุบันฟ็องซ์จึงเร่งพัฒนาทักษะที่สำคัญทั้งด้านวิชาการ ภาษา รวมถึงทักษะด้านสังคม เพื่อให้ตนเองมีศักยภาพและความพร้อมสำหรับการไปฝึกงานต่างประเทศ และสามารถไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบการในฝันได้ในอนาคต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ พีไอเอ็ม (สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์) ถนนแจ้งวัฒนะ โทรศัพท์ 02-832-0200 เว็บไซต์www.pim.ac.th และwww.facebook.com/pimfanpage

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ