อาจารย์ มทร.ธัญบุรี จิตรกรอาสา ฉากบังเพลิงประกอบพระเมรุมาศ

ข่าวทั่วไป Tuesday September 26, 2017 12:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.ย.--มทร.ธัญบุรี 5 อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ ผศ.รัตนฤทธิ์ จันทรรังสี ,รศ.ดร.สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์,ผศ.ไกรสร ประเสริฐ, อาจารย์สุนทร จันทร์ประเสริฐ,ผศ.บัณฑิต อินทร์คง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เป็นเกียรติประวัติต่อชีวิต ได้เป็นส่วนหนึ่งจิตรกรอาสาฉากบังเพลิงประกอบพระเมรุมาศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนฤทธิ์ จันทรรังสี เล่าว่า ได้ทราบข่าวจากนายเกียติศักดิ์ สุวรรณพงษ์ จิตรกรชำนาญการพิเศษ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ต้องการจิตรกรอาสา ไปวาดภาพฉากบังเพลิงประกอบพระเมรุมาศ เนื่องด้วยฉากบังเพลิง มีขนาดใหญ่ และมีรูปแบบผสมผสานกันทั้งแบบไทยประเพณีและไทยร่วมสมัย จึงต้องอาศัยช่างฝีมือเฉพาะทาง ดังนั้นจึงได้อาสาไปช่วยวาดภาพกับคณาจารย์จำนวน 4 ท่าน โดยทางคณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมให้คณาจารย์ เป็นจิตรกรอาสาที่เข้าร่วมวาดภาพในครั้งนี้ ในการเป็นจิตรกรอาสาทุกคนจะถอดความเป็นตัวตนหรือศิลปิน โดยขอทำงานตามเงื่อนไขและแบบของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร และยอมเสียสระเวลา ทรัพย์สินส่วนตัวในการดำเนินงาน จนกว่างานจะแล้วเสร็จ สำหรับความรับผิดชอบของผมนั้นอยู่ในส่วนของการวาดภาพโครงการพระราชดำริ ในรัชกาลที่ 9 เรื่องพลังงานทดแทน วาดภาพต้นสบู่ดำ ด้วยสีอะคริลิก และวาดภาพ ดอกบัว ใบบัว หญ้า รวงข้าว และอื่นๆตามที่หัวหน้าช่างได้มอบหมาย ในการทำงานจิตรกรอาสาครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ตั้งใจอยากจะทำให้พระองค์ท่าน นอกจากนำคำสอนในพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก น้อมนำมาปฏิบัติในชีวิตแล้ว ถือว่าเป็นเกียรติประวัติต่อชีวิต ครอบครัว ที่ได้รับใช้พระองค์ท่านเป็นครั้งสุดท้าย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ เล่าว่า ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ต้องละตัวตนเป็นงานถวายรัชกาลที่ 9 ครั้งสุดท้าย ได้ถวายการอนุรักษ์รักษาจิตรกรรมความเป็นไทย ในฐานะของประชาชนของพระองค์ท่าน ซึ่งจิตรอาสาที่มาปฏิบัติงานครั้งนี้ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน ตนเองรับผิดชอบ ในส่วนลวดลายประกอบดอกบัว และในครั้งนี้ได้เพ้นท์ช้างสิบตระกลูประดับ งานพระเมรุมาศ ในพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ถึงแม้จะมีเวลาไม่มากแต่ก็มีความตั้งใจและภูมิใจที่มีส่วนร่วมในฐานะ จิตรอาสา ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต อินทร์คง เล่าว่า ด้วยความเชี่ยวชาญในส่วนของงานศิลปะไทย รับผิดชอบในส่วนของการตัดเส้นเก็บรายละเอียดตัวเทวดา ได้ปฏิบัติงานในครั้งนี้เป็นเกียรติประวัติต่อชีวิต ในฐานะของประชาชนของพระองค์ท่าน ทุกเส้นทุกสายที่ตัดเกิดจากความตั้งใจที่จะถวายพระองค์ท่าน และยังได้ร่วมกับงานกับจิตรกรอาสาท่านอื่นๆ ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ไกรสร ประเสริฐ เล่าว่า อาสาปฏิบัติงานในการช่วยปุลาย คือการใช้เข็มจิ้มกระดาษให้เป็นรูตามลวดลาย เพื่อนำลายปุบนกระดาษที่ได้ นำลูกประคบไปประคบกระดาษบนผ้าใบ เป็นการก๊อปปี้ลายบนผ้า ถึงจะจุดเล็กๆ ถือเป็นเกียรติประวัติต่อชีวิต ได้ถวายงานรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นงานที่ตนเองได้ถ่ายทอดและสอนให้กับนักศึกษา อาจารย์สุนทร จันทร์ประเสริฐ เล่าว่า ปฏิบัติงานในส่วนการฉลุลาย ใช้คัตเตอร์ฉลุออกมาเป็นลวดลาย ตามที่แบบ เพื่อนำลายที่ฉลุไปปั๊บลาย ลักษณะเป็นลวดลายซ้ำๆ ให้เหมือนกัน ถือเป็นเกียรติประวัติต่อชีวิต ได้ทำหน้าที่จิตรกรอาสา เป็นแบบอย่างจิตอาสาที่ดีให้กับนักศึกษา ในการใช้ชีวิตการทำงานของอาจารย์และศิลปินคนหนึ่ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ